สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (อังกฤษ: Specialised Financial Institutions: SFIs) คือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของประเทศไทยเป็นหน่วยงานภายใต้การควบคุมของรัฐซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายเฉพาะกิจเพื่อดำเนินกิจการตามนโยบายของรัฐบาล จากเดิมสถาบันการเงินเหล่านี้สังกัดกระทรวงการคลัง ต่อมามติ ครม.ได้เห็นชอบให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจเหล่านี้ [1]โดยฟิทช์คาดว่าการโอนอำนาจในการกำกับดูแลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและความโปร่งใสในการกำกับดูแล สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีสัดส่วนเงินฝากรวมที่ 25% ของเงินฝากของระบบและมีสัดส่วนการให้สินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนคิดเป็น 29% ของสินเชื่อภาคครัวเรือนทั้งหมดของระบบ [2]

กลุ่มสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แก้

สถาบันการเงินเฉพาะกิจในปัจจุบัน มีทั้งหมด 7 แห่ง[3] แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำหน้าที่เป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินทั้งด้านเงินฝาก และให้สินเชื่อ ซึ่งปัจจุบันมี 4 แห่ง [4]
ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำธุรกิจตามขอบเขตที่กำหนด เช่น การให้สินเชื่อหรือรับประกันสินเชื่อให้แก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่รับเงินฝากจากประชาชนทั่วไป ซึ่งปัจจุบันมี 3 แห่ง[3]
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

อดีตสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แก้

บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นอดีตสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ถูกยุบเลิกในปี พ.ศ. 2563 ตามพระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2563[5]

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ 2017-04-29.
  2. http://www.efinancethai.com/LastestNews/index.aspx?ref=A&id=xJhbY1lr8ng%3D&year=2016&month=4&lang=T
  3. 3.0 3.1 "การกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ". www.bot.or.th.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-14. สืบค้นเมื่อ 2017-04-29.
  5. "ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.บ.ยุบเลิก บตท. โอนกิจการเข้า ธอส. เดินหน้าตามพันธกิจ "ทำให้คนไทยมีบ้าน" - ธนาคารอาคารสงเคราะห์". www.ghbank.co.th.