วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์/ตุลาคม 2551

แป้งข้าวเจ้า

อยากทราบว่าแป้งข้าวเจ้าถ้านำมาหมักเป็นแอลกอฮอล์จะได้ปริมาณแอลกอฮล์ประมาณกี่เปอร์เซนต์ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.174.89.134 (พูดคุย | ตรวจ) 01:47, 1 ตุลาคม 2551 (ICT)

การโคลนนิ่ง

การโคลนนิ่งทำกับกระบือได้หรือไม่

โดยหลักการแล้วถือว่าทำได้ครับ แต่การโคลนนิ่ง ยุ่งยากเกินกว่าที่คนทั่วไปจะทำได้อยู่แล้ว จึงแทบจะไม่มีการขยายพันธุ์สัตว์ต่างๆ โดยใช้วิธีนี้เลย โดยเฉพาะกับคน จะถูกต่อต้านอย่างหนัก เพราะคนที่ได้จากการโคลนนิ่งจะเหมือนกันเปี๊ยบ ยิ่งกว่าฝาแฝด ดังนั้นการโคลนนิ่งคนด้วยกัน จึงยังไม่เคยเกิดขึ้น"อย่างเป็นทางการ"เลย--lovekrittaya but gwperi 16:12, 10 ตุลาคม 2551 (ICT)

โคลนนิ่งอาจมีประโยชน์ต่อสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์ไปแล้วแต่ยังมีดีเอ็นเอเก็บไว้ ซึ่งข่าวก็ออกไปเมื่อไม่นานมานี้ว่าสามารถโคลนสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วขึ้นมาได้ แต่เป็นตัวอะไรผมจำรายละเอียดไม่ได้นะครับ (ไม่ใช่แกะแพะม้าแน่นอน) --Octra Dagostino 19:13, 11 ตุลาคม 2551 (ICT)

ขอโทษครับคุณ Octraฯ ผมเผลอพูดนอกเรื่องไปนิด เลยลืมประเด็นนี้ไป ขอบคุณมากครับ --lovekrittaya but gwperi 12:31, 13 ตุลาคม 2551 (ICT)

เหตุใดพระเยซูจึงถูกตรึงกางเขน

ทำไมพระเยซูจึงถูกจับทรมานและทำไมท่านถึงทนยอมให้พวกทรราชกระทำการทรมานต่อพระองค์ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.75.65 (พูดคุย | ตรวจ) 20:42, 2 ตุลาคม 2551 (ICT)

สาเหตุที่ท่านยอมนั้น ว่ากันว่าทรงกระทำไปเพื่อไถ่บาปให้มนุษยชาติ บ้างเชื่อกันว่า จูดาส ที่ว่ากันว่าเป็นศิษย์ทรยศ ส่งข่าวให้ทหารโรมันจับพระองค์นั้น แท้จริงแล้ว ทำตามคำสั่งของพระเยซู บ้างเชื่อกันว่า เพราะชาวยิวไม่ยอมรับคำสั่งสอนของพระเยซู จึงแจ้งให้ทางการโรมัน ซึ่งตอนนั้นปกครองเยรูซาเลมจับท่านประหารด้วยการตรึงกางเขน
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การกระทำของพระเยซูนั้น เป็นไปตามแผนของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์นั่นเอง (พระคัมภีร์ว่าไว้ตามนี้) --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 03:50, 3 ตุลาคม 2551 (ICT)

ตอ้งเท้าความกันตั้งแต่ยุคสมัยที่พระเจ้าสร้างโลกใหม่ ก่อนที่พระเจ้าสร้างมนุษย์ พระเจ้าได้สร้างทูตสรวรรค์ขึ้นมาจำนวนมากหลายโกฎิ หนึ่งในนั้นมีทูตสวรรค์ที่ทำหน้าที่นำการร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า ชื่อ ลูซิเฟอร์ พร้อมลูกสมุน1 ใน 3 ของทูตสวรรค์ทั้งหมด ได้ทำการกบฏต่อพระเจ้า จึงถูกพระเจ้าสาบให้ตกสวรรค์ลงมาอยู่ในโลกมนุษย์ ( ที่เราเรียกว่า ซาตาน และมาร ) หลังจากนั้นพระเจ้าก็สร้างมนุษย์คู่แรก ชื่ออาดัมและเอวา ให้ทำงานตั้งชื่อสัตว์ในสวนเอเดน และสั่งว่าอย่ากินผลของต้นไม้แห่งความสำนึกชั่ว-ดี แต่งู ( มาร ) ได้มาล่อลวงให้เอวาและอาดัมให้กินผลของต้นดังกล่าว พระเจ้าจึงขับไล่ทั้ง2คนให้ออกจากสวนเอเดน หลังจากนั้นเป็นต้นมามนุษย์ก็ไม่สามารถเห็นพระเจ้าได้อีกเลย จนพระเยซุมาตายเพื่อ่นำการกลับคืนดีจากพระเจ้ามาสู่มนุษย์อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับนำพระพรมาแทนการสาปแช่ง เชน ปลดปล่อยจากการเป็นทาสของความเจ้บป่วย การพนัน อบายมุข ความตาย ความทุกข์ใจ ความยากจน ฯลฯ มีคำพูดหนึ่งของพระเยซูที่ข้าพเจ้าประทับใจมากคือ หนึ่งคนที่นำคนทั้งหลายมาสู่บาป ดังนั้นหนึ่งคนก็สามารถนำคนทั้งหลายให้พันจากบาปได้เช่นกัน ( ใจความประมาณนี้ )

หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้จากพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับพันธสัญญาเดิม หรือ ติดต่อได้ท่คริสตจักรใกล้บ้านท่าน

เรื่อง หลุมดำ

ดิฉันอยากทราบว่าหลุมดำนั้นมีจริงรึเปล่า และอยากทราบการเกิดสุริยจักรวาลของหลุมดำและการกำเนิดของหลุมดำว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านระบบสุริยะจักรวาล --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.141.10 (พูดคุย | ตรวจ) 12:45, 6 ตุลาคม 2551 (ICT)

- หลุมดำมีจิงๆขอรับ หลุมดำคือดาวที่หมดอายุขัยขนาดใหญ่ยุบตัวลงจนเล็กเหลือเกิน เปรียบเทียบประมาณว่าขนาดภูเขาอัดแน่นจนได้ขนาดลูกบอล ความหนาแน่นที่สูงมากทำให้เกิดแรงดึงดูดมหาศาลจนดูดได้แม้แต่แสง ทำให้เมื่อส่องกล้องดูดาวจะเห็นปรากฏการณ์เฉพาะตัวของหลุมดำที่บ่งบอกว่าแสงโดนดูดหายไปไม่มีแสงบริเวณนั้นถึงได้เรียกหลุมดำ (แฮ่ะๆๆจำรายละเอียดปรากฏการณืที่ว่าไม่ได้ขอรับขออำภัย) - สุริยจักรวาลกับหลุมดำไม่ใช่สิ่งเดียวกัน สุริยจักรวาลคือกลุ่มดวงดาวหลายดวงวนรอบดาวฤกษ์(ในระบบสุริยจักรวาลของเรา ดาวฤกษ์คือดวงอาทิตย์) - ทบ.เก่าของฮอร์กิ้นกล่าวว่า หลุมดำน่าจะเชื่อมโยงกับ ทบ.รูหนอน(worm hole) อันจะเกี่ยวกันกับการเดินทางผ่านมิติเวลาหรือจักรวาล และอาจนำไปสู่การเดินทางแบบวาร์ปอย่างในหนังสตาร์วอร์หรือสตาร์เทรคอาไรปามานเนี้ย แต่ก้อรู้สึกถูกโต้แย้งจนตกไปแล่ว ข้อมูลนี้ค่อนข้างเก่าแล้วหากผู้ใดมีข้อมูลเพิ่มเติมขออ่านเพิ่มด้วยขอรับ เดี๊ยวนี้วิทยาการเพิ่มขึ้นเร็วจนอ่านตามไม่ทัน....นินจ้อ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.120.208.71 (พูดคุย | ตรวจ) 01:25, 8 ตุลาคม 2551 (ICT)


- หลุมดำมีอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรกคือหลุมดำใหญ่ที่ใจกลางกาแลคซี่ ซึ่งเป็นต้นกำเนินของกาแลคซี่ ประเภทที่สองคือหลุมดำซึ่งโคจรอยู่ในระบบกาแลคซี่ ซึ่งกำลังเดินทางเข้าสู่ใจกลางกาแลคซี่ ไปรวมกับหลุมดำใหญ่ ซึ่งพอผ่านไปทางไหนเจออะไรก็ดูดเข้าไปทั้งหมด - อธิบายง่ายๆ ก็คือ กาแลคซี่ทางช้างเผือกเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุด โดยมีใจกลางเป็นพลังงานบริสุทธิ์ขนาดใหญ่สุด(นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า หลุมดำ) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์ของเราที่โคจรอยู่รอบๆ ประมาณสองแสนล้านดาง ส่วนหลุมดำซึ่งอยู่ในวงโคจรเดียวกับดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นด้วยตามนุษย์ธรรมดาของพวกเรา จะโคจรอยู่รอบๆ ซึ่งเมื่อเข้าใกล้อะไรก็ดูดเข้าไปทั้งหมดแม้กระทั่งแสง เหตุเพราะว่า หลุมดำเป็นหลังงานบริสุทธิ์ จึงดึงดูดทุกอย่างที่มีองค์ประกอบส่วนหนึ่งเป็นพลังงานบริสุทธิ์ (แสงเป็นพลังงานเช่นกันจึงถูกดูดเข้าไปด้วย ) แต่เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างถือกำเนิดมาจากใจกลางกาแลคซี่ซึ่งเป็นพลังงานบริสุทธิ์ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นพลังงานบริสุทธิ์อยู่ แต่เป็นพลังงานบริสุทธิ์ที่กลายสภาพจากการเรียงตัวของอะตอมที่แตกต่างกัน เจ้าหลุมดำที่โคจรวนเวียนอยู่นี้ ก็จะดูดและเก็บไว้เพียงพลังงานบริสุทธิ์ในระดับเท่ากับมันเท่านั้น และส่วนใดซึ่งไม่เหมือนกับมัน มันก็จะพ่นออกมา เราจึงเห็นว่าภาพที่ถ่ายหลุมดำหลังจากดูดดาวเข้าไปแล้ว จะมีฝุ่นหรือผงซึ่งเป็นกากของดาวที่ไม่ถูกดูดเข้าไปอยู่ในหลุมดำนั้น ถูกพ่นออกมาจากใจกลาง - การพ่นออกมาของสิ่งที่หลุมดำไม่เก็บไว้เป็นสภาวะในธรรมชาติของระบบที่เราอยู่ เช่นเดียวกับเพชร ซึ่งจะดึงดูดแต่ธาตุบริสุทธิ์ของตัวมัน ส่วนคาร์บอนซึ่งเป็นส่วนที่ไม่เหมือนกับเนื้อบริสุทธิ์ จะถูกคายออกมาตลอดเวลาจนกระทั่งเพชรก้อนนั้นใสมากขึ้นจนทั้งใสและแข็งที่สุด เนื่องจากความสะอาดและความบริสุทธิ์ของเนื้อเพชร โมเลกุลของเพชรจึงสามารถเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบจากความสะอาด ทำให้แบ็งที่สุด - ปรากฏการณ์ที่ดึงดูดกันนี้เรียกว่า 'แรงดึงดูดของสิ่งที่เหมือนกัน ส่วนอะไรที่ไม่ถูกดูดไว้ ก็ต้องถูกเหวี่ยงออกมา เพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในระบบที่หมุนเหวี่ยงตลอดเวลา เมื่อไม่ได้ดูดไว้ ก็ต้องถูกเหวี่ยงออกเป็นธรรมดา ซึ่งทำให้เกิดกฏข้อที่สองคือ แรงเหวี่ยงออกของสิ่งที่ไม่เหมือนกัน ส่วนกฏข้อทีสามคือ แรงกริยาก่อให้เกิดแรงปฏิกิริยา เพราะทุกแรงกระทำที่เกิดขึ้นในใจกลางระบบกลมๆ หมุนๆ ก็ต้องเป็นของภายในระบบ พอเกิดขึ้นก็ต้องวิ่ง เพราะทั้งระบบหมุนเหวี่ยงอยู่ตลอดเวลา เมื่อแรงกระทำนั้นวิ่งก็ต้องชนขอบภายในของระบบหมุนเหวี่ยง ทำให้สะท้อนกลับมายังต้นกำเนิดของแรงกระทำนั้น เราสามารถทดลองได้จากการออกไปยืนในที่โล่งแล้วตะโกนออกไปในท้องฟ้าด้านในด้านหนึ่ง เสียงของเราจะสะท้อนกลับมา ทั้งๆที่ไม่มีกำแพงให้สะท้อน แต่สามารถสะท้อนกลับมาหาเรา ถ้าเราตะโกนด่าตัวเอง เสียงสะท้อนของเราจะสะท้อนกลับมาด่าเราเอง กฏของธรรมชาติข้อนี้ ทางพุทธเราเรียกว่า กฏแห่งกรรม ,,,,กฤติยา

หน่วยวัด

อยากทราบว่า 1 บาร์ = ? (นิ้วปรอท) หรือ 1 นิ้วปรอท = กี่บาร์ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.187.125 (พูดคุย | ตรวจ) 16:16, 10 ตุลาคม 2551 (ICT)

1 บาร์ = 750.06 ทอร์ (เนื่องจาก 1 ทอร์ = 1 mmHg ดังนั้น 1 บาร์ = 750.06 mmHg) (อ้างอิง บาร์ (หน่วยวัด), ทอร์ (หน่วยวัด) (อังกฤษ) และ เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี (ไทย))

แปลงเป็น เซนติเมตร ได้ 75.006 CmHg เอา 2.54 (1 นิ้ว) หาร จะได้ 1 บาร์ ~ 29.53 InHg (นิ้วปรอท) หรือ 1 InHg ~ 0.034 บาร์

--MaGa NosFeRaTu 19:06, 11 ตุลาคม 2551 (ICT)

การลดปริมาณความเข้มข้นของสารละลายฟอร์มาลิน

การลดปริมาณความเข้มข้นของสารละลายฟอร์มาลินจาก 40 % ให้เลือ 30 % เหลือ 20% และ 10% สามารถทำได้อย่างไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.209.81 (พูดคุย | ตรวจ) 09:54, 12 ตุลาคม 2551 (ICT)

เติมน้ำ? อีกหนึ่งในสาม อีกเท่าตัว และอีกสามเท่าตัว ของปริมาตรสารละลาย ตามลำดับ --Wap 20:15, 16 ตุลาคม 2551 (ICT)


ตอบ>> เติมน้ำกลั่นค่ะ โดยปกติฟอร์มาลิน 100% หมายถึงมีส่วนประกอบจากฟอร์มัลดีไฮด์ 37%

     ถ้าข้างขวดเขียนว่าฟอร์มัลดีไฮด์ 37% นั่นหมายถึงคุณกำลังใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 100% อยู่นะ
           (ตรวจสอบฉลากก่อน  หากเป็นดังที่กล่าวมาก็ให้แทนค่าใหม่ ตามตัวอย่างที่ใส่ไว้ให้ จาก 40% 
     เป็น 100% นอกนั้นคงเดิม)
           วิธีการ Dilute ใช้สูตร  N1V1 = N2V2
                      N1 = ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
                                             V1 = ปริมาตรของสารตั้งต้นที่ต้องการ
                                             N2 = ความเข้มข้นของสารที่ต้องการหลังผสม
                                             V1 = ปริมาตรที่ต้องการหลังผสม
        จากโจทย์ฟอร์มาลิน 40% ผสมให้ได้ 30% สมมติว่าผสมแล้วให้ได้ 1000 ml จะต้องใช้
        ฟอร์มาลินผสมน้ำกลั่นอย่างละกี่ ml
                      N1V1=N2V2
                      (40)V1 = (30)(1000)
                          V1 = (30)(1000)/40
                          V1 = 750 ml
           ดังนั้นต้องใช้ฟอร์มาลิน 40% ปริมาตร 750 ml ผสมน้ำกลั่น 250 ml 
           (ปรับให้ได้ 1000 ml นั่นแหล่ะ)
   ที่นี้ถ้าเป็นความเข้มข้นอื่น ๆ ก็ลองใช้สูตรนี้ดู สามารถนำมาใช้คำนวณกับของเหลวได้ทุกประเภท
      --- Pattrawan

โรคไทรอยด์

ย้ายจากหน้า พูดคุย:โรคไทรอยด์

เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคไทรอยด์ -- 09:05, 13 ตุลาคม 2551 124.157.158.125 / 19:30, 28 มกราคม 2551 61.91.162.51

ตะกั่ว

((เม็ดตะกั่วเบอร์ 7 1/2)) มีขนาดเท่าไร

อนันต์ มั่นเมือง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.137.58.226 (พูดคุย | ตรวจ) 08:04, 13 ตุลาคม 2551 (ICT)

หมายถึงกระสุนปืน (ลูกปืน) ใช่หรือเปล่าครับ --lovekrittaya but gwperi 15:52, 13 ตุลาคม 2551 (ICT)

แหล่งพลังงานไฟฟ้า --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.147.69.166 (พูดคุย | ตรวจ) 08:57, 15 ตุลาคม 2551 (ICT)

สี่เหลี่ยม

 
การแบ่ง 10 ส่วน

มีวิธีที่จะแบ่งรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสให้มี 10 ช่องเท่าๆกันได้กี่วิธี --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.10.167.88 (พูดคุย | ตรวจ) 08:55, 16 ตุลาคม 2551 (ICT)

อนันต์ --Wap 20:15, 16 ตุลาคม 2551 (ICT)
ถ้าแบ่งด้วยสันตรงกับวงเวียนก็คงมีแค่ไม่กี่แบบละครับ --Octra Dagostino 08:54, 17 ตุลาคม 2551 (ICT)
ต่อให้ใช้สันตรงกับวงเวียน ก็ยังอนันต์อยู่ดีครับ
* ขั้นแรก แบ่งด้านด้านหนึ่งให้เป็น 5 ส่วนเท่าๆ กัน ทำได้ด้วยสันตรงและวงเวียน (เปิดหนังสือเรียนเอานะครับ, ขี้เกียจเขียน, ยาว)
* ด้านตรงข้ามก็ทำเช่นเดียวกัน ลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดแบ่ง จะได้สี่เหลี่ยมผืนผ้า 5 รูปที่เหมือนกันทุกประการ
* กำหนดจุดใดๆ ก็ได้ที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่ง แล้วใช้วงเวียนวัด มาร์กจุดที่ฟากตรงข้าม แล้วลากเส้นแบ่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นสองส่วนเท่ากัน
* มาร์กจุด ทำซ้ำกับสี่เหลี่ยมที่เหลือ
--Wap 22:43, 17 ตุลาคม 2551 (ICT)
ผมหมายถึงรูปแบบสุดท้ายที่ถูกแบ่ง เส้นที่เขียนก่อนหลังไม่มีผลต่อการแบ่ง บนล่างซ้ายขวาหมุนซ้ายหมุนขวาก็ไม่มีผลต่อการแบ่ง (เรขาคณิตไม่มีข้างบนข้างล่าง) สิ่งที่คุณแว้บ อธิบายมา ถ้าผลลัพธ์สุดท้ายเหมือนกัน จะนับเป็นแค่หนึ่งวิธีเท่านั้นครับ จากในภาพ A คือวิธีเดียวกับ B และ C คือวิธีเดียวกับ D แต่ A กับ C เป็นคนละวิธีกัน ถ้ามีวิธีอื่นอีกก็แสดงให้ชมหน่อยนะครับ (โดยใช้สันตรงกับวงเวียน) ผมนึกออกแค่นี้ --Octra Dagostino 23:06, 17 ตุลาคม 2551 (ICT)
เชิญยล 2 ใน อนันต์ วิธี
 
ใช้ GSP วาด ดังนั้นมันใช้สันตรงกับวงเวียนก็พอครับ
เปลี่ยนความชันเส้นแบ่งได้ ตามสเกลจำนวนจริง --Wap 00:42, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)
ขอบคุณครับ --Octra Dagostino 00:49, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

คิดได้เนอะ ถ้าถามผม ผมคงบอกว่า ขี้เกียจหว่ะ แต่ก็ทำให้นึกถึงข้อสอบพื้นฐานวิศวะ ปี ๔๓ เลยหล่ะ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 00:59, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

ระบบนิเวศ

  1. แสงมีอิทธิพลต่อพืช สัตว์ และระบบนิเวศอย่างไร
  2. ดวงจันทร์มีผลต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างไร

นิตยา --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 115.67.37.144 (พูดคุย | ตรวจ) 12:47, 16 ตุลาคม 2551 (ICT)

  1. จะบอกให้เต็มต้องเป็นแสงอาทิตย์ครับ พืชใช้แสงอาทิตย์ในการสร้างอาหาร ซึ่งนี่เองเป็นพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ หากไม่มีแสงอาทิตย์ เราก็จะไม่มีอาหาร แม้มันจะไม่เห็นผลในระยะสั้น แต่ผลกระทบจะรุนแรงในอีกไม่กี่ร้อยปีข้างหน้า
  2. ดวงจันทร์แทบไม่ส่งผลอะไรต่อระบบนิเวศเลยครับ พืชก็ไม่ได้สังเคราะห์อาหารจากแสงจันทร์ นอกจากจะทำให้น้ำขึ้นน้ำลง กับกำหนดฤดูผสมพันธุ์

--Octra Dagostino 00:02, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

แสงอะไรพืชก็ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ไม่ใช่เหรอครับ?
นอกจากนี้ยังทำให้เราเห็นเหยื่อด้วยครับ ไม่งั้นก็จับกินไม่ได้
เว้นเสียแต่พวกที่หาเหยื่อตอนกลางคืนครับ (ไม่ได้หมายถึงมนุษย์นะครับ) --Wap 01:14, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)
แสงอะไรก็ได้นั้นไม่ใช่ครับ ต้องเป็นแสงที่มีระดับพลังงานมากพอ ความยาวคลื่นที่เหมาะสม ที่จะสามารถทำให้คลอโรฟิลด์ทำงานได้ด้วย --Octra Dagostino 01:23, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

ไม่นา ผมว่า น้ำขึ้น-น้ำลงเอง ก็ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่งนะครับ จะบอกว่าไม่มีเลย ผมไม่คิดว่าถูกนะครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 13:18, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

แม่เหล็กยาง

แม่เหล็กยางสร้างขึ้นได้อย่างไร พวกแม่เหล็กแปะตู้เย็นน่ะ ทำไมมันบิดงอได้ ไม่แข็งอย่างแม่เหล็กทั่วไป --Octra Dagostino 08:49, 17 ตุลาคม 2551 (ICT)

ถ้าจะอธิบายให้ง่ายและสั้นที่สุด แม่เหล็กยางคือ การเอาผงแม่เหล็กใส่เข้าไปในกระเบื้องยางพีวีซีหรือเสื่อน้ำมัน(สุดแต่จะเรียกขอรับ) PVC เป็นพลาสติกลักษณะ rubber like ใส่สารเติมแต่งได้สารพัด แต่งให้แข็งแบบ ท่อน้ำสีฟ้า ฯ หรือแต่งให้นิ่มแบบ สายไฟ สายยางรดน้ำในสวน เสื่อน้ำมัน หนังเทียม ฯลฯ ....นินจ้อ

pH

ค่า ph ที่มีผลต่อน้ำบาดาล --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.175.80.98 (พูดคุย | ตรวจ) 05:59, 17 ตุลาคม 2551 (ICT)

ค่า pH คือค่าความเป็นกรด-เบส มันจะมีผลอะไรต่อน้ำบาดาลเหรอครับ น่าจะถามใหม่ว่า น้ำบาดาลมี pH เท่าไร และส่งผลต่อมนุษย์อย่างไร ส่วนใหญ่แล้วน้ำบาดาลเป็นกรดอ่อน (มีค่า pH น้อยกว่า 7) เพราะเป็นน้ำที่แทรกอยู่ในชั้นหินปูน แถมมีตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตอยู่เยอะด้วย จัดเป็นน้ำกระด้าง หากดื่มน้ำบาดาลเป็นเวลานานจะทำให้เป็นนิ่วได้ (ความเป็นกรดอ่อนนั้นไม่มีผลอะไร) --Octra Dagostino 13:22, 17 ตุลาคม 2551 (ICT)

อยากทราบข้อบ่งใช้ของmicrocentrifuge,centrifuge,เครื่องปั่นตกตะกอน--Pattrawan

อยากทราบว่า microcentrifuge หรือเครื่องปั่นตกตะกอน มีข้อบ่งใช้อย่างไรบ้าง

โดยในที่นี้หมายถึงจำนวนรอบ/นาที ที่เหมาะสมต่อการใช้งานประเภทใดบ้าง

ชนิดของแกนเครื่องปั่นว่าเหมาะกับงานประเภทใด --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.121.133.47 (พูดคุย | ตรวจ) 15:47, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

แนะนำว่าลองไปถามที่บอร์ดของเวบทางวิศวกรรม หรือบอร์ดของสภาวิศวกรจะดีกว่า มันเจาะจงเกินไป --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 22:49, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

หิมะ

ทำไมหิมะจึงตก --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.9.190.24 (พูดคุย | ตรวจ) 00:09, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

  • หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส

หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำว่า 0°C (32°F) และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จากเครื่องสร้างหิมะเทียม (snow cannon) --202.28.27.3 14:56, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

ที่หิมะตก เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง (มิเช่นนั้นแล้วหิมะจะลอยอยู่เฉยๆ และไม่ตก) --Wap 17:37, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

หน่วยและสัญลักษณ์

หน่วยในระบบเอสไอของ ระยะทาง แรง พื้นที่ ปริมาตร มวล นำหนัก ความเร่ง โมเมนต์ อุณหภูมิ คืออะไรคืออะไรค่ะ และสัญลักษณ์ต้องเขียนยังไง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.23.120 (พูดคุย | ตรวจ) 03:31, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

ไปดูที่ หน่วยเอสไอ --Octra Dagostino 13:59, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

กล้วยน้ำว้า

ในกล้วยน้ำว้ามีสารประกอบใดที่จะทำให้ร่างกายเกิดการแพ้ได้หรือไม่?

ผู้ถาม : Benja

E-mail : bj_chanprachak@hotmail.com --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.64.22.66 (พูดคุย | ตรวจ) 03:52, 22 ตุลาคม 2551 (ICT)

สารละลายต่อไปนี้มาจากสารใดบ้าง

  1. สุรา
  2. นาก
  3. ทองบรอนซ์ (ทองสำริด)
  4. ทองขาว
  5. เหล็กกล้า
  6. ก๊าซหุงต้ม --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.8.234.247 (พูดคุย | ตรวจ) 07:36, 23 ตุลาคม 2551 (ICT)

ตอบ

  1. สุรา สามารถหาได้ตามร้านโชว์ห่วยทั่วราชอาณาจักรไทย
  2. ร้านขายทอง
  3. โรงหล่อบรอนซ์
  4. โรงหล่อทองขาว
  5. ร้านขายเศษเหล็กก็มี
  6. ร้านแกสไง ถามได้

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 14:45, 23 ตุลาคม 2551 (ICT)

แต่ละอย่างมีบทความอยู่นะครับลองเข้าไปอ่านดู --Octra Dagostino 11:25, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

การเป็นหมอ

หากอยากเป็นหมอมาก แต่ไม่ชอบกลิ่นยา สามารถเป็นหมอได้อีกหรือเปล่า

หมอคือผู้รักษาคนไข้นะครับ ไม่ใช่คนเจียดยา ถึงจะต้องนั่งอยู่กับยาทั้งวัน --Octra Dagostino 11:31, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

เห็นด้วยกับคุณ Octraฯ ครับ เป็นคนละอย่างกันกับเภสัชกร --lovekrittaya but gwperi 11:56, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

คอมพิวเตอร์

โปรแกรมระบบปฏิบัติการมีอะไรบ้าง

คอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

เตรียมโซเดียมคาร์บอเนต 0.200 N เตรียมอย่างไร อยากทราบวิธีการคำนวณหา Normallity --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.121.133.47 (พูดคุย | ตรวจ) 05:56, 25 ตุลาคม 2551 (ICT)
Na2CO3 มี MW = 106 g/mol
                                 N = gram equivalent/L
              เมื่อ     gram equivalent = ปริมาณสารมีหน่วยเป็น g/equivalent weight
              และ equivqlent weight = MW/n equivalent

mix สูตรเลยจะได้คิดง่าย N = [(x)(V)(n equivalent)]/MW ---------เอาสูตรนี้ไปใช้ได้เลย

เมื่อ x = ปริมาณสารที่ต้องชั่งมีหน่วยเป็นกรัม (g)

เตรียม Na2CO3 0.200 N ต้องชั่งสารกี่กรัม สมมติต้องการเตรียม 1 L

                                x =[(N)(MW)]/(n equivalent)(V)
                                x = (0.200)(106)/(2)(1)
                                x = 10.6 g
     ดังนั้นต้องชั่ง Na2CO3 10.6 g ละลายในน้ำกลั่น 1 L --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Usdank (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:25, 26 ตุลาคม 2551 (ICT)

--**

กาแลกซีประกอบด้วยอะไรบ้าง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.170.228.168 (พูดคุย | ตรวจ) 04:41, 26 ตุลาคม 2551 (ICT)

กรดอินทรีย์ที่ได้จากพืชมีอะไรบ้าง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.91.84.14 (พูดคุย | ตรวจ) 08:41, 26 ตุลาคม 2551 (ICT)

ทัศนูปกรณ์

ทัศนูปกรณ์คืออะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 222.123.131.167 (พูดคุย | ตรวจ) 04:13, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

ทัศนูปกรณ์ น. อุปกรณ์ช่วยการเห็น เช่น กล้องโทรทรรศน์กล้องจุลทรรศน์. --Cakra 16:44, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

ยาปฏิชีวนะ ( Penicillin )

ต้องการทราบเกี่ยวกับกระบวนการการผลิตยา Penicillin คะ ว่ามีกระบวนการผลิตยังไง มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมียังไง มีวัฏจักรอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และก็ผลิตจากเชื้ออะไรด้วยน๊ะคะ...ขอความกรุณาช่วยอธิบายให้ละเอียดเลยน๊ะคะ ==


( LISA ) --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.8.91 (พูดคุย | ตรวจ) 08:00, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

ลองดู en:Penicillin นะครับ --Wap 22:49, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

ทองเหลืองมีสารอะไรบ้าง

ทองเหลืองมีสารไรบ้าง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 114.128.168.201 (พูดคุย | ตรวจ) 08:58, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

ดูที่ ทองเหลือง --Cakra 16:41, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

ความเร็วของแสง

ความเร็วของแสงในการวิ่งรอบโลกจะใช้เวลานานเท่าไหรละครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.121.221.80 (พูดคุย | ตรวจ) 11:30, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

ใน ๑ วินาที แสงเดินทางรอบโลกได้เจ็ดรอบครึ่ง โดยประมาณ คุณก็คำนวณย้อนกลับเอาละกันนะครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 01:24, 28 ตุลาคม 2551 (ICT)

ข้อสอบพื้นฐานวิศวฯ ปี ๔๓

 
ใบ้ให้ว่าให้ดูรูปนี้
มีกล่องขนาด กว้าง x ยาว x สูง = 100 x 50x 50 ลูกบาศ์กเซนติเมตร อยู่หนึ่งใบ ถูกนำมาใช้เพื่อบรรจุผลส้มที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 10 เซนติเมตร (สมมติว่าส้มมีขนาดเท่ากันหมด และผลส้มนั้นเกลี้ยงเกลาเป็นทรงกลมทุกลูก)
ถามว่า จะบรรจุส้มลงในกล่องใบนี้ได้มากที่สุด กี่ใบ? เออ
คิดเล่นๆ อย่าคิดมาก
--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 03:32, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

ถ้าเรียงแบบทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจะใส่ได้ 250 ลูก อย่างไรก็ตาม ถ้าเรียงแบบสับหว่างเป็นชั้น พีระมิดสี่เหลี่ยม หรือพีระมิดสามเหลี่ยม จะใส่ได้มากกว่านั้นอีกเพราะที่ว่างลดน้อยลง ไอ้โจทย์ข้อนี้แหละที่ทำผมเสียเวลาโคตร เพราะไม่ได้บอกว่าให้เรียงแบบไหน ซึ่ง 250 ลูกไม่ใช่จำนวนที่มากที่สุด (ถ้าส้มเป็นทรงเหลี่ยมจะไม่บ่นสักคำ) --Octra Dagostino 13:03, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

อืม แนวคิดของออกตามาถูกทางแล้วหล่ะ แต่ยืนยันว่าคำนวณได้ แนวคิด ให้ดูรูปข้างบน ส่วนส้มทรงสี่เหลี่ยมอ่ะ ถ้ามันเป็นงั้น ผมไม่เอามาตั้งคำถามให้เมื่อยหรอก --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 13:40, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

ตอนนั้นผมยังโง่อยู่ครับ ยังคำนวณโครงสร้างสามมิติไม่เป็น (คิดถึง ม.6 ดิ) ส่วนตอนนี้ขี้เกียจครับ ไม่อยากคำนวณตรีโกณมิติ --Octra Dagostino 14:04, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

ไม่เป็นไรครับ รอคนอื่นมาเล่นด้วยดีกว่า (จริงจริงแล้วคำถามมันเล่นทริกด้วยอ่ะ) --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 14:07, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)
เล่นด้วยๆ ทำไมใช้ภาพ CsCl ใบ้ล่ะ - -''
- เนื่องจากส้มไม่ใช่ลูกบอล จึงสามารถเอามาอัดบี้ๆ ให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากได้ หรือถ้าบีบเป็นน้ำส้มใส่กล่องได้ พอทำเนา ก็จะตอบ   ใบ (ส้มมีลักษณนามเป็นลูกไม่ใช่หรือ? โจทย์ว่าใบ เราก็ใบล่ะ)
- หากคำตอบเบื้องต้นกวนส้นเท้าเกินไป ก็จะพบกับความเศร้า
สมมติให้เรียงแบบพีระมิดฐานสี่เหลี่ยมก็แล้วกัน เห็นว่าน่าจะดี จากรูปซีเซียมคลอไรด์ ...
จะพบว่าจุดศูนย์กลางแต่ละชั้นจะสูงห่างกัน   เซนติเมตร (วาดรูปพีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความยาวด้านฐานและความยาวสันทั้งหมดเป็น 10 เซนติเมตร หาส่วนสูงด้วยทฤษฎีบทของพีทาโกรัส (บร๊ะเจ้า))
- สมมติให้ด้าน 50 x 50 ซม. เป็นฐาน
สูง 100 ซม. ก็จะวางได้   ชั้น
ฐานวางส้มได้ 25 ใบ ชั้นซ้อนวางได้ 16 ใบ รวมแล้ววางได้   ใบ
- สมมติให้ด้าน 50 x 100 ซม. เป็นฐาน
สูง 50 ซม. ก็จะวางได้   ชั้น
ฐานวางส้มได้ 50 ใบ ชั้นซ้อนวางได้ 36 ใบ รวมแล้ววางได้   ใบ (โง่ลงเนอะ)
อ่ะ ตอนนี้เห็นว่า 271 ใบดีที่สุดอยู่ เดี๋ยวมาต่อพีระมิดฐานสามเหลี่ยม (หวังว่าจะคิดเลขไม่ผิดนะ)
ว่าแต่ ถ้าเจออย่างนี้ในห้องสอบจริงๆ จะข้าม ไม่งั้นเดี๋ยวอดเป็นวิศวกรแน่ เพราะนี่ก็จิ้มเครื่องคิดเลขเต็มที่ (ผมก็รอผลคะแนนความถนัดทางวิศวกรรมปีนี้อยู่ ไม่รู้จะเป็นยังไง)
--Wap 21:56, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

สนุกแฮะ เฉลยเลยดีไหมเนี่ย ๕๕๕ แต่รอคนอื่นมาเล่นด้วยดีกว่า --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 22:10, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

อย่าเพิ่ง ยังไม่หายมันเลยครับ กำลังคำนวณพีระมิดฐานสามเหลี่ยมอยู่ สนุกดี (ทริกเทริกอะไรไม่สนแล้วครับ จะคำนวณคณิตศาสตร์อย่างเดียว ว่างจัดครับ!) --Wap 22:24, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

ได้ แต่บอกให้นิดนึง ที่ผมพูดว่า ออกตามาถูกมาถูกทางนี่ ไม่ใช่เรื่องวิธีจัดเรียงหรอกนะ แค่ว่า การเรียงเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉากหน่ะมันไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม อีกอย่างที่ออกตาพูดถูก (ในหน้าพูดคุยของเขา)ก็คือ "เรื่องนี้ผมว่าแม่ค้าส้มรู้ดีกว่านักวัสดุศาสตร์ครับ" --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 22:35, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

พีระมิดฐานสามเหลี่ยม ใช้ฐาน 50 x 50 ซม. ได้ 276 ลูก ใช้ฐาน 50 x 100 ซม. ได้ 240 ลูก (โง่จัด) ถ้าจะเอาวิธีคำนวณค่อยบอกนะครับ ขี้เกียจแล้ว 55+
เอ้า ตอนนี้ผมได้ 276 ครับ
พูดถึงทฤษฎีนิดหนึ่ง ในสองมิติ การจัดเรียงแบบสามเหลี่ยมดีที่สุดแน่นอน พิสูจน์ได้ แต่ถ้าจำไม่ผิด ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการจัดเรียงแบบสามมิตินั้น เรียงแบบพีระมิดสามเหลี่ยมดีที่สุดนะครับ (แต่ก็ไม่มีใครหาวิธีที่ดีกว่าได้)
พูดถึงแม่ค้าส้ม ผมเห็นส้มลัง เขาเรียงมาเป็นสี่เหลี่ยม มีกระดาษแข็งคั่นระหว่างชั้นกันกระแทกสวยงาม
--Wap 22:42, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

๕๕๕ จากวิชาวัสดุศาสตร์ การจัดเรียงแบบภาพที่นำมาให้ดู เป็นการจัดเรียงของผลึกที่มีพื้นที่น้อยที่สุดครับผม

ถ้าคุณจัดเรียงเป็นพีรามิดในกล่อง มันก็มีพื้นที่เหลือที่ด้านข้างบานอ้าซ่ะสิครับ (นึกดูเอาเองก็ได้)

พูดมาถึงนี่ละ ก็เฉลยเลยละกัน

วิธีคิดขั้นแรกก็ วางส้มลงไปให้เต็มชั้นที่หนึ่งก่อนก็จะได้ว่า ชั้นแรกมีส้มอยู่ 10 x 5 = 50 ลูก

ชั้นที่สอง เราจะเห็นว่า ส้มในชั้นแรกมีช่องว่างอยู่ ก็ ใส่ลงไปในช่องว่างนั่นซ่ะ (ในภาพคือ ทรงกลมสีแดงไง) ซึ่งเราจะพบว่ามีช่องว่างอยู่ 9 x 4 ช่อง (จริงๆแล้วมันใช้วิธีคิดจากเรื่องความน่าจะเป็นได้อ่ะ ไอ้ C กะ P อะไรนี่แหละ) ทำให้เราใส่ส้มลงไปได้ 36 ลูก

ชั้นแรก เราใส่ไปแล้ว และส้มชั้นแรกก็มีจุดศูนย์กลางสูง 5 ซม ชั้นที่สองมีจุดศูนย์กลางสูงขึ้นมาจากชั้นแรก ประมาณ 7.07 ซม และชั้นที่สามก็จะสูงขึ้นไปอีก 7.07 ซม เช่นกัน

ดังนั้น เราจะเรียงส้มได้ 7 ชั้น (ชั้นแรกกินไปแล้ว 5 เซน ที่เหลือ 45 / 7.07 ประมาณ 6.36 ปัดลงเหลือ 6 ลูก เท่ากับว่า รวมเป็น 7 ชั้น)

ชั้นแรกใส่ได้ 50 ชั้นสอง 36 ชั้นสาม 50 ชั้นสี่ 36 ชั้นห้า 50 ชั้นหก 36 ชั้นเจ็ด 50 รวมเป็น (50 x 4) + (36 x 3) = 308 ลูกครับ

และถ้าคุณคิดแบบวิศวกร คุณจะคิดว่า เราจัดเรียงเพื่อเก็บส้ม และกล่องจะต้องมีฝาปิด ดังนั้น 308ลูกคือคำตอบที่ถูกต้องสำหรับวิศวกร

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณคิดแบบหัวหมอ กูจะใส่ให้ได้เยอะที่สุด คุณจะเรียงต่อชั้นที่แปดดังที่ผมว่า แล้วจากนั้น คุณจะเริ่มการเรียงแบบพีรามิดฐานสี่เหลี่ยม ซึ่งแน่นอนว่า ได้ปริมาณอักโข แต่ไม่ใช่สิ่งที่วิศวกรจะพึงคิดครับผม

สุดท้ายนี้ อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า โจทย์ข้อนี้เป็นโจทย์วิชาพื้นฐานวิศวกรรม ซึ่งวิศวกรนั้น จะคิดถึงการใช้งานเป็นหลักครับ

นอกจากนี้ จะบอกให้ว่า โจทย์พื้นฐานวิศวกรรมรุ่นเก่าๆนั้น (รุ่มใหม่ก็ไม่น่าจะต่างหรอกครับ) ส่วนใหญ่แล้ว มองโจทย์ มองตัวเลือกแล้ว สามารถตอบได้เลยโดยที่ไม่ต้องคำนวณให้เสียเวลาครับ

จุดประสงค์หลักของข้อสอบพื้นฐานวิศวกรรมนั้น ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการวัดความสามารถในการคำนวณของผู้เข้าสอบ แต่เพื่อวัดความเข้าใจ และความสามารถในการประยุกต็ความรู้ไปใช้ของผู้เข้าสอบมากกว่าครับ

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 23:07, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

ดูเหมือนผมจะอธิบายไม่ดีอีกแล้วแหะ เหมือนคราวก่อนเลย
การจัดเรียงแบบที่คุณไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) บอกมา เป็นวิธีที่ผมเรียกว่าพีระมิดฐานสี่เหลี่ยมครับ (ลากเส้นเชื่อมจุดศูนย์กลางส้ม 4 ลูกที่เรียงเป็นสี่เหลี่ยม กับส้ม 1 ลูกที่วางไปบนรูนั้นครับ)
แล้วก็ต้องไม่ลืมนะครับว่า จุดสูงสุดของส้มจริงๆ อยู่เหนือจากจุดศูนย์กลางของส้มชั้นบนสุดไปอีก 5 ซม. นะครับ! ฉะนั้นมันจะเรียงได้แค่   ชั้น นะครับ :D ผมยังยืนยันคำตอบผมอยู่ครับ --Wap 23:25, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)
 
อธิบายการเรียงส้ม
ที่ผมทำ ก็คือเรียงแบบนั้นนั่นแหละครับ ด้านข้างๆ ที่ใส่ส้มได้เต็มลูกก็ใส่ เพียงแต่ว่าโครงสร้างหน่วยย่อยเป็นแบบพีระมิดฐานสี่เหลี่ยม/สามเหลี่ยมน่ะครับ ขอโทษทีที่ไม่อธิบายให้กระจ่าง แล้วก็กล่องผมมีฝาปิดนะ ถ้าเรียงสูงถึง 7 ชั้น จะใช้ตั้ง   ซม. นะครับ จะใช้ความสูงเกินที่ใส่ได้ครับ ดูแผนภาพเอาแล้วกันนะครับ ข้อสอบความถนัดเดี๋ยวนี้น่ะ มองตอบไม่ได้หรอกครับ ต้องเป็นนักคำนวณด้วยครับ :D --Wap 23:47, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

ผมไม่รู้สิ จบมาได้นานแล้ว แต่ข้อปรนัย รุ่นก่อนหลายข้อมองตอบได้

แนวคิดว่าวางเปนฐานสี่เหลี่ยมของเราหน่ะ เราคิดตรงกันแล้วคับ ปัญหาคือการคิดว่ากี่ชั้น

จากภาพที่คุณให้มา มันฟ้องอยู่แล้วว่าชั้นแรกสูง 5 ซม ครับ

แต่ว่า ภาพที่คุณวาดมาหน่ะครับ ที่คุณลงมิติส่วนสูงหน่ะครับ ผม ดูให้ดีๆสิครับ

ดังนั้นต้องเป็น  ชั้นครับผม

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 00:00, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)

ผมบอกว่าให้เพิ่มข้างบนอีก 5 ซม. ครับ ดูแผนภาพสิ ไม่งั้นปิดฝาไม่ลง - -'' --Wap 00:08, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)

เออ จริงแฮะ มัวแต่มองจุดศูนย์กลาง ๕๕๕๕ ลืมคิดถึงส่วนสูงนับจากจุดศูนย์กลางไปถึงข้างบนสุดเลยแฮะ ๕๕๕ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 00:20, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)

ดาวตก

เพราะเหตุใดดาวตกจึงตกมาไม่ถึงพื้นโลก? --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.121.147.33 (พูดคุย | ตรวจ) 04:34, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

มันเสียดสีกับอากาศและลุกไหม้เป็นผุยผงหมดก่อน ที่เราเห็นแสงวาบของดาวตกนั่นแหละคือการลุกไหม้ หากวัตถุใหญ่มากและเผาไม่หมดจะกลายเป็นอุกกาบาต --Octra Dagostino 12:55, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

น้ำขึ้นน้ำลง

ปรากฏกราณ์ธรรมชาติน้ำขึ้น น้ำลงมีลักษณะอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.147.0.44 (พูดคุย | ตรวจ) 14:49, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

ตั้งหัวข้อด้วยนะครับ แบบที่ทำให้ดูนี่น่ะ
น้ำขึ้นน้ำลงมีลักษณะก็คือ น้ำขึ้น ก็คือระดับน้ำทะเลมันสูงขึ้น น้ำลงก็ตรงกันข้าม
เกิดขึ้นเพราะแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ (แรงดึงดูดระหว่างมวล) แนวของโลกที่ตรงกับดวงจันทร์ก็จะเกิดน้ำขึ้น แนวของโลกที่ตั้งฉากกับดวงจันทร์ (อยู่ข้างๆ ไม่ได้หันไปโดน) ก็จะเกิดน้ำลง
--Wap 22:10, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

คำถาม

ถามว่า ทำไมโครโมโซมของสัตว์จึงมี45แท่งช่วยตอบที --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.19.44.122 (พูดคุย | ตรวจ) 04:06, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)

ไม่เป็นเช่นนั้น โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด (species) มีจำนวนไม่เท่ากัน แม้บางชนิดที่บังเอิญมีเท่ากันแต่ก็ไม่อาจผสมข้ามกันได้ --Octra Dagostino 12:37, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)

โอโซน

อาจะถามว่า โลของเรามีช้นโอโซนไหม ใครรู้ช่วยมาออความคิดเห็นหน่อยสิ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.19.44.122 (พูดคุย | ตรวจ) 04:17, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)

โอโซน (O3) เป็นแก๊สที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก โดยปกติแล้วจะเป็นพิษต่อมนุษย์ถ้าแก๊สมีปริมาณที่เข้มข้น อย่างไรก็ตามโอโซนจะแตกตัวให้แก๊สออกซิเจน (O2) ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต --Octra Dagostino 12:34, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)

off-vehicle charging (OVC)

off-vehicle charging (OVC) หมายถึง อะไร --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Pracha thanpaew (พูดคุยหน้าที่เขียน) 10:27, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)