วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (อังกฤษ: College of Computing, Prince of Songkla University Phuket Campus) เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งอยู่ที่วิทยาเขตภูเก็ต จัดการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ และ ดิจิทัลเทคโนโลยี

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตภูเก็ต
College of Computing, Prince of Songkla University Phuket campus
ชื่อย่อCoC
คติพจน์ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
สถาปนา20 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (6 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณบดีผศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์
ที่อยู่
เลขที่ 80 หมู่ 1 ถ.วิชิตสงคราม ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 83120
สี██████ สีดาร์คเทอควอยซ์-สีแดงอิฐ
เว็บไซต์https://computing.psu.ac.th/th/

ประวัติ แก้

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560 โดยสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[1] เห็นชอบให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ (College of Computing) ณ วิทยาเขตภูเก็ต โดยรวมหน่วยงานที่มีการจัดการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ 2 หน่วยเข้าด้วยกัน คือ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตภูเก็ต คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ที่จัดตั้งปี พ.ศ. 2548 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 3 สาขาวิชา (เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมซอฟแวร์ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์) และระดับบัณฑิตศึกษา [2]

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์มีเป้าหมายเพื่อบริหารการจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ ในศาสตร์ด้านระบบดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ โดยตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี มุ่งเน้นงานวิชาการและวิจัยการคำนวณและประมวลผลในเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ และการพัฒนาเมืองภูเก็ตอัจฉริยะ พร้อมทั้งการจัดการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ ภายในวิทยาเขตภูเก็ต ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้นำทางวิชาการในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ชายฝั่งทะเลอันดามันและประเทศ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

Vision มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีดิจิทัลระดับนานาชาติ [3]

Mission พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตที่ตรงตามความต้องการในตลาดแรงงานทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล

2. พัฒนางานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

3. สร้างสรรค์นวัตกรรม บริการวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อชุมชน สังคม ทั้งในและต่างประเทศ


CORE COMPETENCIES สมรรถนะหลัก

การเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล


สัญลักษณ์ แก้

Logo วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ แก้

โลโก้ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
 
logo_coc_psueng
โลโก้ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ - PSU (ENG)
 
logo_coc_psuth
โลโก้ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ - PSU (ไทย)


 

Code #33c0ca

สีดาร์คเทอควอยซ์(Dark Turquoise) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ ในศาสตร์ทางด้านการคอมพิวเตอร์
 

Code #b52324

สีแดงอิฐ (Fire Brick Red) หมายถึง การหล่อหลอมจากดินด้วยความร้อนขึ้นมาเป็นอิฐที่แสดงถึงความแข็งแกร่ง

โครงสร้างองค์กร แก้

ทำเนียบคณบดี แก้

ทำเนียบคณบดี วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
2. ผศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน
1. รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ พ.ศ. 2560 - 2564

**หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น สร้างขึ้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564

โครงสร้างองค์กร แก้

คณบดี

- ผศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ คณบดี

รองคณบดี

- ดร.อดิศักดิ์ อินทนา ตำแหน่งบริหาร : รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

- ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ ตำแหน่งบริหาร : รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์

- ผศ.ดร.วโรดม วีระพันธ์ ตำแหน่งบริหาร : รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

ผู้ช่วยคณบดี

- ดร.วศิมน พาณิชพัฒนกุล ตำแหน่งบริหาร : ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายงานรับนักศึกษาและกิจกรรมนานาชาติ

- ดร.กุลจรี ตันตยกุล ตำแหน่งบริหาร : ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการเรียนรู้

- ดร.ปาณิศา ตรีพงศ์ ตำแหน่งบริหาร :ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ

- อาจารย์เลอลักษณ์ บุญล้ำ ตำแหน่งบริหาร : ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร

- อาจารย์พัชรี เทพนิมิตร ตำแหน่งบริหาร : ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสนับสนุนการเรียนรู้และสหกิจศึกษา

- อาจารย์มนชนก ทองเทพ ตำแหน่งบริหาร : ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์



หลักสูตร แก้

หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[4]
== ระดับปริญญาตรี == == ระดับปริญญาโท == == ระดับปริญญาเอก ==

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด. )

งานวิจัย แก้

หน่วยวิจัยต่าง ๆ แก้

หัวข้องานวิจัย แก้

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) เช่น Blockchain and distributed technologies. สื่อดิจิทัล (Digital Media) เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networking) เช่น ระบบฐานข้อมูล (Database Systems) เช่น การคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เช่น
  • กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยวิธี Agile
  • สถาปัตยกรรมและการออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Architecture and Design)
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงประจักษ์ (Empirical Software Engineering)
  • การปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement)
  • การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ (Software Maintenance)
  • วิศวกรรมฟอร์มอล (Formal Engineering)
  • การออกแบบและพัฒนาแบบจำลองและข้อกำหนดทางซอฟต์แวร์แบบฟอร์มอล (Formal Modeling and Specification)
  • การทวนสอบและทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Verification and Validation)
  • การทดสอบจากแบบจำลอง (Model-based Testing)
  • Blockchain and smart contract system
  • NFT and Game economics
  • Market dynamics in cryptocurrency with sentiment analysis
  • Blockchain platforms and services with machine learning
  • Blockchain transaction analysis and verification
  • Blockchain privacy and security
  • Serious Games
  • Interactive Media
  • Physics-based Animation
  • Human-Computer Interaction
  • Mobile Application
  • Architectural Visualization
  • Augmented and Virtual Reality
  • คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision)
  • การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
  • การแทนความรู้ (Knowledge Representation)
  • การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)
  • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
  • วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics)
  • เหมืองข้อความ (Text Mining)
  • เครือข่ายเฉพาะกิจแบบไม่มีโครงสร้าง (Mobile Ad-hoc Networks)
  • เครือข่ายไร้สายเซ็นเซอร์ (Wireless Sensor Networks)
  • เครือข่ายเคลื่อนที่ (Network Mobility)
  • เครือข่ายเฉพาะกิจเคลื่อนที่ (Integration of Mobile Ad-hoc Networks and Network Mobility)
  • เครือข่ายยานพาหนะ (Vehicular Networking)
  • เครือข่ายเสมือน (Virtual Networks)
  • เครือข่ายของทุกสิ่ง (Internet of Things)
  • การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
  • คลังข้อมูล (Data Warehouse)
  • ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)
  • ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
  • สถาปัตยกรรมการคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing Architecture)
  • การจัดการการจราจรสำหรับการคำนวณแบบคลาวด์ (Traffic Management for Cloud Computing)
  • ประยุกต์ใช้การคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing Applications)
  • การคำนวณแบบคลาวด์ที่มีการเคลื่อนที่ (Mobile Cloud Computing)
  • การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
  • การค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval)
  • การสกัดสารสนเทศ (Information Extraction)

บริการวิชาการ แก้

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นการบรูณาการสร้างสรรค์และถ่ายทอดความรู้สู่สังคมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทางวิทยาลัยฯมีการเปิดให้บริการวิชาการด้านวิทยาการและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต่างๆ แก่โรงเรียน บริษัท หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย โดยทีมงานคณาจารย์ที่มีคุณภาพและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญซึ่งสนับสนุนงานบริการวิชาการ ดังนี้

  • จัดอบรมสัมมนา ซึ่งทางวิทยาลัยฯ มีห้องปฏิบัติการที่เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • ให้คำปรึกษาการจัดโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • สนับสนุนการจัดงานประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ
  • จัดทำฐานข้อมูลงานบริการวิชาการงานอื่น ๆ
  • งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานบริการวิชาการ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

โทรศัพท์: คุณอาภากร บุนนาค 076-276-000 ต่อ 6471

ทุนการศึกษา แก้

กลุ่มกิจกรรมนักศึกษา แก้

ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ แก้

เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ

สถานที่ตั้ง แก้

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ แก้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต 80 หมู่ 1 ถ.วิชิตสงคราม ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 83120

โทร 0 7627 6000 ต่อ 6471 (งานประชาสัมพันธ์), 0 7627 6045 (งานรับนักศึกษา)

Fax. 0 7627 6046

Email: coc(at)phuket.psu.ac.th

Google Map แก้

https://goo.gl/maps/jrQyvjQf6CZqmYza9

อ้างอิง แก้

  1. https://computing.psu.ac.th/th/history/
  2. ประวัติวิทยาลัย สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2564.
  3. https://computing.psu.ac.th/th/vision-mission/
  4. หลักสูตร สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2564.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้