สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) หรือ สถานีรถไฟคำสะหวาด (ลาว: ສະຖານີຄໍາສະຫວາດ) เดิมเคยใช้ชื่อในโครงการว่า สถานีรถไฟเวียงจันทน์[1] เป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ ตั้งอยู่ที่บ้านคำสะหวาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยสถานีแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟท่านาแล้ง 7.5 กิโลเมตร

คำสะหวาด

ຄໍາສະຫວາດ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านคำสะหวาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
พิกัด17°54′11″N 102°42′35″E / 17.90306°N 102.70972°E / 17.90306; 102.70972
เจ้าของการรถไฟลาว[1]
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
รัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว[2]
สายหนองคาย–เวียงจันทน์
ชานชาลา3
ราง4
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถมีบริการ
สถาปนิกบริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด[1]
ข้อมูลอื่น
สถานะเปิดให้บริการ
รหัสสถานี7202 (ลล)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ30 ตุลาคม พ.ศ. 2566; 8 เดือนก่อน (2566-10-30)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
หนองคาย สายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีปลายทาง

ประวัติ

แก้

มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปลาย พ.ศ. 2564 แต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 พบว่าการก่อสร้างสถานีแห่งนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์[3][4] และเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565[5]

ภายในสถานีรถไฟคำสะหวาดมีบริการจำหน่ายตั๋วรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[6]

กระทั่งวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ได้ทำพิธีเปิดสถานีรถไฟคำสะหวาด หลังจากล่าช้าจากกำหนดการเปิด โดยมีเศรษฐา ทวีสิน และสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีของไทยและลาว เป็นประธานในพิธี[7] โดยจะมีการส่งเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งชาติลาวไปอบรมกับเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย[2] ซึ่งมีการเปิดให้บริการขบวนรถโดยสารระหว่างประเทศ เที่ยวแรกในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ให้บริการขบวนรถปลายทางสถานีรถไฟอุดรธานี และสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

ตารางเวลาเดินรถ

แก้

เที่ยวไป

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร133 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.25 ปลายทาง เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 09.05
ร147 อุดรธานี 16.00 ปลายทาง เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 17.55
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 18.25 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30
ร148 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 09.35 ต้นทาง อุดรธานี 11.25
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายท่านาแล้ง–เวียงจันทน์ สปป. ลาว" (PDF). สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน). ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ไทย-ลาว เปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)". สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดระยอง. 30 ตุลาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Shi Yinglun, บ.ก. (2019-07-02). "Laos, Thailand to expand railway into Lao capital" (ภาษาอังกฤษ). 新華社通信. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-16.
  4. Jasmina Yap (2018-01-18). "Lao-Thai Railway to Begin Phase II (Thanalaeng to Khamsavath)" (ภาษาอังกฤษ). The Laotian Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-09-16.
  5. Khamsavath Station in Vientiane Capital Ready to Operate Soon - The Laotian Times, Juy 25, 2022
  6. "สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) เปิดให้บริการตั๋วรถไฟแล้ว!". ศูนย์เศรษฐกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. 15 มิถุนายน 2566. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ไทย-ลาว ร่วมเปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)". ผู้จัดการออนไลน์. 30 ตุลาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)