วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/ภาษา/มิถุนายน 2552

คำว่าเฟสติวอลสภาษาอังกฤษเขียนอย่างไรครับ

คำว่าเฟสติวอลสภาษาอังกฤษเขียนอย่างไรครับ --124.120.20.202 10:01, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)

คุณอาจจะหมายความถึง คำว่า festival (เอกพจน์) หรือ festivals (พหูพจน์) (เป็นเพียงการพยายามตีความ เฟสติวอลส ที่คุณเขียนมา ซึ่งอาจจะไม่ใช่คำนี้ก็ได้ครับ ควรกดที่ลิงก์สีฟ้าอ่อน festival แล้วดูว่าใช่คำที่คุณหมายความถึงหรือเปล่า) --lovekrittaya gwperi (พูดคุย) 10:16, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)

ผมเจอปัญหาในการพิมพ์ล้านนาครับ คือบางคำ ที่มีอักษรซ้อน 3 ตัวอะครับ มันพิมไม่ได้ มันเป็นคำที่ไม่ได้ใช้บ่อยครับ ส่วนมากเป็นใน คำบาลีครับ เช่น อิตตวา (อิด-ตวา) ก็ต้อง ใช้ อิ+ต+ต (เขียนข้างล่าง) +ว (เขียนข้างล่าง) แบบนี้ครับ และอีกหลายๆคำ ครับ เจอ ตัว ระฐะ ซ้อน 3 ลงมาก็ยังมีครับ เจอคำผมเองก็คาดไม่ถึงเหมือนกันครับ --58.147.47.27 23:53, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)

ถ้าพิมพ์ไม่ได้ก็วาดเอา เพราะยังไม่มีฟอนต์ยูนิโคดใดที่รองรับตัวเมืองได้ 100% สิ่งที่คุณกำลังพิมพ์อยู่นั้นเป็นการเอารูปร่างของตัวเมืองมาวางทับอักษรไทย ซึ่งแน่นอนไม่สามารถพิมพ์ได้ทุกกรณี --Octra Dagostino 17:50, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)

ทุษยันต์

ทุษยันต์ หมายถึงอะไร และมาจากภาษาอะไรคะ --61.7.145.154 17:08, 8 มิถุนายน 2552 (ICT) ปิศาจแซลมอน

ทุษยันต์ มาจากภาษาสันสกฤต "ทุษฺยนฺต" (दुष्यन्त) เป็นชื่อตัวละครในวรรณคดีอินเดีย สามีของนางศกุนตลา (शकुन्तला) , คำว่า ทุษฺยนฺต มาจาก รากศัพท์ ทุสฺ (√दुस्) หมายถึง ยาก ลำบาก ร้ายกาจ, อนึ่ง दुष्यति ทุษฺยติ หมายถึง ทำผิด, ทำบาป

อ่านเรื่องท้าวทุษยันต์ ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ได้ที่นี่ en:Dushyanta --ธวัชชัย 17:44, 8 มิถุนายน 2552 (ICT)

วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ สะกดว่า "ทุษฺยํต" (दुष्‍यंत) ไม่ทราบว่าอันไหนถูกครับ --Octra Dagostino 17:49, 8 มิถุนายน 2552 (ICT)
ใช้ได้เหมือนกันครับ ในพจนานุกรมสันสกฤตส่วนใหญ่ก็ใช้ นฺ, ในวิกิพีเดียภาษาฮินดีก็เหมือนกัน (hi:दुष्यन्त) --ธวัชชัย 18:56, 8 มิถุนายน 2552 (ICT)
มาจากมหาภารตะ แต่ในภาษาไทยเรายังไม่มีบทความเกี่ยวกับตัวละครนี้ --taweethaも 19:07, 8 มิถุนายน 2552 (ICT)

ปิศาจแซลมอนถามต่อ แล้วความหมายโดยรวมหมายถึงอะไรคะ (? ทำผิด ทำบาป) คือนึกสงสัยจากการอ่านเรื่อง ศิวาราตรีของพนมเทียน น่ะค่ะ ซึ่งในเรื่องนี้มีตัวละครที่ชื่อความหมายไม่น่าจะดีอย่าง ทุคติอยู่ด้วย (เป็นโจรแต่อยู่ฝ่ายดีนะคะ) เลยข้องใจเรื่องการตั้งชื่ออยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะชื่อพระเอกของเรื่อง ทุษยันต์เนี่ย ตกลงแปลว่า ?ผู้ ทำผิดบาป หรือเปล่าคะ ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยตอบข้อสงสัย --61.7.145.154 10:21, 9 มิถุนายน 2552 (ICT)

เจ้าของคำถามเพิ่งมาเฉลย พวกผมพากันออกทะเลไปถึงมหาภารตะ และกำลังจะชวนอ่านชวนแปลภควัทคีตาแล้ว ตอบคำถามก็คือแปลอย่างที่คุณธวัชชัยได้เฉลยไว้ครับ ส่วนจะเป็นคนดีคนชั่วแล้วแต่คนแต่งจะแต่งซิครับ มันไม่จำเป็นต้องเข้ากับตัวละครก็ได้ มีชาดกเรื่อง อหิงสกะ ลองไปอ่านดูได้ครับ ชื่อแปลว่าไม่เบียดเบียน แต่กลับเบียดเบียนน่าดูเลย --taweethaも 09:04, 12 มิถุนายน 2552 (ICT)
ลืมบอกไปครับว่า อหิสกะ ที่กล่าวถึงก็คือ องคุลิมาล อันเป็นต้นเรื่องของพุทธพจน์ที่ว่า อหิงสกะเอ๋ย เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด --taweethaも 11:15, 8 กรกฎาคม 2552 (ICT)

นกกระดาษ

นกกระดาษนี้เมื่อพับครบ9999ดวงจะมีปาฏิหาริย์จริงหรือ --61.7.240.22 11:30, 10 มิถุนายน 2552 (ICT)

เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น สรุปคือ
  • ไม่จริง
  • หรือถึงจะจริง มันก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรง
  • หรืออาจจะเป็นจริงในเนื้อเรื่องของเรื่องที่แต่งขึ้น เช่น ละคร ภาพยนตร์ หรือนิยาย
  • หรือเป็นจริงเพราะอีกฝ่ายที่เป็นเป้าหมาย เปลี่ยนไป หลังเล็งเห็นถึงความพยายามในการพับ เป็นต้น (แต่อีกฝ่ายที่ว่า มักจะมองไปในแง่ร้ายมากกว่า เช่น เห็นเป็นเรื่องไร้สาระ, เสียเวลา, ไม่มีประโยชน์ที่เธอจะทำอะไรแบบนั้น, ไม่มีความจำเป็นที่เธอจะต้องทำมากขนาดนั้น เป็นต้น)

กรณีตัวอย่างอาจดูได้จากคุณซาดาโกะ ซาซากิ ซึ่งท้ายที่สุด ปาฏิหาริย์ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับเธอแต่อย่างใด --115.67.207.151 21:47, 10 มิถุนายน 2552 (ICT)

คำว่าสตรอเบอรี่แปลว่าอะไรครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 114.128.59.60 (พูดคุย | ตรวจ) 18:03, 13 มิถุนายน 2552 (ICT)

เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง en:strawberry แต่ถ้าคนไทยใช้คำนี้หมายถึงคน คงเป็นความหมายที่ไม่ดีนัก... --taweethaも 18:20, 13 มิถุนายน 2552 (ICT)

อาจเป็นศัพท์สแลงที่ไม่น่าจะมีทางทราบได้ว่า ใครคิดและใช้เป็นคนแรกหรือกลุ่มแรก ถ้าใช้กับคน ความหมายคงจะเป็น "เปรี้ยว + ตxแxล" หรือไม่ก็ "หวาน + ตxแxล" หรือแม้แต่ตxแxลเฉยๆ (ขออภัยที่ไม่สุภาพเนื่องจากผู้คิดคำนี้ขึ้นมานั้น คงจะจงใจให้เสียง ตอ พ้องกัน) แต่ที่แน่ๆคำนี้ใช้กับผู้หญิงแน่นอน (ลวดลายสตรอเบอรี สีสตรอเบอรี ตัวสตรอเบอรีเอง มักเกี่ยวข้องกับเพศหญิง) --115.67.144.61 04:49, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)

มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยว่าอะไรครับ

@ (at sign) # (number) $ (dollar sign) ~ (tilde) ` (grave accent) \ (backslash) มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยว่าอะไรคับ --Smoky 16:28, 14 มิถุนายน 2552 (ICT)

@ (แอต) # (นัมเบอร์) ~ (ทิลดี) \ (แบ็กสแลช) คุณจะเห็นว่าทุกเครื่องหมายใช้ทับศัพท์เนื่องจากเครื่องหมายเหล่านี้ไม่มีใช้ในภาษาไทย ส่วน $ (ดอลลาร์) `ไม่รู้ รอท่านอื่นมาตอบ-- atcharakorn 00:28, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)

อาจจะยังไม่มีคำไทยหรือชื่อไทยอย่างเป็นทางการ แต่ในข้อความที่เกี่ยวกับโทรศัพท์มักเรียก # ว่า "สี่เหลี่ยม" นอกจากนี้ เกี่ยวกับเครื่องหมายทับ ก็ยังมีบางคนนิยมเรียก \ ว่า ทับซ้าย หรือ ทับหน้า เรียก / ว่า ทับขวา หรือ ทับหลัง ส่วน ~ แม้จะยังไม่มีชื่อไทยอย่างเป็นทางการ แต่ก็มักถูกเรียกว่า ตัวหนอน ตามลักษณะของมัน --115.67.144.61 04:43, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)

เข้ามาเขียนเพิ่ม (ตอนนั้นไม่ได้ login แฮะ) คำว่านัมเบอร์มีหลายความหมายมาก คนไทยอาจไม่รู้จัก number sign เขาจึงนิยมเรียกว่าสี่เหลี่ยมแทน --lovekrittaya<พูดคุย 11:22, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)

เห็นด้วยกับข้างบนครับ เสริมส่วนที่ไม่เหมือนก้น ~ เห็นเขียนว่า ทิลดา ก็มี ส่วน # บางคนเรียกว่า ชาร์ป แม้ว่าจะไม่ได้ใช้เพื่อความหมายทางดนตรี $ ก็เชียนไปเลยว่า ดอลลาร์ หรือ ดอลลาร์ สรอ. ถ้าเป็น USD --taweethaも 13:10, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)

เลข ในภาษาสเปนแต่ละตัว อ่านและอย่างไรบ้างครับ

อยากรู้อ่ะครับว่าภาษาเนี่ย ตัวเลขมันเขียนยังไงบ้างใครรู้ช่วยหน่อยนะครับ --O๐ArM๐O 20:47, 15 มิถุนายน 2552 (ICT) ARM

  • cero uno dos tres cuatro cinco seis siete ocho nueve diez once doce (0-12)
  • เซโร อูโน โดส เตรส ควอโตร ซิงโก เซส เซียเต ออชโช นูเอเว ดิเอส โอนเซ โดสเซ

[1] --Octra Dagostino 11:13, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)

ด่วนยิ่งชีพพพพ!!!

อยากรู้ว่า งอนหง่อ ในภาษาอีสานแปลว่าอะไรคะ คือ มีนิทานพื้นบ้านของอีสานเรื่องหนึ่งชื่อเรื่องว่า งอนหง่อ อยากรู้จริงๆคะ พรุ่งนี้ต้องไปแสดงละครแข่งขัน ถ้าผู้ใดตอบได้ขอแบบด่วนเลยนะคะ จะเป็นพระคุณล้น >w< --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.90.65.171 (พูดคุย | ตรวจ) 20:39, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)

ขอให้โชคดี --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:40, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
ถ้า search Google เอาเองนี่ น่าจะมีครับ เพราะผมได้ลองsearchดูแล้ว หรือถ้าเอาแบบชัวร์ๆ ก็เข้าเว็บของ"ท่านผู้นั้น" http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp แล้วพิมพ์ค้นหาดู จบ --115.67.22.22 23:21, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)

อักษรธรรมล้านนา

หาตัวอักษรธรรมล้านนาแต๊ๆได้ที่ไหนค่ะ--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 19:40, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)

อักษรธรรมล้านนามีหลายประเภท แบ่งได้ใหญ่ๆ 3 ประเภท คือ 1 อักษรล้านนา (ตั๋วเมือง) ใช้สำหรับ เขียนบทความทั่วไปในชีวิตประจำวัน 2 อักษรธรรมล้านนาขอม ลักษณะคล้ายอักษรเขมร ในสมัยโบราณมักเติมศก เป็นเส้นขีดหยักๆใช้สำหรับ เขียนโคลง วรรณกรรม ต่างๆ ที่ ไม่ใช่ของล้านนาอย่างแท้จริง 3 อักษรธรรมล้านนา เป็นลักษณะเดียวกับ อักษรล้านนา แตกต่างกันบางพื้นที่ แต่ไม่มาก แล้ว ใช้ ตัวเลข เป็น เลขในธรรม ใช้สำหรับเขียน ธรรม โคลง ค่าว หรือ วรรณกรรมพื้นเมือง รวมไปถึง คาถาสวดถอนพื้นเมืองและ ธรรมบาลีอีกด้วย

นอกจากนั้นยังมีอักษรฝักขาม อีกด้วย ซึ่ง พัฒนาการมาจากอักษรขอมอีกที และรวมไปถึง อักษรธรรมต่างๆ อีกหลายประเภท ซึ่งมากมาย ดังนั้นจึงมีการใช้ปนกันไป แต่เป็นส่วนน้อย โดนเลือกอักษรที่เขียนง่ายๆ มาเขียนแทน ดังนั้นในสมัยก่อน จึงนิยมจารธรรมด้วย อักษรธรรมล้านนา เพราะ เขียนง่าย ตัวอักษรพัฒนาจาก อักษรขอม เปลี่ยนเหลี่ยม ให้โค้งมน ขึ้น เพื่อ เลี่ยง การแตกของใบลานเวลาจาร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.69.140.6 (พูดคุย | ตรวจ) 14:13, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)

ถ้าใช้คำว่า อักษรธรรม เฉยๆ จะหมายถึง อักษรธรรมอีสาน ลักษณะคล้าย ตั๋วเมือง แตกต่างกันไม่กี่ตัว อักขรวิธีเช่นเดียวกับ ตั๋วเมือง และรวมไปถึงอักษรพิเศษต่างๆ ข้อยกเว้นต่างๆ นั้น คล้ายคลึงกันมาก

สำหรับ การหา อักษรใดอักษรหนึ่ง ให้ได้ ตัวอักษรจริงๆนั้น คงเป็นไปได้ยากครับ เพราะว่า อักษร ตั๋วเมือง นั้นผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน และเริ่ม หายไป ๆ นั่นย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆมาครับ และก็ ไม่มีกฎตายตัวอย่างที่นักภาษาศาสตร์เค้าว่ากันจริงๆครับ ยกตัวอย่าง ภาษาไทย อังกฤษ เป็นภาษาในปัจจุบัน ที่ยังใช้ในชีวิตประจำวัน ก็ย่อมมี ชุดแบบอักษร (ฟ้อนต์) ต่างๆ มากมาย แต่ที่เป็นสากล มาตรฐานก็ต้องเป็น ฟ้อนต์ราชการ แต่ฟ้อนต์ราชการ นั้นก็มีอยู่ไม่น้อยครับ เป็นเช่นเดียวกันครับ อักษรในภาษาล้านนาก็เหมือนกันครับ แม้แต่อักขระวิธี ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ล้านนา กับ ลานนา ทีนักภาษาศาสคร์หยิบมาเป็นประเด็นว่า ตกลง ล่านนา หรือ ลานนา อันไหนถูก แล้วก็ได้คำตอบชัดเจน ว่า ลานนา เป็น อักขระวิธีแบบเสื่อม (ชื่อแบบนี้จริงๆครับ) ในโบราณไม่นิยม เขียน ไม้ผัด ไม้ซัด หรือ ไม้อะไรต่างๆนานา เขียนเพียงเพื่อพอให้อ่านออกก็เพียงพอ และยังลดเวลา ขนาด พื้นที่วัสดุที่ใช้เขียนได้อีกด้วย แบบว่าเขียนใครเขียนมัน อักขระวิธีแบบเสื่อม นั้นไม่มีแบบแผนแน่นอน แต่ใครถ้าอ่าน ตั๋วเมืองออก ก็ย่อมพออ่านออกครับ เพราะเขียนไม่ครบ อ่านยากมาก และยังมีอักษรพิเศษใช้เยอะมากๆ แบบว่า เดายากมากๆ ต้องดูบริบทข้างเคียงด้วย เช่น ห + สระ อี = เหมี้ยง ร + ไม้ซัด = ฮัก วงกลมมีบวกข้างใน = เวียง อักษรเวียง หายไป 1 มุม = เวียงหวาก เอ (สระลอย) +เอ (สระจม) = จ๊าง (ช้าง) เป็นต้น

คงต้องทำความเข้าใจในเรื่องแบบนี้ก่อนครับ แล้วต่อไปท่านจะพบว่า ภาษาไม่มีกฎตายตัว จริงๆครับ

ณัฐธิชา

ผมอยากทราบความหมายของชื่อครับ ชื่อณัฐธิชา มีคววามหมายว่าอย่างไรครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.146.63.183 (พูดคุย | ตรวจ) 21:56, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)

ณัฐธิชา = หญิงผู้เป็นปราชญ์ --  ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 11:11, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)

อังกฤษ

ใครมีชื่อดอกไม้เป็นภาษาอังกฤษช่วยโพสมาให้หน่อยครับต้องการมาก

--125.25.6.168 12:18, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)

อยากทราบว่าคำว่า holy see มีความหมายว่าอย่างไร คิดว่าจะเกี่ยวกับทางศาสนาคริสต์โดยอาจเป็นตำแหน่งหรือยศอะไรสักอย่าง แต่อยากรู้ความหมายที่เป็นภาษาไทยเลยครับ--Pon'd 15:58, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)

ใช้กูเกิ้ลแปลภาษาคำว่า Holy See ได้คำแปลว่า "ศักดิ์สิทธิ์ดู" ความหมายจริงๆ น่าจะหมายถึงรัฐบาลของนครรัฐวาติกัน มีคำอธิบายอยู่ในบทความหน้านี้แล้ว --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.108.201 (พูดคุย | ตรวจ) 21:54, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)
“สังฆมณฑลศักดิ์สิทธิ์” หรือ Holy See คืออาณาจักรของคริสต์ศาสนาที่ปกครองโดยสังฆราชแห่งโรมหรือพระสันตะปาปา แต่ไม่ใช่นครรัฐวาติกัน (ดูรายละเอียดที่สังฆมณฑลศักดิ์สิทธิ์ (Holy See) ) --Matt 01:43, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)
ดูที่ http://haab.catholic.or.th/history/vatikun.html “THE HOLY SEE” หรือ “THE APOSTOLIC SEE” แปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า “สันตะสำนัก” "see" เป็นคำที่มาจากลาติน "sedes" ซึ่งหมายถึง "seat" หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "บัลลังก์ (ที่นั่ง) " นครรัฐวาติกันก็เสมือนรัฐฝ่ายจิตเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการปฏิบัติภารกิจของสันตะสำนักซึ่งมีพระสันตะปาปาเป็นประมุข ตามความเข้าใจของเรานครรัฐวาติกันคืออาณาจักรฝ่ายกาย และ Holy See คืออาณาจักรฝ่ายจิต สองอาณาจักรเป็นสิ่งเดียวคือ Holy See

อายะ

อยากทราบความหมายของคำว่า อายะ หรืออายะจังคะ ช่วยตอบทีนะคะผู้รู้--222.123.251.135 14:08, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)

คุณอาจหมายถึง http://en.wikipedia.org/wiki/Aya_ (Japanese_name) หรือ ถ้าหากเป็นบุคคลที่ถูกเรียกว่าอายะจัง อาจจะไม่ได้ชื่อจริงชื่อ "อายะ" เฉยๆ แต่อาจจะมีพยางค์อื่นอีกสักพยางค์หนึ่งอยู่ในชื่อก็อาจเป็นไปได้ --202.28.27.3 14:16, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)
ชื่อคนในภาษาญี่ปุ่นเหรอครับ ปกติแล้ว aya ที่เป็นชื่อคนอาจสามารถเขียนได้หลายแบบ มักจะไม่มีความหมาย เช่น 亜郁 亜哉 亜舎 亜谷 亜彩 亜文 ฯลฯ เขียนได้เป็นร้อยแบบ (ข้อมูลจาก WWWJDIC ในส่วน ENAMDICT) จึงไม่แน่ใจว่าจะให้แปลชื่อไหน เพราะคำแปลจะขึ้นอยู่กับคันจิที่ใช้เขียน --Octra Dagostino 14:21, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)

จากบันทึกน้ำตาหนึ่งลิตร 木藤亜也 คิโต อายะ 亜也 【あや】 Aya (f) อ่านออกเสียแบบนี้ไม่มีความหมาย เป็นชื่อผู้หญิงเท่านั้น อ่านอย่างอื่นอาจมีความหมายได้ พอดีได้อ่านหนังสือที่เธอเขียน แม่เธอตอนหนึ่งพูดว่า หนูเกิดใน Aichi-ken แล้วพูดถึงเรื่องความรักอะไรนั่น อันนั้นมีความหมาย แต่จำไม่ได้แน่ว่าแม่เธอกล่าวถึงเรื่องราวของชื่อเธอด้วยหรือเปล่าลองไปหาหนังสือมาดูก็ดีนะครับ --taweethaも 23:34, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)

อายะ เป็นอะไรกับ อาญัติ รึเปล่าครับ ๕๕๕ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 00:11, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)
Ayat เขียนไม่ได้ในภาษาญี่ปุ่น เพราะตามหลักแล้วเสียงในภาษาญี่ปุ่นไม่มีตัวสะกดอื่นนอกจากเสียง ん ดังนั้นถ้าจะต้องการเขียนเสียงว่าอายัด ก็อาจจะต้องเขียนเป็น อายัดโตะ あやっと แทน --taweethaも 14:36, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)
เอ้าตอบจริงเหรอเนี่ย เค้าเล่นมุก (อายัด) --Octra Dagostino 15:08, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)

ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย ได้ความรู้แบบขำ ๆ แบบนี้ ก็ดีไปอีกแบบ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 17:47, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)

ก็เล่นมุกให้ตรงกับภาษาที่กล่าวถึงก็ดีครับ อายะ กับ อายุ เป็นต้น อายุ เขียนได้ あゆ อย่างนี้ไม่มีปัญหา... --taweethaも 18:55, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)

อักขระวิธีขอมไทยและ/หรือขอมบาลี มีการใช้ สะ สองห้อง ไหมครับ --202.69.140.6 10:06, 25 มิถุนายน 2552 (ICT)

มีการใช้ทั้งสองห้อง

และมีการใช้ผสมผสานกัน--58.137.21.31 10:04, 25 สิงหาคม 2552 (ICT) แด่ง--58.137.21.31 10:04, 25 สิงหาคม 2552 (ICT)

คำแปลของฉายาภัททสีโล

คำแปลของฉายา ภัททสีโล --119.42.64.131 10:14, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)

ภทฺทสีโล = ผู้มีศีลอันงาม (มีศีลบริสุทธิ์?) --  ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 10:53, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)

ความหมายของคำว่าปากล้อง

ขอทราบความหมายของคำว่าปากล้องและคำเขียนที่ถูกต้อง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.164.242 (พูดคุย | ตรวจ) 11:41, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)

  • เซิร์ชในกูเกิลคำว่า "ปากล้อง" (ใส่เครื่องหมายคำพูดด้วยจะได้ไม่มีคำอื่นปนออกมา ให้มีแต่ปากล้องที่สะกดแบบนี้) เดาว่าถ้าไม่เพี้ยนมาจากปากร้อง ปาก-ร้อง ก็ไม่น่าจะอ่าน ปาก-ล้อง ครับ แต่น่าจะชื่อปา-กล้องนั่นแหละครับ เดาว่าคงเป็นชื่อเฉพาะของสถานที่หรือเขตการปกครองบางแห่ง ส่วนที่มาของการใช้ชื่อปากล้อง ก็คงขึ้นอยู่กับสถานที่นั้นๆครับ แต่ส่วนตัวผมผมเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นกล้องถ่ายรูปแน่ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่พอสมควร น่าจะเป็นอย่างอื่นที่มีลักษณะที่อาจจะเรียกว่ากล้องได้เสียมากกว่า หรือไม่ก็คำว่าปากล้องนี้อาจจะเป็นการผิดเพี้ยนมาจากคำอื่นมาแต่นมนานแล้วก็เป็นได้ครับ --202.28.27.3 13:43, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)