วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การใช้คำอธิบายอย่างย่อผิดวัตถุประสงค์

ด้วยในปัจจุบันพบว่ามีการใช้คำอธิบายอย่างย่อผิดไปจากวัตถุประสงค์อย่างมาก ใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม จงใจ ให้ความหมายไปในส่อเสียด หยาบคาย ว่าร้าย หรือบางตัวอย่างในหน้าวันชาติ (ประเทศไทย)ซึ่งถูกลบไปแล้วโดยผู้ดูแลระบบ อันเป็นการบ่งบอกถึงผู้ใส่คำอธิบายว่าเจตนาสื่อถึงผู้ร่วมเขียนบทความหรือเนื้อหาในบทความ บุคคลที่สาม หรือจะสื่อถึงสิ่งใดก็หาเป็นสิ่งที่ควรกระทำไม่ (ไม่ต้องพิจารณาว่าสิ่งนั้นจะเป็นวัฒธรรมหรือประเพณีอันดีหรือไม่)

เพื่อให้การใช้งานคำอธิบายโดยย่อมีความถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เป็นตัวอย่างที่ดีของชุมชน สมควรที่จะดำเนินวางมาตรฐานหรือกฎระเบียบให้ชัดเจน และมีแนวทางในการดำเนินการต่อผู้ใช้คำอธิบายอย่างย่อผิดไปจากวัตถุประสงค์ต่อไป --Sasakubo1717 (พูดคุย) 17:50, 20 เมษายน 2555 (ICT)

คำอธิบายอย่างย่อ เมื่อบันทึกแล้วก็จะคงอยู่ตลอดไป แก้ไขไม่ได้ (ซ่อนได้อย่างเดียวในกรณีที่จำเป็น) ก่อนนี้เราเคยเจอผู้ที่ใช้คำอธิบายอย่างย่อโดยผิดจุดประสงค์มาแล้วมากมาย แต่เราคงจะออกนโยบายบังคับก็คงไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้เขียนเอง สิ่งใดที่เขาเขียนลงไป ย่อมเป็นสิ่งที่สะท้อนลักษณนิสัยของตัวเขาเอง เพราะมันออกมาจากใจ นอกจากนี้ การใช้คำอธิบายอย่างย่อโดยผิดจุดประสงค์ (ทุกกรณี) ไม่ได้เป็นเหตุให้ต้องคาดโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง --浓宝努 18:02, 20 เมษายน 2555 (ICT)
ผมเห็นด้วยว่า เป็นเรื่องเฉพาะคนมากกว่า โดยปรกติแล้วก็ไม่มีใครเขียนข้อความไม่เหมาะสมลงไป ความหยายคายเป็นอุปนิสัยของแต่ละคนโดยแท้ และเราไม่อาจควบคุมความรู้สึกนึกคิดคนได้ ประกอบกับโดยสภาพแล้ว พูดหยาบคายก็ไม่ได้ร้ายแรงถึงขนาดเป็นความผิด จะเป็นก็แต่ผิดใจกับผิดมารยาท และถ้าผิดร้ายแรง ขณะนี้ก็มีมาตรการจัดการอยู่ เช่น สะกัดกั้นชั่วคราวหรือถาวร --Aristitleism (พูดคุย) 19:37, 20 เมษายน 2555 (ICT)
เพราะเหตุห้ามไม่ได้ แก้ไม่ได้นั่นละครับ ถึงอยากจะหาทางออก ว่าสมควรดำเนินต่อไปอย่างไร สิ่งแล้วไปแล้วขอให้ผ่านไป ยกตัวอย่ามาให้ดูพอสังเขป และหาแนวทางในอนาคต --Sasakubo1717 (พูดคุย) 18:13, 20 เมษายน 2555 (ICT)
เราสามารถแนะนำวิธีการใช้งานที่เหมาะสมได้ เหมือนที่เขียนไว้ในวิกิพีเดยภาษาอังกฤษซึ่งละเอียดดี แต่จนแล้วจนรอดเราไม่สามารถห้ามได้นะครับ จะเป็นการกีดกันผู้เขียนมากเกินไป --浓宝努 18:38, 20 เมษายน 2555 (ICT)
ผมมองว่า Edit summary เป็นเรื่องเฉพาะตัวก็จริง แต่หากมีการเกิดขึ้นบ่อยครั้งเกินไป อาจมีคนยกเรื่องไปยังอนุญาโตตุลาการเพื่อจำกัดพฤติกรรมได้นะครับ แม้อาจไม่ใช่การจำกัด Edit summary โดยตรงก็ตาม (i.e. เหตุที่ว่าห้ามไม่ได้ อาจนำไปพิสูจน์ภายหลังว่าผู้ใช้คนนี้มีพฤติกรรมอย่างนี้ แล้ว คอต. หรือชุมชนก็ประกาศ Sanction ได้) --∫G′(∞)dx 18:56, 20 เมษายน 2555 (ICT)
แบบนั้นก็อาจพิจารณาว่าเป็นการก่อกวนรายบุคคลได้ แต่ไม่ใช่ว่าคำอธิบายอย่างย่อจะต้องถูกจำกัดการใช้งานเหมือนกันทุกคนตั้งแต่แรกนะครับ --浓宝努 19:00, 20 เมษายน 2555 (ICT)
โดยสภาพ Edit summary มันจำกัดไม่ได้อยุ่แล้วครับ (เว้นแต่จะมี config ของมีเดียวิกิ แต่จะไม่พูดถึงเพราะนอกประเด็น) แต่ตามประเด็นข้างต้น ให้มีมาตรการและการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ edit summary ที่ผิดไปจากปกติ ผมมองว่าสามารถนำนโยบายทั่วไปมาใช้ได้ครับ ส่วนที่ว่าจำกัก Edit summary ที่ผมเขียนไปในข้างบน คือการจำกัดว่าห้ามผู้ใช้คนนี้ใส่ Edit summary ที่เป็นการส่อเสียด ว่าร้าย ฯลฯ มิเช่นนั้น คอต. หรือผู้ดูแลสามารถจัดการได้ตามสมควร ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องโดนจำกัดการใช้งานไปเหมือนกันหมด --∫G′(∞)dx 19:06, 20 เมษายน 2555 (ICT)

ดิฉันเห็นด้วยนะคะว่า น่าจะมีขั้นตอนในการดำเนินการสำหรับผู้ใช้ที่ใช้คำอธิบายอย่างย่อผิดวัตถุประสงค์อย่างเป็นขั้นตอนนะคะ อาจจะเริ่มจากการแนะนำการใช้ที่ถูกต้อง ตักเตือน หรือไปจนถึง block การใช้งานชั่วคราว แน่นอนคะควรจะดำเนินการเป็นรายๆ ไปอย่างเป็นขั้นตอน เท่าที่เห็นผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีใครใช้คำอธิบายอย่างย่อผิดวัตถุประสงค์ แต่ถ้าไม่มีระบบที่จะจัดการกับผู้ใช้ที่ใช้คำอธิบายอย่างย่อผิดวัตถุประสงค์ ผู้ใช้ท่านนั้นก็คงกระทำผิดแบบนั้นต่อไปเรื่อยๆ และจะนำไปสู่ข้อขัดแย้งในวิกิพีเดียมากขึ้นคะ--ฉัตรา (พูดคุย) 19:16, 20 เมษายน 2555 (ICT)

  • หากแค่กล่าวต่อว่าผู้ร่วมเขียนบทความท่านอันนี้ก็ยังพอทน (ด่าว่าผมได้ครับ)แต่การกล่าวถึงบุคคลที่สามและน่าจะเข้าข่ายขัดต่อกฎหมายไทย (ซึ่งข้อความส่วนนี้ถูกซ่อนแล้ว) อันนี้อันตรายอย่างมาก หรือถึงแม้ไม่ผิดกฎหมายก็ไม่สมควร เพราะบุคคลที่สามไม่มีโอกาสได้แก้ตัวใดๆ เป็นผลกระทบต่อชุมชนโดยรวม ในอนาคตหากพบการใช้ที่ไม่เหมาะสมเห็นควรทำการตักเตือนเป็นรายๆไป หากตักเตือนแล้วยังไม่หยุดสมควรให้ คอต.พิจารณา หรือ ผู้ดูแลดำเนินการ ตามที่คุณG(x) แสดงความเห็นไว้ หรือให้ผู้ดูและลบประวัติหรือลบการแก้ไขในส่วนนั้นออก --Sasakubo1717 (พูดคุย) 23:33, 20 เมษายน 2555 (ICT)
วัตถุประสงค์ของ คอต. คือ รับมือกับประเด็นที่ประชาคมโดยรวมไม่สามารถจะรับมือได้แล้วนะครับ (เว้นแต่เป็นประเด็นที่ไม่ควรถกกันในที่สาธารณะเพราะเกี่ยวเนื่องด้วยข้อกฎหมาย เช่น กฎหมายไม่ให้เปิดเผยชื่อและข้อมูลเยาวชนที่ทำกระทำความผิดอาญา ในบทความนี้เราควรลงชื่อเด็กหญิง ก หรือเด็กชาย ข คนนี้หรือไม่, หรือเพราะเกี่ยวเนื่องกับความเป็นส่วนตัว เช่น เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมทางเพศ หรือสุขภาพอนามัย หรือชื่อเสียงเกียรติคุณ) คอต. ควรใช้เป็นหนทางสุดท้ายในการระงับปัญหา ดังนั้น นอกจากตักเตือนแล้วส่งไป คอต. เลย ผมเห็นว่า ยังมีมาตรการอื่น ๆ ก่อนหน้านั้นอีกซึ่งนำมาใช้ได้ เช่น ผู้ดูแลระบบบล็อก (ถ้าผู้ถูกบล็อกไม่เห็นด้วยก็ยังอุทธรณ์ไป คอต. ได้) --Aristitleism (พูดคุย) 23:55, 20 เมษายน 2555 (ICT)

  • กฎหมายไม่ได้ห้ามฆ่าคนวางเพลิง แต่ถ้าคุณฆ่าคนวางเพลิงถือเป็นความผิดตามกฎหมายต้องระวางโทษทางอาญา...
  1. เช่นเดียวกัน ในทางเทคนิคเราไม่อาจห้าม A B C D ... Z บนวิกิพีเดีย แต่เมื่อทำอย่างที่ว่าแล้ว ก็ถูกแจ้งเตือนได้ (ใครๆ ก็แจ้งได้)
  2. แจ้งแล้วไม่ฟังผู้ดูแลก็บล็อกได้
  3. คอต. มีประโยชน์ในสามกรณี
    • บล็อกแล้วไม่พอใจ คิดว่าถูกบล็อกโดยไม่ชอบธรรม
    • คนอื่นไม่พอใจว่าทำไมแอดมินไม่บล็อกผู้มีพฤติกรรมดังกล่าวเสียที
    • บล็อกชั่วคราวก็เท่านั้น ขอให้บล็อกถาวรไปเลย หรือขอให้อย่ายุ่งกับบทความดังกล่าวอีก ขอให้พิจารณามาตรการคุมประพฤติ

--taweethaも (พูดคุย) 09:29, 21 เมษายน 2555 (ICT)

ที่กฎหมายลงโทษ ก็เพราะว่ากฎหมายห้ามไงครับ --Aristitleism (พูดคุย) 12:59, 21 เมษายน 2555 (ICT)
ความเห็นส่วนตัว ลงโทษกับห้ามไม่เหมือนกัน เช่น บางคนยอมจ่ายค่าปรับ/ค่าชดเชย/ค่าเสียหาย/ค่าสินไหมทดแทนเพื่อจะกระทำการบางอย่างซึ่งเป็นความผิด (ทั้งในทางอาญาและทางแพ่ง) หรือ การดื้อแพ่ง - การที่กำหนดโทษไว้จึงเป็นการ discourage พฤติการณ์ที่ไม่ต้องการ หรือเป็นการชดเชย (ในกรณีทางแพ่ง) แต่มิอาจห้ามพฤติการณ์ที่กล่าวไว้ได้โดยตรง --taweethaも (พูดคุย) 13:52, 21 เมษายน 2555 (ICT)
  • การห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องกับบทความอันใดอันหนึ่ง คิดว่าน่าจะยาก เพราะผู้กระทำก็ทำในหลายๆบทความ ไม่ได้เจาะจง (ส่วนใหญ่ต้องการเผยแพร่อุดมการณ์/แนวความคิดเป็นหลัก/จุดยืน ของผู้เขียน)เห็นด้วยที่จะออกเป็นกฎว่าห้ามทำ ใครทำต้องมีการตักเตือน ให้โอกาสพอสมควรหากยังกระทำอีกจำเป็นต้องบล็อก อาจชั่วคราวจนไปถึงถาวร หากบล็อกถาวรแล้วอาจเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการกำเนิดของหุ่นเชิดซึ่งจะต้องตรวจสอบต่อไป --Sasakubo1717 (พูดคุย) 12:10, 21 เมษายน 2555 (ICT)
  1. คอต. อาจมีมติออกมาตรการคุมประพฤติกำหนดให้บุคคลบางคนไม่ยุ่งกับการแก้ไขบทความบางบทความ หากฝ่าฝืนการแก้ไขอาจถูกย้อนและบุคคลดังกล่าวอาจถูกบล็อก -- มาตรการนี้มีข้อดีที่ว่าบุคคลเหล่านั้นยังทำประโยชน์แก่ชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยได้ในหน้าอื่นๆ เพราะเชื่อใน WP:AGF จึงใช้มาตรการนี้ -- ทั้งสองฝ่ายที่ติดอยู่ในสงครามการแก้ไขอาจถูกร้องขอให้งดการแก้ไขบทความดังกล่าวชั่วคราว
  2. บล็อกถาวรอาจะนำมาซึ่งหุ่นเชิดก็จริง แต่ปัจจุบันมีมาตรการในการปราบปรามอยู่ เช่น ป้องกันมิให้ผู้ใช้ใหม่แก้ไขบางหน้า และ check user policy

--taweethaも (พูดคุย) 13:56, 21 เมษายน 2555 (ICT)


ดูจากการอภิปรายทั้งหมดแล้ว ผมขอสรุปเลยละกันว่า

  • คำอธิบายอย่างย่อไม่สามารถออกกฎบังคับได้ว่า ต้องเขียนเช่นนั้น หรือห้ามเขียนเช่นนี้ เพราะจำกัดไม่ได้โดยสภาพ และขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของตัวผู้เขียนเอง ผู้รับสารอื่น ๆ สามารถแนะนำแนวทางที่เหมาะสมได้
  • การใช้คำอธิบายอย่างย่อผิดวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะกรณีโจมตี ด่าทอ สิ่งที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง ผู้ใช้คนอื่น หรือบุคคลที่สาม อาจถือว่าเป็นการก่อกวนรูปแบบหนึ่ง หากกระทำบ่อยครั้ง (ไม่สามารถกำหนดได้ว่ากี่ครั้ง ต้องดูที่ความถี่ที่กระทำ) สามารถใช้เป็นมูลเหตุเพื่อยับยั้งการใช้งานของผู้กระทำได้
  • ผู้ดูแลระบบสามารถพิจารณาซ่อนคำอธิบายอย่างย่อที่ไม่เหมาะสมได้ (ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ดูแลระบบ ในทางเทคนิคข้อมูลยังไม่ถูกลบ เพียงแต่ซ่อนเอาไว้เท่านั้น ผู้กระทำไม่สามารถปฏิเสธได้

ส่วนการต่อกรกับการก่อกวน อาทิการบล็อก การล็อก หุ่นเชิด และอื่น ๆ เกี่ยวกับ คอต. ก็กระทำไปตามขั้นตอนเดิมที่ปฏิบัติกันมา อยู่นอกเหนือประเด็นของการอภิปรายนี้ --浓宝努 13:15, 21 เมษายน 2555 (ICT)

  1. เห็นด้วย ตามนี้แหละครับ --taweethaも (พูดคุย) 13:47, 21 เมษายน 2555 (ICT)
  2. เห็นด้วย มีวิธีการปฏิบัติชัดเจน จะได้ดำเนินหากพบการกระทำ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 14:49, 21 เมษายน 2555 (ICT)
  • การกระทำก่อนออกกฎบังคับนี้ให้ถือว่าไม่มีความผิด และ ไม่ให้นับรวมเป็นประวัติว่าได้กระทำผิด --Sasakubo1717 (พูดคุย) 14:53, 21 เมษายน 2555 (ICT)
  1. เห็นด้วย --Panyatham 17:51, 25 เมษายน 2555 (ICT)
  2. ไม่เห็นด้วย นี่ไม่ใช่กฎใหม่ครับ เป็นแนวทางการบังคับใช้กฎที่มีอยู่แล้ว (ดูที่ลักษณะการก่อกวน|) ความผิดที่กระทำก่อนการกวดขันบังคับใช้กฎอยู่ในดุลยพินิจของผู้ดูแลและ คอต. เป็นกรณีไป และถ้านานมากแล้ว (ขาดอายุความ) ก็ไม่ควรนำมาพิจารณา เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่วิกิพีเดียไทย --taweethaも (พูดคุย) 16:52, 21 เมษายน 2555 (ICT)
หากเป็นเช่นนี้ขอถอนเรื่องได้มั๊ยครับ แต่ขอให้เปลี่ยนเป็นไม่ต้องตักเตือนย้อนหลัง ให้โอกาสผู้กระทำเปลี่ยนแปลงใหม่ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 17:08, 21 เมษายน 2555 (ICT)
อาญาแผ่นดินไม่อาจยอมความได้ ถอนแจ้งความไม่ได้ - แต่ประเทศไทยมีอายุความ และมีมาตรการของรัฐเกี่ยวกับการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง... อย่างที่เขียนข้างต้นครับ ใช้ดุลยพินิจเป็นกรณีไป --taweethaも (พูดคุย) 16:20, 22 เมษายน 2555 (ICT)
  • อาจใช้การแจ้งเตือนด้วยแม่แบบ test1 ถึง test5 ตามปกติ หมายความว่า ก่อกวนครั้งหนึ่ง ระดับการเตือนก็จะเพิ่มขึ้น ถ้าผู้ใช้พบเห็นอาจส่งเรื่องให้ผู้ดูแลระบบครับ --Horus | พูดคุย 21:51, 21 เมษายน 2555 (ICT)
สมควรที่จะแก้ไขเนื้อความในการก่อกวนเล็กน้อย ให้ชี้ชัดและครอบคลุมมากขึ้น --Sasakubo1717 (พูดคุย) 01:33, 23 เมษายน 2555 (ICT)
  1. เห็นด้วย --N.M. (พูดคุย) 18:39, 26 เมษายน 2555 (ICT)
  2. เห็นด้วย --Panyatham 17:05, 7 พฤษภาคม 2555 (ICT)
  3. เห็นด้วยlux2545 [ห้องสนทนา] 16:59, 17 พฤษภาคม 2555 (ICT)
สรุป

มีนโยบายอยู่แล้วเพียงแต่อาจต้องกวดขันและสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ใช้มากขึ้น