ศรีราชา วงศารยางกูร
ศาสตราจารย์ ศรีราชา วงศารยางกูร (สกุลเดิม เจริญพานิช) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย[1] อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)
ศรีราชา วงศารยางกูร | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 18 กันยายน พ.ศ. 2489 (74 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | ข้าราชการบำนาญ |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ตรวจการแผ่นดิน |
การศึกษาแก้ไข
ศาสตราจารย์ ศรีราชา วงศารยางกูร หรือ ศ.ดร.ศรีราชา วงศารยางกูร สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นจึงได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกจนสำเร็จการศึกษา ด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยทูเลน ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงานแก้ไข
ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ตรี ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2514 เป็นหัวหน้าภาควิชากฎหมายพาณิชย์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2521 - 2522 ต่อมาจึงได้มารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เทียบเท่าคณบดี) ในปี พ.ศ. 2523 และเป็นรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 - 2530 และปี พ.ศ. 2545 - 2549
นอกจากงานสอนในมหาวิทยาลัยแล้ว ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายตำแหน่ง อาทิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ กรรมการกฤษฎีกา กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา อนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการยกร่างฯ จนกระทั่งในเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ผู้ตรวจการแผ่นดิน และได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
การได้รับพระราชทานนามสกุลแก้ไข
ศ.ดร.ศรีราชา เจริญพานิช ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ว่า "วงศารยางกูร" เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2544 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/490283
- ↑ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1415279352
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)