วิธีใช้:การตั้งค่า
- หน้านี้เป็นภาพรวมเลือกเฟ้นบางส่วนของการตั้งค่าผู้ใช้ สำหรับรายละเอียดทั้งหมดดูที่ Meta:Help:Preferences
- หน้านี้คือ "วิธีใช้:การตั้งค่า" หน้าอภิปรายสำหรับ พิเศษ:Preferences อยู่ที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:พิเศษ:Preferences
หน้าคำอธิบายนี้เป็นคู่มือบอกวิธี ซึ่งบอกรายละเอียดกระบวนการหรือกระบวนวิธีของบางส่วนของบรรทัดฐานและวัตรของวิกิพีเดีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย
|
การตั้งค่าเป็นตัวเลือกผู้ใช้ที่มีกว่า 70 ตัวเลือก สำหรับการค้นดู การแก้ไข การค้นหา การแจ้งความ เป็นต้น ลิงก์ไปหน้าการตั้งค่าของคุณมีอยู่บนสุดของหน้าวิกิพีเดียทุกหน้าเมื่อคุณมีบัญชี พร้อมกับลิงก์ไปบริการอื่น ๆ ของบัญชีเช่น ส่วนร่วมของคุณ การเข้าหน้านี้อีกวิธีหนึ่งได้แก่การนำทางไปหน้า พิเศษ:การตั้งค่า
เมื่ออยู่ในหน้าการตั้งค่า คุณสามารถควบคุมอินเตอร์เฟซผู้ใช้วิกิพีเดียหลายอย่างได้ผ่านการตั้งค่าคุณลักษณะต่าง ๆ ที่มีเดียวิกิ (ซอฟต์แวร์ของวิกิพีเดีย) จัดไว้ให้ ได้แก่ สกิน ปลั๊กอิน รูปแบบวันที่ ลายเซ็นและอื่น ๆ ตัวอย่างเช่นคุณสามารถเลือกรับคำเตือนให้ใส่ความย่อการแก้ไขหากคุณลืมใส่ หน้าการตั้งค่ายังมีลิงก์เพื่อปรับแต่งซีเอสเอสของคุณเพื่อปรับรายละเอียดสไตล์หน้าของคุณ
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือผู้ใช้อีกหลายร้อยชนิดให้สำรวจ ซึ่งหลายเครื่องมืออยู่ใน วิกิพีเดีย:เครื่องมือ ซึ่งสามารถเขียนทับหรือดัดแปลงการคั้งค่าที่มีเดียวิกิจัดไว้ให้ ทุกบัญชีมีหน้าจาวาสคริปต์กำหนดเองซึ่งเครื่องมือจะติดตั้งตัวเอง และที่ที่คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้าดังกล่าวได้
บนเว็บไซต์มีเดียวิกิ มีการเก็บรักษาเมทริกซ์ความเข้ากันได้ของเบราว์เซอร์ เวลาที่คุณใช้ในการได้มาซึ่งบัญชี ตั้งค่าของคุณ ค้นหาเครื่องมือ และทดสอบเบราว์เซอร์ของคุณ (ก่อนคุณเสียการแก้ไข) ย่อมคุ้มค่า
สามารถขอคุณลักษณะใหม่ รายงานบั๊ก ดังที่อธิบายไว้ที่ วิกิพีเดีย:ฟาบริเคเตอร์ ชุดการคั้งค่าปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปัญหาที่ผู้มาใหม่หยิบยกขึ้นมาในที่ประชุมอย่างสภากาแฟ และขับเคลื่อนโดยขาประจำที่มีการอภิปรายยืดยาวและขับเคลื่อนปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน
หน้าการตั้งค่า
แก้สามารถเข้าถึงหน้าการตั้งค่ได้เมื่อคุณเข้าสู่ระบบ แต่คุณต้องเปิดใช้งาน จาวาสคริปต์ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากหน้าและแถบทั้งหมดเป็นแอปพลิเคชันจาวาสคริปต์ส่วนขยาย
ไม่จำเป็นต้องคลิก บันทึก ในทุกแถบในหน้าการตั้งค่าเนื่องจากปุ่มบันทึกมีผลกับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในทุกแถบการตั้งค่า[1] เพราะปุ่มจะจดจำการเปลี่ยนแปลงของคุณในแถบอื่นด้วย หากไม่ต้องการบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพียงแค่ออกจากหน้าการตั้งค่าโดยไม่บันทึก หากคุณต้องการทำกลับการเปลี่ยนแปลงที่บันทึกแล้ว จะต้องตั้งค่าใหม่ทั้งหมดด้วยมือ
เมื่อคลิก "คืนค่าการตั้งค่าเริ่มต้นทั้งหมด" จะโหลดอีกหน้าหนึ่ง ซึ่งจะเสนอปุ่มให้ตั้งค่าใหม่การตั้งค่าทั้งหมดในทุกแถบ โดยไม่มีผลกระทบใด ๆ ซึ่งมีไอเท็มที่เก็บไว้เป็นการตั้งค่าแต่แก้ไขไม่ได้โดยตรงใน พิเศษ:การตั้งค่า หากคุณตั้งค่าใหม่ คุณสามารถกู้ลายเซ็นปรับเองจากข้อความวิกิของหน้าประวัติ ปรับซีเอสเอสหรือจาวาสคริปต์ตั้งเองของคุณจาก วิกิพีเดีย:เครื่องมือ แล้วเลือกใหม่และบันทึกการตั้งค่าของคุณ
การตั้งค่าโดยปริยายมีผู้มาใหม่ที่แก้ไขบทความเป็นเป้าหมาย ผู้เขียนที่มีความสามารถปานกลางมีแนวโน้มเปิดใช้งานคุณลักษณะเพิ่ม เช่น เตือนเมื่อลืมความย่อการแก้ไข และผู้เขียนขั้นสูงและผู้ดูแลระบบใช้การตั้งค่าพิเศษ อุปกรณ์เสริมและโปรแกรมแก้ไขสำหรับงานของพวกตน
หากคุณเลือกทำให้การล็อกอินวิกิพีเดียของคุณเป็น บัญชีทั่วโลก คุณจะต้องมีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเดียวกันในโครงการพี่น้องอย่างวิกิพจนานุกรม ที่ MediaWiki.org และบนวิกิพีเดียภาษาอื่น การตั้งค่าบัญชีของคุณในโครงการต่าง ๆ ไม่ขึ้นต่อกัน เพราะทุกวิกิเป็นเว็บไซต์ที่มีการบริหารแยกกัน (เนมสเปซ การตั้งค่า บัญชี ฯลฯ)
โปรไฟล์ผู้ใช้
แก้- ตั้งค่า → รายละเอียด = meta:Help:Preferences#User profile
สารสนเทศพื้นฐาน
แก้- แสดงรายการรายละเอียดบัญชีของคุณและสถิติบางอย่าง (เช่นจำนวนการแก้ไข)
- ให้คุณดูหรือจัดการข้อมูลบัญชีทั่วโลกของคุณ
- เป็นที่ที่คุณใช้เปลี่ยนรหัสผ่าน
การตั้งค่าภาษา
แก้- เปลี่ยนภาษาสารอินเตอร์เฟซผู้ใช้ แต่ไม่มีผลกับบทความและหน้าอื่น ๆ ที่ผู้เขียนสร้างขึ้น พึงทราบว่าสารอินเตอร์เฟซจำนวนมากมีการปรับแต่งทางวิกิพีเดียภาษาไทย แต่ปกติสำหรับค่าโดยปริยาย "th - ไทย" ซึ่งตัวอย่างเช่น เพิ่มลิงก์ไปหน้าคำวิธีใช้ กระบวนการและนโยบายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ภาษาต่างประเทศข้ามการปรับแต่งบางอย่าง แต่ผู้ใช้ที่มีความสามารถภาษาไทยไม่มากนักอาจเลือกใช้
- ตัวเลือกสำหรับระบุสรรพนามที่คุณประสงค์สำหรับให้ซอฟต์แวร์พาดพิงคุณได้อย่างถูกต้องตามไวยากรณ์
- การตั้งค่าภาษาอื่น ๆ: ให้คุณตั้งภาษาที่ใช้แสดงรายการเลือกวิกิพีเดียและชุดแบบอักษร นอกจากนี้ ยังมีตัวเลือกตั้งภาษาที่คุณแก้ไข (ต้องเปิดใช้งานเครื่องมือรับเข้า)
ลายเซ็น
แก้- แสดงผลลายเซ็นที่จะปรากฏเมื่อคุณลงชื่อหน้าพูดคุย
- ให้คุณแก้ไขลายเซ็น ไม่ว่าโดยใช้มาร์กอัพวิกิ (จะต้องเลือกตัวเลือกดังกล่าว) หรือใช้ข้อความธรรมดา
ตัวเลือกอีเมล
แก้- เป็นตัวเลือกใส่ที่อยู่อีเมล ทั้งนี้ คุณไม่จำเป็นต้องใส่ แต่กรุณาอ่านคำเตือนเกี่ยวกับการเสียรหัสผ่านและไม่มีที่อยู่อีเมลในไฟล์
- ตัวเลือกเกี่ยวกับการใช้ที่อยู่อีเมลของคุณ: การเปิดใช้งานอีเมลจากผู้ใช้อื่น การส่งสำเนาอีเมลที่คุณส่งถึงผู้ใช้อื่น และการรับอีเมลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหน้าหรือไฟล์บนรายการเฝ้าดูของคุณ
- คุณต้องยืนยันที่อยู่อีเมลของคุณก่อนใช้อีเมล ดู วิธีใช้:การยืนยันอีเมล
หน้าตา
แก้เปลี่ยนประสบการณ์เว็บเบราว์เซอร์
สกิน
แก้- เลือก "สกิน" หรือ "ธีม" ของการแสดงผลวิกิพีเดีย
- เข้าถึงซีเอสเอสสร้างเองหรือจาวาสคริปต์สร้างเองของคุณสำหรับแต่ละสกินและสำหรับการตั้งค่าสากลที่มีผลสำหรับทุกสกิน หากลิงก์เป็นสีน้ำเงิน แปลว่าคุณสร้างหน้าพิเศษเหล่านี้แล้วและเป็นวิธีการที่รวดเร็วที่จะเข้าถึงและแก้ไขหน้าดังกล่าว หากลิงก์เป็นสีแดง การคลิกลิงก์จะสร้างหน้าพิเศษ คุณสามารถเข้าถึงหน้าซีเอสเอสและจาวาสคริปต์ข้ามวิกิของคุณได้จากกส่วนนี้ แต่สีของลิงก์จะเป็นสีของลิงก์ภายนอกเสมอ
รูปแบบวันที่
แก้- ตัวเลือกการตั้งค่าวันที่และเวลา เป็นรูปแบบที่วันที่จะปรากฏในหน้าประวัติของบทความ ปูม ฯลฯ หากคุณเลือก "ไม่ตั้งค่า" รูปแบบจะใช้ HH:MM, DD MMMM YYYY (UTC)
ส่วนต่างเวลา
แก้- แสดงเวลาเซิร์ฟเวอร์ (UTC) และเวลาท้องถิ่นตามการตั้งค่าเขตเวลา คุณสามารถเลือกใช้เวลาเซิร์ฟเวอร์ (UTC), ใช้ส่วนต่างเวลาที่คำนวณจากนาฬิกาในคอมพิวเตอร์ของคุณ หรือเจาะจงส่วนต่างเวลาจาก UTC เป็นหน่วยชั่วโมงหรือตามสถานที่
- ค่านี้จะไม่มีผลกับเวลาที่บันทึกในหน้าแก้ไขได้ เช่น ตราเวลาในลายเซ็น
ไฟล์
แก้- ภาพในบทความเป็นภาพขนาดย่อ (ตัวอย่าง) ซึ่งจะมี ขนาดภาพย่อ ที่เป็นไปได้แปดขนาด สำหรับจอภาพขนาดใหญ่กว่าเลือกค่าสูงสุด และสำหรับจอภาพขนาดเล็กให้เลือกขนาดภาพย่อต่ำลงมา ค่าโดยปริยาย 220 พิกเซลเป็นขนาดภาพย่อพิสัยกลาง ถ้าคุณเปลี่ยนขนาดชุดแบบอักษร ก็ควรเลือกขนาดชุดแบบอักษรให้ตรงกับขนาดภาพย่อเพื่อให้อ่านคำบรรยายภาพได้สะดวก
- ขณะคุณชมบทความอยู่ ถ้าคุณคลิกภาพย่อ คุณจะเปิดใช้งาน โปรแกรมชมสื่อ (Media Viewer) โปรแกรมชมสื่อเป็นจาวาสคริปต์ และใช้ทรัพยากรประมวลผล โปรแกรมโหลดภาพทั้งหมดในบทความที่ความละเอียดสูง ซึ่งใช้ทรัพยากรเครือข่าย โปรแกรมชมสื่อเป็นค่าโดยปริยาย คุณสามารถปิดใช้งานโปรแกรมชมสื่อเพื่อประหยัดทรัพยากร: 1) เพื่อควบคุมการปรับขนาดภาพทั้งหมด 2) เพื่อให้นำทางไปยังหน้าไฟล์โดยตรง (แทน) เมื่อคุณคลิกภาพย่อ
- คุณสามารถกำหนดเป้าหมาย ขีดจำกัดขนาดภาพ ของหน้าไฟล์ภาพหลัก (แสดงในส่วนหน้า) บนเครือข่ายที่เร็วขึ้น สามารถเลือกขนาดใหญ่ขึ้นได้ และในเครือข่ายที่ช้าลง ให้เลือก ขีดจำกัดขนาดภาพ ที่เล็กลงมา ค่าเริ่มต้น 800×600พิกเซล เป็น ขีดจำกัดขนาดภาพ ระดับกลาง ทั้งนี้ ถ้าคุณล็อกอินเข้าวิกิมีเดียคอมมอนส์ หน้าไฟล์ ที่อยู่ในโครงการนั้นจะบันทึกทับการตั้งค่าท้องถิ่นในวิกิพีเดียภาษาไทย
- โปรดทราบว่าคุณสามารถปิดโปรแกรมชมสื่อและตั้ง ขีดจำกัด ขนาดภาพ ให้เล็กได้ โดยที่คุณไม่ได้จำกัดความสามารถของคุณในการชมภาพความลเอียดสูงที่แสดงรายการอยู่ด้านล่างของหน้าไฟล์นั้นหากต้องการ ซึ่งการตั้งค่าดังกล่าวทำให้คุณควบคุมด้วยตนเองอย่างเต็มที่ไม่ให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตลดลงอัตโนมัติอย่างไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากตัวเลือกอัตโนมัติเกี่ยวข้องกับอันตรกิริยาเนมสเปซไฟล์ ที่เริ่มเมื่อคลิกภาพ
ผลต่าง
แก้- ตัวเลือกไม่แสดงเนื้อหาหน้าข้างใต้ผลต่าง เมื่อคลิกตัวเลือกนี้จะระงับการแสดงตัวอย่างผลต่างของหน้าที่คุณกำลังชมอยู่
- ตัวเลือกละเลยผลต่างหลังย้อนรวดเดียว
ตัวเลือกขั้นสูง
แก้- เลือกให้แสดงผลไฮเปอร์ลิงก์พร้อมเส้นใต้ในหน้าต่างเบราว์เซอร์ของคุณ ทั้งแบบแสดงตลอด ไม่แสดง หรือแสดงตามเบราว์เซอร์หรือค่าโดยปริยายของสกินวิกิพีเดีย
- จัดรูปแบบลิงก์เป็นลิงก์โครงเมื่อบทความที่ลิงก์ไปมีขนาดเล็กกว่าค่าเริ่มเปลี่ยนที่คุณตั้งบนขนาดไฟล์ การจัดรูปแบบลิงก์โครงเปลี่ยนสีลิงก์เป็นสีน้ำตาลเข้มที่แสดงในข้อความของตัวเลือกนี้ ตัวเลือกนี้ทำให้คุณเห็นลิงก์ไปบทความขนาดเล็ก (ซึ่งน่าจะเป็นโครง) เพื่อให้คุณขยายบทความได้ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการมองหาลิงก์ไปหน้าแก้ความกำกวม ซึ่งก็มีขนาดค่อนข้างเล็กเช่นกัน ปกติมีการเชื่อมโยงไปโดยผิดพลาด แต่ก็มักมีลิงก์ไปบทความที่ถูกต้องในรายการเช่นกัน ทำให้ข้อผิดพลาดนี้แก้ไขได้ง่าย
- แสดงหมวดหมู่ซ่อน
- ให้เติมตัวเลขหน้าพาดหัวส่วน
คณิตศาสตร์
แก้- เลือก PNG, TeX หรือ MathJax สำหรับแสดงสูตรคณิตศาสตร์
การแก้ไข
แก้- ตั้งค่า → รายละเอียด = meta:Help:Preferences#Editing
ว่าด้วยการแก้ไขหน้า การเริ่ม หน้าตาและความรู้สึก วิกิพีเดียมีตัวเลือกให้หลากหลาย บางส่วนเช่น
- "เตือนเมื่อไม่ได้ใส่คำอธิบายอย่างย่อ" (เป็นการสร้างนิสัยที่ดี)
- "แสดงตัวอย่างโดยไม่โหลดหน้าใหม่" ทำให้ได้เว็บเพจพลวัต การโหลดเบราว์เซอร์ใหม่ บัดนี้ให้คุณได้ลองสัมผัสเบราว์เซอร์ดั้งเดิมสดโดยไม่ต้องออกจากหน้าแก้ไข และไม่มีความจำเป็นต้องสร้างหน้าใหม่ทั้งหมดสำหรับการร้องขอการแสดงตัวอย่างใหม่แต่ละครั้ง การแสดงตัวอย่างสด โหลดใหม่เฉพาะบางส่วนของหน้า ฉะนั้นจึงไม่มีประวัติเบราว์เซอร์ย้อนหลัง แต่ไม่รบกวนประวัติข้างหน้าเช่นกัน ช่วยประหยัดความกว้างแถบความถี่เครือข่ายบางส่วนและแคชเบราว์เซอร์ปริมาณมาก เพียงแค่บันทึกการแก้ไขของคุณก่อนปิดใช้งานจาวาสคริปต์[2] (ผู้ใช้ครั้งแรกดำเนินการทดสอบความเข้ากันได้อย่างง่ายเสียก่อน[3])
สามารถตั้งขนาดชุดแบบอักษรของกล่องแก้ไขในการตั้งค่าการแก้ไขวิกิพีเดียหรือในเบราว์เซอร์ ในไฟร์ฟ็อกซ์ มีการตั้งค่าขนาดชุดแบบอักษรสองที่ ณ Options → Content → "Default font" Advanced... ขนาดหนึ่งสำหรับกล่องแก้ไข และอีกขนาดหนึ่งสำหรับส่วนที่เหลือของหน้า หากคุณต้องการให้เป็นแบบเดียวกัน ให้ตรวจสอบว่าวิกิพีเดียเลือกชุดแบบอักษรของเว็บเองหรือไม่ จากนั้นให้คุณตั้ง "รูปแบบชุดแบบอักษรในพื้นที่แก้ไข" เป็นแบบ "มีเชิง" (Serif) หรือ "ไม่มีเชิง" (Sans Serif) และขนาดชุดแบบอักษรในกล่องแก้ไขจะตรงกับส่วนที่เหลือของหน้า
มีแถบเครื่องมือแก้ไขสองแถบซึ่งกินพื้นที่บนสุดของกล่องแก้ไข
- "แสดงแถบเครื่องมือแก้ไข" เป็นเวอร์ชัน 1.0 รุ่นเก่าที่ให้ปุ่มเป็นแถว (ดูรายละเอียดที่ m:help:Edit toolbar)
- "เปิดใช้งานแถบเครื่องมือการแก้ไขขั้นสูง" ให้กรอบพร้อมไอคอน เป็นคุณลักษณะโดยปริยายที่สามารถปิดได้
- เป็นคำโต้ตอบค้นหาและแทนที่ที่สามารถยอมรับนิพจน์ปรกติเป็นเป้าหมายการค้นหาสำหรับการแทนที่ข้อความ (ดู รายการสัญลักษณ์นิพจน์ปรกติ[4])
หากต้องการใช้โปรแกรมแก้ไขข้อความที่คุณชื่นชอบมากกว่านอกเหนือไปจากกล่องแก้ไขและแถบเครื่องมือ ดู วิกิพีเดีย:การสนับสนุนโปรแกรมแก้ไขข้อความ ดูที่แท็บอุปกรณ์เสริมด้วย
การเปลี่ยนแปลงล่าสุด
แก้- ตั้งค่า → ตัวเลือกการแสดงผลและตัวเลือกขั้นสูง = meta:Help:Preferences#Recent changes
การเปลี่ยนแปลงล่าสุดหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงหน้าในฐานข้อมูล ทุกครั้งที่มีการแก้ไขหน้าวิกิ และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง จะมีการเก็บบันทึกผลต่างไว้ ตัวอย่างเช่น ประวัติหน้าแสดงรุ่นแก้ไขสำหรับหน้านั้น ๆ แต่การเปลี่ยนแปลงล่าสุดสามารถรายงานมากกว่าการแก้ไขหน้าใดหน้าหนึ่ง หรือทุกหน้าในวิกิ แต่ยังรายงานการเปลี่ยนแปลงล่าสุด (การมีส่วนร่วม) ของผู้ใช้คนหนึ่งได้ด้วย การตั้งค่าสำหรับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดเป็นสไตล์ที่รายการรุ่นแก้ไขจะปรากฏ ได้แก่
- ความยาวของรายการ
- หน้าต่างเวลาของรายการ
- วิธีการจัดกลุ่มของรายการ
รายการเฝ้าดูมีการตั้งค่าที่ปรับได้ละเอียดมากกว่า เพราะมักเป็นเครื่องมือแกนกลางสำหรับผู้ใช้ เช่นเดียวกับหน้าต่างแก้ไข
สารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติต่าง ๆ พบได้ในหน้าต่อไปนี้
- สำหรับการเปลี่ยนแปลงสากลของหน้าวิกิพีเดีย ดู วิธีใช้:เปลี่ยนแปลงล่าสุด
- สำหรับการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ดู วิธีใช้:เรื่องที่ผู้ใช้เขียน
- สำหรับประวัติหน้า ดู วิธีใช้:ประวัติหน้า
- สำหรับปูมประเภทอื่นดูที่ วิธีใช้:ปูม
รายการเฝ้าดู
แก้- ตั้งค่า → รายละเอียด = meta:Help:Preferences#Watchlist
ตัวเลือกรายการเฝ้าดูประกอบด้วยหน้าใด และคำว่า "ล่าสุด" ของคุณมีความหมายอย่างไร หากการตั้งค่าของคุณเลือก "อีเมลบอกฉันเมื่อหน้าหรือไฟล์ในรายการเฝ้าดูเปลี่ยนแปลง" (ด้านล่างของแท็บ "โปรไฟล์ผู้ใช้") เช่นนั้นการจะตั้งตัวบ่งชี้การแจ้งความอีเมลแท้จริงเฉพาะเมื่อเข้าชมหน้า
เมื่อคุณพลาดอีเมลสำหรับการเปลี่ยนแปลงหน้าใดหน้าหนึ่งหรือไม่ได้เข้าชมหน้า (หรือละเลยอีเมล) คุณจะไม่ได้รับอีเมลสำหรับหน้านั้นอีก คุณยังสามารถเฝ้าติดตามหน้าได้จากความย่อการแก้ไขรายการเฝ้าดู แต่ตัวบ่งชี้การแจ้งความอีเมลโดยเฉพาะจะยังไม่ตั้งจนกว่าคุณเข้าชมหน้านั้น ซึ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเฝ้าติดตามรายการเฝ้าดูขนาดใหญ่โดยป้องกันการส่งอีเมลที่อาจไม่มีประโยชน์ต่อคุณ
กรณีที่คุณต้องการตั้งค่าการแจ้งเตือนอีเมล ทั้งหมด เช่นเดิม คุณสามารุทำเครื่องหมายทุกหน้าเป็น "ชมแล้ว" ได้ตลอดเวลา
การแจ้งเตือน
แก้การตั้งค่าเหล่านี้จะเปลี่ยนแถบสารใหม่ พิเศษ:Notifications และปุ่ม "(ขอบคุณ)":
- ส่วน: แจ้งเตือนฉันเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้
เว็บ อีเมล สารหน้าคุย [_] [_] (คลิกหนึ่งหรือสองช่อง) ขอบคุณ [_] [_] การแปล [_] [_] การกล่าวถึง [_] [_] การกล่าวถึงที่ล้มเหลว [_] [_] การกล่าวถึงที่สำเร็จ [_] [_] การเชื่อมโยงหน้า [_] [_] การเชื่อมโยงกับวิกิสนเทศ [_] [_] ความพยายามการเข้าสู่ระบบที่ล้มเหลว [_] [_] การเข้าสู่ระบบจากอุปกรณ์ที่ไม่คุ้นเคย [_] [_] ระบบ [_] [_] การเปลี่ยนแปลงสิทธิผู้ใช้ [_] [_] การย้อนการแก้ไข [_] [_] อีเมลจากผู้ใช้อื่น [_] [_] หลักไมล์การแก้ไข [_] [_]
มีการเพิ่มตัวเลือกสำหรับการแจ้งเตือนเหล่านี้ครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2556
นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกเพื่อให้รับการแจ้งเตือนทางอีเมล เลือกกล่องที่เหมาะสมเพื่อเปิดใช้งานคุณลักษณะนี้
อุปกรณ์เสริม
แก้อุปกรณ์เสริมเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้มีส่วนร่วมพัฒนา ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ที่ดำเนินการวิกิพีเดีย ฉะนั้นคุณจะเห็นชื่อกลุ่ม แกเจตสำหรับแก้ไข และ แกเจตปรับแต่งการหน้าตา ซึ่งเป็นชื่อแท็บเดียวกับในหน้าการตั้งค่า หากคุณเห็นแท็บในหน้าการตั้งค่าก็หมายความว่าเว็บเบราว์เซอร์ของคุณเปิดใช้งานจาวาสคริปต์แล้ว อุปกรณ์เสริมผ่านกระบวนการที่เชื่อถือได้แล้วก่อนปรากฏในรายการ มีอุปกรณ์เสริมสำหรับการค้นดู การแก้ไข หน้าตาและสำหรับความเข้ากันได้ ภาพรวมของอุปกรณ์เสริมที่เลือกเฟ้นบางส่วนมีอยู่ด้านล่างนี้
แกเจตสำหรับดูเว็บ
- การแปลภาษา
- ไฟล์สื่อ ผลการค้นหา และส่วนต่าง
- เลื่อนเมาส์ผ่านหรือค้างไว้เหนือการอ้างอิงในบรรทัดเพื่ออ่าน
แกเจ็ตสำหรับแก้ไข
- การดัดแปรหรือพิสูจน์การอ้างอิง
- การทำสีข้อความวิกิ ชุดเครื่องมืออักขระ
- หมวดหมู่; การทบทวนบทความใหม่
- เครื่องมือแก้ไข Wiki, WikEd และ WikEdDiff
แกเจ็ตปรับแต่งหน้าตา
- การแก้ไขส่วนนำ
- เครื่องมือการดูแลระบบ การเปลี่ยนและเพิ่มผังและการควบคุมหน้า
- การแสดงผลต่าง หรือแอนิเมชัน หรือเวลาท้องถิ่นของคุณเองในตราเวลาทั้งหมด
- เปิดใช้งานเสิร์ชเอนจินภายนอกเพื่อการค้นหาวิกิพีเดีย
- แสดงผลการประเมินบทความ คัดสรร ดี พอใช้ ฯลฯ
ความเข้ากันได้
- ชุดแบบอักษรและจาวาสคริปต์
ขั้นสูง
- เครื่องมือนิพจน์ปรกติ
- การติดตามบั๊กซอฟต์แวร์
- การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงล่าสุด
คุณสมบัติระยะทดสอบ (Beta)
แก้คุณสมบัติระยะทดสอบเป็นวิธีสำหรับทดสอบคุณลักษณะใหม่ทางวิกิพีเดียและเว็บวิกิมีเดียอื่นก่อนเปิดให้ทุกคนใช้
เครื่องมืออื่น
แก้การใช้งานบัญชีที่มีเครื่องมืออาจมีผลข้างเคียง เช่น ป็อปอัพ แถบเครื่องมือและวัตถุกรอบในหน้าค้นดูหรือแก้ไขของคุณ ซึ่งบางทีก็เป็นภาระ แต่บางทีก็มีความจำเป็นใหญ่หลวง แทนที่จะยกเลิกการติดตั้ง คุณสามารถเปลี่ยนสกินได้ เพราะมีสี่สกินที่ทั้งหมดมีคู่การปรับแต่งของสกินนั้น ๆ 1) จาวาสคริปต์แต่งเองมีเครื่องมือ 2) ซีเอสเอสแต่งเองสามารถนำชุดแบบอักษร สีและขอบกรอบที่คุณชอบไปยังสกินต่าง ๆ ไม่ว่าโหลดสกินนั้นด้วยเครื่องมือใดบ้าง
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถ
แก้- ↑ It is true that each tab will create a URL in the browser history, but these URLs do not represent historical differences in the JavaScript instance that loaded with the Preferences page itself. The per-tab URLs only purpose is to serve the browser's back- and forward-navigation.
- ↑ If you disable JavaScript for any page on MediaWiki.org or Wikipedia.org, you will lose all unsaved edits in all tabs; yet disabling JavaScript is a common troubleshooting technique when diagnosing some preference-related browser behaviors.
- ↑ The danger in using Live preview is on first use with an incompatible browser. Try a simple test: make a change to the edit box, then reload the page.
- ↑ Compiled by the Mozilla Contributors.