โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดเชียงราย มีจำนวนเตียงทั้งหมด 798 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ | |
---|---|
กระทรวงสาธารณสุข | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | 1039 ถนนสถานพยาบาล ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย, ไทย |
พิกัด | 19°54′05″N 99°49′44″E / 19.9013370°N 99.8289415°E |
หน่วยงาน | |
ประเภท | รัฐ |
เครือข่าย | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
บริการสุขภาพ | |
แผนกฉุกเฉิน | มี |
จำนวนเตียง | 798 เตียง[1] |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่บนถนนสถานพยาบาล (ถนนนี้ตั้งชื่อตามโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์) เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 758 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีพื้นที่ทั้งหมดรวมกว่า 52 ไร่ ประชาชนในท้องที่มักเรียกว่า "โฮงยาไทย" หมายถึง "โรงพยาบาลของไทย" (สาเหตุที่เรียก "โฮงยาไทย" เพราะจังหวัดเชียงรายมีโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง คือ โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ที่มักเรียกกันว่า "โฮงยาฝรั่ง") และมีคำว่าประชานุเคราะห์ต่อท้ายเนื่องจากได้รับการสนับสนุนในการจัดสร้างจากประชาชนซึ่งในปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีนโยบายสร้างโรงพยาบาลในหัวเมือง โดยประกาศใช้ พรบ.สาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2477 เพื่อแสดงเกียรติภูมิของชาติให้ปรากฏแก่ประเทศเพื่อบ้านที่เป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตกตามนโยบาย "อวดธง" ในปี พ.ศ. 2479 พระพนมนครารักษ์ (ฮกไก่ พิศาลบุตร) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงราย ซึ่งประชาชนในจังหวัดเชียงราย นำโดยคหบดีกลุ่มหนึ่งได้บริจาคที่ดิน จำนวน 19 ไร่ และดำเนินการขออนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการก่อสร้างโดยได้รับเงินสนับสนุนจากประชาชนในจังหวัดเชียงราย
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ประกอบพิธีเปิดในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 โดยมีแพทย์คนแรกและผู้อำนวยการคนแรกคือ นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ในช่วงแรกโรงพยาบาลได้รับการอนุมัติให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 50 เตียง และได้เพิ่มจำนวนเตียงตามลำดับ ปี พ.ศ. 2531 ได้รับการอนุมัติเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 600 เตียง และในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนเตียงทั้งหมด 798 เตียง มีแพทย์ จำนวน 228 คนมีพยาบาล จำนวน 986 คน รวมบุคลากรทั้งหมด 1,730 คน[2]
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
แก้ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท โดยในปีการศึกษา 2550 ได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรในการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ซึ่งในปัจจุบันได้ผลิตแพทย์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (the Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor : CPIRD) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เหมาะสมในชนบท โดยมียุทธศาสตร์เริ่มต้นคือ รับจากชนบท เรียนที่ชนบท และกลับสู่ชนบท และได้ลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการจัดการเรียน การสอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียนกระบวนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามข้อบังคับเพื่อการศึกษา ขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 2-3 เรียนร่วมกับชั้นปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนในชั้นคลินิกปีที่ 4-6 เรียนที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์[3]
หลักสูตรการศึกษา
แก้ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใน 1 หลักสูตร คือ
ระยะเวลาในการศึกษา
แก้ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ระบบรายงานทรัพยากรสาธารณสุข[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
- ↑ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์http://www.meccr.com/2017/[ลิงก์เสีย]สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563