วิลนีอัส

เมืองหลวงของประเทศลิทัวเนีย
(เปลี่ยนทางจาก วิลนีอุส)

วิลนีอัส[8] (อังกฤษ: Vilnius, ออกเสียง: /ˈvɪlniəs/; ลิทัวเนีย: Vilnius, ออกเสียง [ˈvʲɪlʲnʲʊs] ( ฟังเสียง)) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศลิทัวเนีย มีประชากร 592,389 (ณ ค.ศ. 2022)[4] ประชากรในเขตมหานคร (ซึ่งขยายตัวออกไปเกินขอบเขตของเมือง) มีประมาณ 706,832 คน (ณ ค.ศ. 2019)[3] ในขณะที่ข้อมูลจากกองทุนประกันสุขภาพวิลนีอัสระบุว่ามีผู้อยู่อาศัยถาวร 732,421 คนในเขตเทศบาลนครวิลนีอัสและเขตเทศบาลเขตวิลนีอัสรวมกัน (ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2020)[9] วิลนีอัสตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของลิทัวเนีย เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สองในบรรดารัฐบอลติก และเป็นที่ตั้งของรัฐบาลลิทัวเนียและเทศบาลเขตวิลนีอัส

วิลนีอัส
ตามเข็มนาฬิกาจากขวาบน: หอคอยของเกดิมินัส, ย่านธุรกิจวิลนีอัส, ทำเนียบประธานาธิบดี, ถนนปิเลียส, ประตูรุ่งอรุณ, อาสนวิหารวิลนีอัสและหอระฆัง
ธงของวิลนีอัส
ธง
ตราราชการของวิลนีอัส
ตราอาร์ม
สมญา: 
เยรูซาเลมแห่งลิทัวเนีย,[1] โรมทางเหนือ, เอเธนส์ทางเหนือ, บาบิโลนใหม่, นคร/เมืองหลวงของปาเลมอน
คำขวัญ: 
"เอกภาพ ยุติธรรม ความหวัง"
(ละติน: Unitas, Justitia, Spes)
วิลนีอัสตั้งอยู่ในลิทัวเนีย
วิลนีอัส
วิลนีอัส
ที่ตั้งกรุงวิลนีอัสในประเทศลิทัวเนีย
พิกัด: 54°41′N 25°17′E / 54.683°N 25.283°E / 54.683; 25.283
ประเทศ ลิทัวเนีย
เทศบาลเทศบาลนครวิลนีอัส
กล่าวถึงครั้งแรกค.ศ. 1323
ได้รับสิทธิ์ของนครค.ศ. 1387
การปกครอง
 • ประเภทสภานคร
 • นายกเทศมนตรีRemigijus Šimašius
พื้นที่
 • เมืองหลวง401 ตร.กม. (155 ตร.ไมล์)
ความสูง112 เมตร (367 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2021)[4]
 • เมืองหลวง592,389[2] คน
 • อันดับ(อันดับที่ 31 ในสหภาพยุโรป)
 • ความหนาแน่น1,392 คน/ตร.กม. (3,610 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง706,832[3] คน
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
รหัสไปรษณีย์01001–14191
รหัสพื้นที่(+370) 5
จีเอ็มพี (ในนาม)[5]ค.ศ. 2020
 – ทั้งหมด21,100 ล้านยูโร
 – ต่อหัว25,600 ยูโร
งบประมาณนคร~1.0 พันล้านยูโร[6]
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)0.920[7]สูงมาก
เว็บไซต์vilnius.lt

วิลนีอัสจัดเป็นนครโลกระดับแกมมาจากผลการศึกษาของเครือข่ายวิจัยโลกาภิวัตน์และนครโลก[10] และเป็นที่รู้จักจากสถาปัตยกรรมในย่านเมืองเก่าซึ่งยูเนสโกได้ประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกใน ค.ศ. 1994 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง วิลนีอัสเป็นหนึ่งในศูนย์กลางชาวยิวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป อิทธิพลยิวที่มีต่อเมืองนี้ทำให้เกิดชื่อเล่นว่า "เยรูซาเลมแห่งลิทัวเนีย" นโปเลียนเรียกเมืองนี้ว่า "เยรูซาเลมทางเหนือ"[11] ในขณะที่เดินทัพผ่านลิทัวเนียใน ค.ศ. 1812 ใน ค.ศ. 2009 วิลนีอัสเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปร่วมกับลินทซ์ในประเทศออสเตรีย[12] ใน ค.ศ. 2021 นิตยสาร เอฟดีไอ ได้จัดให้วิลนีอัสเป็นหนึ่งในเมืองแห่งอนาคตระดับโลก ซึ่งหมายความว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีความคิดก้าวหน้ามากที่สุดและมีศักยภาพสูงที่สุดในโลก[13]

อ้างอิง

แก้
  1. "Vilnius: In Search of the Jerusalem of Lithuania – Lithuanian Jewish Community". lzb.lt. 18 November 2016. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  2. "Gyventoju skaicius pagal savivaldybes" (PDF). Registrucentras.lt. 2022-01-05. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
  3. 3.0 3.1 "Population on 1 January by age groups and sex - functional urban areas". appsso.eurostat.ec.europa.eu. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  4. 4.0 4.1 "Statistinės suvestinės: Gyventojų skaičius pagal savivaldybes 2022 m. sausio 1 d." [Statistical summaries: number of inhabitants in municipalities as of 1 January 2021]. Vilnius (ภาษาลิทัวเนีย). Valstybės įmonė Registrų centras [State Enterprise Center of Registers of Lithuania]. 1 January 2021. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.
  5. "Statistinių rodiklių analizė". Statistics Lithuania.
  6. "Vilniaus biudţeto planas 2022-iesiems – minus 96,7 mln. Eur" [Vilnius budget plan for 2022 - minus 96.7 million. Eur]. Verslo ţinios (ภาษาลิทัวเนีย). 2022-01-10. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28.
  7. Sub-national HDI. "Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org.
  8. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  9. "Vilniaus teritorinė ligonių kasa - Prisirašiusių gyventojų skaičius". vilniaustlk.lt (ภาษาลิทัวเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  10. "The World According to GaWC 2020". GaWC - Research Network. Globalization and World Cities. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-24. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  11. Steele, Jonathan (19 June 2008). "In the Jerusalem of the North, the Jewish story is forgotten". Opinion. The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2018. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
  12. "Ex-Post Evaluation of 2009 European Capitals of Culture" (PDF). ECOTEC Research and Consulting Ltd. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2018.
  13. "fDi's Global Cities of the Future 2021/22 — overall winners". fdiintelligence. fDi Intelligence A service from The Financial Times Ltd. สืบค้นเมื่อ 22 March 2021.