ศรีนิวาสะ รามานุชัน
ศรีนิวาสะ รามานุชัน ไอยังคร (อังกฤษ: Srīnivāsa Rāmānujam Aiyangār; ทมิฬ: சீனிவாச இராமானுஜன் หรือ ஸ்ரீனிவாஸ ஐயங்கார் ராமானுஜன்) (22 ธันวาคม ค.ศ. 1887 – 26 เมษายน ค.ศ. 1920) สมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน เป็นคนชาวอินเดีย ซึ่งได้สร้างงานวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ทฤษฎีบทต่างๆ ทางทฤษฎีจำนวน อนุกรมอนันต์ และเศษส่วนต่อเนื่อง โดยที่ไม่เคยรับการศึกษาด้านคณิตศาสตร์อย่างเป็นทางการเลย จี. เอช. ฮาร์ดี้ นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวถึงอัจฉริยภาพของรามานุชันว่าเทียบเท่ากับนักคณิตศาสตร์ระดับตำนาน เช่น ออยเลอร์ เกาส์ นิวตัน และอาร์คิมีดีส[1]
ศรีนิวาสะ รามานุชัน | |
---|---|
เกิด | 22 ธันวาคม ค.ศ. 1887 อีโรด, บริติชอินเดีย |
เสียชีวิต | 26 เมษายน ค.ศ. 1920 Chetput, (มัทราส), บริติชอินเดีย | (32 ปี)
สัญชาติ | อินเดีย |
ศิษย์เก่า | Government Arts College Pachaiyappa's College มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ |
มีชื่อเสียงจาก | ค่าคงตัวของลันเดา-รามานุชัน Mock theta functions ข้อความคาดการณ์ของรามานุชัน Ramanujan prime Ramanujan–Soldner constant Ramanujan theta function Ramanujan's sum Rogers–Ramanujan identities |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | คณิตศาสตร์ |
อาจารย์ที่ปรึกษา | G. H. Hardy J. E. Littlewood |
ประวัติ
แก้รามานุชันเกิดที่เมืองอีโรด ทางใต้ของประเทศอินเดีย ได้รู้จักกับคณิตศาสตร์ครั้งแรกเมื่ออายุ 10 ปี จากทักษะโดยธรรมชาติด้านคณิตศาสตร์ รามานุชันจึงได้รับหนังสือตรีโกณมิติของ เอส. แอล. โลนีย์[2] และเขาศึกษาจนเชี่ยวชาญเมื่ออายุเพียง 12 ปี กระทั่งสามารถค้นพบทฤษฎีบทของตัวเอง ผลจากความสามารถอันโดดเด่นด้านคณิตศาสตร์ทำให้เขาได้รับทุนการศึกษา รามานุชันทำวิจัยเรื่องจำนวนแบร์นูลลีและค่าคงตัวออยเลอร์-แมสเชโรนีด้วยตนเองเมื่ออายุ 17 และได้รับทุนเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยของรัฐในเมืองคัมบาโคนัม แต่ต่อมาเขาสูญเสียทุนนี้ไปเพราะผลการเรียนด้านอื่นนอกเหนือจากคณิตศาสตร์นั้นแย่มาก เขาทำงานวิจัยของตนเองที่วิทยาลัยอื่น พร้อมกับทำงานเป็นเสมียนที่สำนักงานบัญชีแห่งหนึ่งในเมืองมัทราสเพื่อหาเลี้ยงตัว[3] ในปี ค.ศ. 1912–1913 เขาส่งตัวอย่างทฤษฎีบทจำนวนหนึ่งไปให้นักคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ 3 คน แต่มีเพียงก็อดฟรีย์ ฮาร์ดี้ ที่มองเห็นอัจฉริยภาพในงานของเขา และต่อมาได้เชิญให้รามานุชันไปร่วมงานกับเขาที่เคมบริดจ์ รามานุชันได้เป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนและสมาชิกวิทยาลัยทรินิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ต่อมาล้มป่วยและเดินทางกลับไปอินเดีย เขาเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1920 ขณะมีอายุเพียง 32 ปี
ผลงาน
แก้ตลอดช่วงชีวิตอันแสนสั้น รามานุชันสร้างผลงานของตนเองทั้งสิ้นเกือบ 4,000 รายการ (ส่วนมากเป็นเอกลักษณ์หรือสมการ)[4] บางส่วนในจำนวนนี้ซึ่งเป็นจำนวนน้อยมาก มีบางส่วนที่ผิด และบางส่วนก็มีผู้ค้นพบไปแล้ว แต่งานส่วนใหญ่ได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง[5] ผลงานเหล่านั้นเป็นงานที่สร้างขึ้นใหม่ มีความแปลกประหลาดอย่างยิ่ง เช่น จำนวนเฉพาะรามานุชัน และ ฟังก์ชันทีตาของรามานุชัน งานเหล่านี้สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการวิจัยต่อยอดขึ้นไปอีกเป็นจำนวนมหาศาล[6] อย่างไรก็ดี การค้นพบชิ้นสำคัญของเขาบางส่วนก็เข้าสู่คณิตศาสตร์กระแสหลักค่อนข้างช้า เช่นเมื่อไม่นานมานี้ เพิ่งมีการค้นพบว่าสามารถนำสมการของรามานุชันไปประยุกต์ใช้กับ ผลิกศาสตร์ และ ทฤษฎีสตริง ได้[ต้องการอ้างอิง] วารสารนานาชาติ ชื่อ Ramanujan Journal จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานคณิตศาสตร์ทุกแขนงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเขา[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ซี. พี. สโนว์ คำนำใน "A Mathematician's Apology" ของ จี. เอช. ฮาร์ดี้
- ↑ Berndt, Bruce C. (2001). Ramanujan: Essays and Surveys. Providence, Rhode Island: American Mathematical Society. p. 9. ISBN 0-8218-2624-7.
- ↑ Peterson, Doug. "Raiders of the Lost Notebook". UIUC College of Liberal Arts and Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2007.
- ↑ Berndt, Bruce C. (2005). Ramanujan's Notebooks Part V. SpringerLink. p. 4. ISBN 0-387-94941-0.
- ↑ "Rediscovering Ramanujan". Frontline. 16 (17): 650. สิงหาคม 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2007.
- ↑ Ono, Ken; Rankin, Robert A. (มิถุนายน–กรกฎาคม 2006). "Honoring a Gift from Kumbakonam" (PDF). Notices of the American Mathematical Society. Mathematical Association of America. 53 (6): 650. doi:10.2307/2589114. JSTOR 10.2307/2589114. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2007.
- ↑ Alladi, Krishnaswami (1998). Analytic and Elementary Number Theory: A Tribute to Mathematical Legend Paul Erdös. Norwell, Massachusetts: Kluwer Academic Publishers. p. 6. ISBN 0-7923-8273-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลในสื่อ
แก้- Biswas, Soutik (16 มีนาคม 2006). "Film to celebrate mathematics genius". BBC. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2006.
- Feature Film on Mathematics Genius Ramanujan by Dev Benegal and Stephen Fry
- BBC radio programme about Ramanujan – episode 5
- A biographical song about Ramanujan's life
ประวัติ
แก้- O'Connor, John J.; Robertson, Edmund F., "ศรีนิวาสะ รามานุชัน", MacTutor History of Mathematics archive, University of St Andrews.
- Weisstein, Eric W. "Ramanujan, Srinivasa (1887–1920)". ScienceWorld.
- Biography of this mathematical genius at World of Biography เก็บถาวร 27 มิถุนายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Srinivasan Ramanujan in One Hundred Tamils of 20th Century
- A short biography of Ramanujan
- "A passion for numbers" เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อื่น ๆ
แก้- A Study Group For Mathematics: Srinivasa Ramanujan Iyengar เก็บถาวร 30 มิถุนายน 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Ramanujan Journal เก็บถาวร 26 มกราคม 2002 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – An international journal devoted to Ramanujan
- International Math Union Prizes เก็บถาวร 25 พฤศจิกายน 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, including a Ramanujan Prize.
- Complicite Production of "A Disappearing Number" เก็บถาวร 5 กุมภาพันธ์ 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – a play about Ramanujan's work
- Hindu.com: Norwegian and Indian mathematical geniuses เก็บถาวร 20 มกราคม 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, RAMANUJAN — Essays and Surveys เก็บถาวร 3 ธันวาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ramanujan's growing influence เก็บถาวร 3 มกราคม 2004 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ramanujan's mentor เก็บถาวร 28 มิถุนายน 2004 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Hindu.com: The sponsor of Ramanujan
- Bruce C. Berndt; Robert A. Rankin (2000). "The Books Studied by Ramanujan in India". American Mathematical Monthly. Mathematical Association of America. 107 (7): 595–601. doi:10.2307/2589114. JSTOR 2589114. MR1786233.
- "Ramanujan's mock theta function puzzle solved"
- Ramanujan's papers and notebooks
- Sample page from the second notebook