บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ชื่อย่อ บสย. (อังกฤษ: Thai Credit Guarantee Corporation) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2534 เพื่อให้ธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ในวงเงินที่เพียงพอกับความต้องการ[3]
ตราสัญลักษณ์ของบรรษัท | |
ชื่อท้องถิ่น | Thai Credit Guarantee Corporation |
---|---|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
อุตสาหกรรม | สินเชื่อบุคคล |
ก่อนหน้า | กองทุนประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม |
ก่อตั้ง | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534 |
สำนักงานใหญ่ | อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 2 ชั้น 16-18 เลขที่ 2922/243 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 |
จำนวนที่ตั้ง | 11 สาขา |
พื้นที่ให้บริการ | ประเทศไทย |
บุคลากรหลัก | สุพัฒน์ เมธีวรพจน์ (ประธานกรรมการ) สิทธิกร ดิเรกสุนทร (กรรมการและผู้จัดการทั่วไป) |
บริการ | สินเชื่อธุรกิจขนาดย่อม |
รายได้ | 8,275.6866 ล้านบาท (พ.ศ. 2568)[1] |
รายได้จากการดำเนินงาน | 902.63 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[2] |
รายได้สุทธิ | 10,791.46 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[2] |
สินทรัพย์ | 40,854.97 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[2] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 10,523.63 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[2] |
สมาชิก | 817,144 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
พนักงาน | 455 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
บริษัทแม่ | กระทรวงการคลัง |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534[4] เพื่อรับโอนกิจการและการดำเนินงานทั้งหมดของ กองทุนประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (กสย.) ทำหน้าที่ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ สร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพ แต่ขาดหลักประกัน หรือหลักประกันไม่เพียงพอได้รับวงเงินที่เพียงพอกับความต้องการ
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 มีทุนจดทะเบียนแรกเริ่มจำนวน 400 ล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเพิ่มทุนอีกจำนวน 4,000 ล้านบาท ทำให้ บสย. มีทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 4,400 ล้านบาท
ต่อมาในช่วงปลาย พ.ศ. 2548 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติพิเศษเพิ่มทุนอีกจำนวน 2,000 ล้านบาท โดยใน พ.ศ. 2551 ได้เรียกให้ผู้ถือหุ้นที่แสดงความประสงค์ ซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวชำระเงินค่าหุ้นบางส่วน รวมแล้วเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว จำนวน 6,702.47 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560 ประกาศใช้พระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534 ขยายขอบเขตการดำเนินงาน บสย. สามารถค้ำประกันการให้สินเชื่อของผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ซึ่งให้บริการสินเชื่อแก่ภารธุระอุตสาหกรรมขนาดย่อมได้ รวมถึงเพื่อขยายขอบเขตการค้ำประกันให้ครอบคลุมถึงสินเชื่อประเภทอื่นที่มิใช่ความหมายโดยทั่วไป
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 รายงานประจำปี 2566 ของบรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
- ↑ ความเป็นมาและวัตถุประสงค์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534เล่ม 108 ตอนที่ 240 วันที่ 29 ธันวาคม 2534