สถาปัตยกรรมทิวดอร์

สถาปัตยกรรมทิวดอร์ หรือ แบบทิวดอร์ (อังกฤษ: Tudor style architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นขั้นตอนสุดของสถาปัตยกรรมของยุคกลางที่เกิดขึ้นใน “สมัยทิวดอร์” ระหว่าง ค.ศ. 1485 จนถึง ค.ศ. 1603 และเลยไปกว่านั้นสำหรับผู้สร้างที่ยังคงเป็นอนุรักษนิยม

ด้านนอกของชาเปลคิงส์คอลเลจ

สถาปัตยกรรมทิวดอร์สืบต่อมาจากสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษและตามมาด้วยสถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของผู้มีอันจะกิน แต่ลักษณะการก่อสร้างแบบทิวดอร์ก็มิได้สูญหายไปจนหมดสิ้นและยังคงเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ยังคงเป็นที่นิยมกันในอังกฤษ ส่วนต่อเติมของวิทยาลัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ยังคงสร้างแบบทิวดอร์ที่คาบเกี่ยวกับลักษณะเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค

ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมทิวดอร์ก็ได้แก่โค้งทิวดอร์ซึ่งเป็นโค้งแป้น, หน้าต่างมุขโอเรียล[1] (oriel window) ที่เป็นมุขยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้างกรุด้วยหน้าต่างกระจก, บัวที่แผ่กว้างออกไป และ ใบไม้ดอกไม้ตกแต่งที่ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่กระนั้น “แบบทิวดอร์” ก็ยังเป็นงานที่ยังมีลักษณะค่อนข้างแข็งอยู่

ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมทิวดอร์ในสกอตแลนด์ก็ได้แก่วิทยาลัยคิงส์, อเบอร์ดีน

สถาปัตยกรรมคริสต์ศาสนสถาน แก้

คริสต์ศาสนสถานที่สร้างในสมัยนี้ก็ได้แก่:

สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย แก้

ในช่วงเวลานี้ก็เริ่มมีการสร้างปล่องไฟซ้อน (chimney stack) และ เตาอิฐแบบปิดที่ทำให้ลดความนิยมลงในการสร้างห้องโถงเอก (Great hall) ที่เป็นการสร้างห้องโถงใหญ่โดยมีเตาอิฐเป็นศูนย์กลางของกิจการต่างๆ ของห้อง ที่นิยมทำกันในสถาปัตยกรรมของยุคกลาง มาถึงยุคนี้เตาผิงสามารถติดตั้งบนชั้นบนของสิ่งก่อสร้างได้ และการสร้างชั้นสองของสิ่งก่อสร้างตลอดความยาวของตัวสิ่งก่อสร้างก็เป็นสิ่งที่ทำกันได้[2] ปล่องไฟของสมัยทิวดอร์มีขนาดใหญ่และหรูหราที่เป็นการสร้างเพื่อแสดงความมีหน้ามีตาของเจ้าของว่าเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีใหม่ และ การสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ที่มีชั้นสองยาวตลอดตัวสิ่งก่อสร้าง[3].

จุดประสงค์ของการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่หันเหจากการสร้างเพื่อเป็นการป้องกันจากการรุกรานของข้าศึกศัตรูของสถาปัตยกรรมยุคก่อนหน้านั้นที่เป็นคฤหาสน์ล้อมด้วยคูมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงาม ตัวอย่างเช่นการวางผังบ้านที่เป็นรูปตัว “H” หรือ “E” ที่เพิ่มความนิยมขึ้น[4] นอกจากนั้นการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ก็ยังนิยมการมีการสร้าง “ปริศนา” ที่ออกแบบให้แสดงถึงความมีปฏิภาณของเจ้าของและสร้างความสนุกให้แก่ผู้มาเยือนด้วย “ปริศนา” ก็อาจจะเป็นสัญลักษณ์ตรีเอกานุภาพของโรมันคาทอลิกที่อาจจะอยู่บนด้านสามด้านของสามเหลี่ยม หรือผังรูปตัว “Y” หรือในการแฝงไว้กับลวดลายตกแต่ง[5]

ส่วนที่อยู่อาศัยและสิ่งก่อสร้างสำหรับชนชั้นธรรมดาก็มักจะเป็นบ้านโครงไม้ (Timber framing) ที่กรุด้วยปูนดิน (Wattle and daub) แต่บางครั้งก็จะใช้อิฐ[3]การยุบอารามทำให้ที่ดินที่ยึดมาจากคริสต์ศาสนสถานกลายเป็นที่ดินที่ว่างเปล่า ซึ่งทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กขึ้นกันอย่างแพร่หลาย โดยการใช้หินจากอารามต่างๆ ที่ถูกทำลายไป[3].

ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย แก้

ลักษณะของสถาปัตยกรรมทิวดอร์ แก้

 
รายละเอียดของหลังคาและปล่องไฟของพระราชวังแฮมพ์ตันคอร์ท

ลักษณะของสถาปัตยกรรมทิวดอร์ที่เด่นมีอยู่หกอย่าง -

  • สิ่งก่อสร้างที่เห็นเป็นโครงไม้ตกแต่ง (บ้านโครงไม้ครึ่งต้น (Half-timbering))
  • หลังคาแหลมสูง
  • จัวกากะบาดที่เด่น
  • ประตูและหน้าต่างที่สูงและแคบ
  • บานแผ่นกระจกเล็ก
  • ปล่องไฟขนาดใหญ่ที่ส่วนที่อยู่นอกอาคารมักจะมียอดตกแต่งอย่างงดงาม

สถาปัตยกรรมทิวดอร์สมัยใหม่ แก้

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ได้มีการผสานลักษณะปลายกอธิคเข้ากับสถาปัตยกรรมเอลิซาเบธในการสร้างโรงแรมและสถานีรถไฟในแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูที่เรียกกันว่า จาโคบีธัน (Jacobethan) และ ทิวดอร์บีธัน (Tudor Revival architecture หรือ Tudorbethan)

สำหรับที่อยู่อาศัยที่สร้างแบบทิวดอร์ในปัจจุบันก็มักจะเรียกกันว่า “ทิวดอร์” หรือ “เชิงทิวดอร์” (Mock Tudor) ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรม “ทิวดอร์บีธัน”

อ้างอิง แก้

  1. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-02-08.
  2. Quiney, Anthony (1989). Period Houses, a guide to authentic architectural features. London: George Phillip. ISBN 0540011738.
  3. 3.0 3.1 3.2 Picard, Liza (2003). Elizabeth's London. London: phoenix. ISBN 0753817578.
  4. Pragnall, Hubert (1984). Styles of English Architecture. Frome: Batsford. ISBN 0713437685.
  5. Airs, Malcolm (1982). Service, Alastair (บ.ก.). Tudor and Jacobean. The Buildings of Britain. London: Barrie and Jenkins. ISBN 0091478308.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมทิวดอร์