วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์
37°32′55.9″N 126°54′29.5″E / 37.548861°N 126.908194°E
ชื่อท้องถิ่น | YG 엔터테인먼트 |
---|---|
ชื่อโรมัน | YG enteoteinmeonteu |
ประเภท | มหาชน |
การซื้อขาย | KRX: 122870 |
อุตสาหกรรม | บันเทิง ค้าปลีก |
รูปแบบ | หลากหลาย |
ก่อตั้ง | 24 กุมภาพันธ์ 1996 |
ผู้ก่อตั้ง | ยัง ฮย็อน-ซ็อก |
สำนักงานใหญ่ | เขตมาโพ, , เกาหลีใต้ |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | ยัง มิน-ซ็อก (ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) |
รายได้ | 266.65 พันล้านวอน (2021) |
รายได้สุทธิ | 37.32 พันล้านวอน (2021) |
เจ้าของ |
|
พนักงาน | 678[2] (2010) |
แผนก | นักแสดงและนักดนตรี |
บริษัทในเครือ | วายจีพลัส |
เว็บไซต์ | ygfamily |
เชิงอรรถ / อ้างอิง [3][4][5] |
บริษัทวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ (เกาหลี: YG 엔터테인먼트; อังกฤษ: YG Entertainment) เป็นบริษัทอุตสาหกรรมบันเทิงจากเกาหลีใต้ ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดยยัง ฮย็อน-ซ็อก[6] บริษัทดำเนินธุรกิจเป็นค่ายเพลง ตัวแทนนักแสดง ผลิตเพลง การจัดงานอีเวนต์/คอนเสิร์ต และตัวแทนนักแต่งเพลง บริษัทยังดำเนินกิจการย่อยหลายแห่งภายใต้บริษัทมหาชนที่แยกจากกันคือวายจีพลัส รวมถึงบริษัทจัดจำหน่ายและผลิตสินค้า เสื้อผ้า กอล์ฟ และแบรนด์เครื่องสำอาง[7]
ศิลปินภายใต้สังกัดในปัจจุบันได้แก่ อึน จี-ว็อน, ทูเอนีวัน, อักมิว, วินเนอร์, แบล็กพิงก์, เทรเชอร์ และเบบีมอนสเตอร์ ตลอดจนนักแสดงชายและหญิงอย่าง คัง ดง-ว็อน, ชเว จี-อู, ชา ซึง-ว็อน, อี ซ็อง-กย็อง, จินคย็อง, ยู อิน-นา และพัก ยู-นา
ประวัติ
แก้1996–2005: รากฐานของดนตรีฮิปฮอป, ความนิยมในช่วงเริ่มต้น และเคป็อปยุคแรก
แก้ในเดือนมีนาคม 1996 ยัง ฮย็อน-ซ็อก อดีตสมาชิกของวงดนตรีเคป็อปยุคแรก ซอแทจีแอนด์บอยส์ ได้ก่อตั้งวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ร่วมกับน้องชายของเขา ยัง มิน-ซ็อก[6][8] ศิลปินคนแรกของบริษัทคือ วงดนตรีทรีโอแนวฮิปฮอป คีปซิกซ์ แต่การเปิดตัวของพวกเขาประสบความล้มเหลวกับผลตอบรับ ยังจึงหันไปผลักดันที่ศิลปินคู่ จีนูฌอน[9] และในปี 1998 บริษัทได้เปิดตัววันไทม์ (1TYM) ทั้งสองวงเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จที่ยังให้เครดิตในการนำวายจีและแนวฮิปฮอปไปสู่กลุ่มผู้ฟังกระแสหลักของดนตรีเกาหลี[6]
ในปี 1999 ศิลปินของวายจีออกอัลบั้มร่วมกันภายใต้ชื่อ วายจีแฟมีลี ตามมาด้วยการออกจำหน่ายของศิลปินอย่าง เพร์รี, สวี.ที, บิกมามา, เล็กซี, กัมมี และฮวีซ็อง และยังได้ก่อตั้ง "วายจีอันเดอร์กราวด์" ซึ่งประกอบด้วย 45อาร์พีเอ็ม และสโทนีสกังก์ ในปี 2001 อัลบัมวายจีแฟมีลีชุดที่สองออกจำหน่าย ท่ามกลางผู้คนจำนวนมากยังมี จี-ดรากอน ซึ่งในขณะนั้นอายุ 13 ปี เป็นศิลปินฝึกหัดของบริษัท[10]
บริษัทประสบความสำเร็จทั้งในเกาหลีและญี่ปุ่นด้วยนักร้อง "ไอดอล" คนแรก เซเวน ในปี 2003[11] ซึ่งเป็นศิลปินคนแรกของบริษัทที่พยายามก้าวข้ามไปสู่วงการเพลงสหรัฐ แม้ว่าการเปิดตัวของเขาจะประสบความล้มเหลวก็ตาม[12]
2006–2011: ก้าวเข้าสู่กระแสหลัก
แก้หลังประสบความสำเร็จกับเซเวน วายจีได้ก่อตั้งวงไอดอลครั้งแรกชื่อ บิกแบง ในปี 2006 แม้ว่าผลตอบรับเริ่มแรกจะไม่ดีมากนัก ทว่าปีถัดมา วงก็สามารถก้าวเข้าสู่กระแสหลักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเวลาต่อมาพวกเขากลายเป็นหนึ่งในบอยแบนด์ที่ยิ่งใหญ่และทำเงินมากที่สุดในโลก[14] ตามด้วย ทูเอนีวัน เกิร์ลกรุปวงแรกที่ประสบความสำเร็จของวายจีในปี 2009[15] ก่อนที่จะแยกทางกันในปี 2016 ถือเป็นหนึ่งในเกิร์ลกรุปที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงอย่างกว้างขวางในเกาหลีใต้[16][17] ทั้งสองวงประสบความสำเร็จทางอาชีพในญี่ปุ่นเช่นเดียวกับเซเวน[18][19][20]
ในปี 2010 วายจีทำการย้ายไปยังอาคารใหม่ ขณะที่สำนักงานเก่ากลายเป็นสถานที่ฝึกอบรม[21][22] ในปีเดียวกัน บริษัทประสบความล้มเหลวในการจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ ถูกต้องสงสัยเนื่องจากบริษัทมีกลุ่มดนตรีที่เคลื่อนไหวน้อยและกระแสเงินสดไม่คงที่ แม้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2009 ก็ตาม[23] ในปีนั้นเอง ไซได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัด[24]
2012–2016: การยอมรับในระดับนานาชาติและการขยายธุรกิจ
แก้ในปี 2012 วายจีเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติเมื่อ "คังนัมสไตล์" ของไซ ได้รับความนิยมทั่วโลกในฐานะไวรอลวิดีโอ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม เพลงขึ้นอันดับที่หนึ่งบนชาร์ตไอทูนส์มิวสิกวิดีโอ ถือเป็นครั้งแรกของศิลปินเกาหลีใต้ที่ทำได้[25] วันที่ 24 พฤศจิกายน "คังนัมสไตล์" กลายเป็นวิดีโอที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยูทูบ และเป็นวิดีโอแรกที่มียอดผู้ชมมากกว่าหนึ่งพันล้านครั้ง[26][27] รวมถึงได้รับเครดิตว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หุ้นของวายจีเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 60%[28] ค่ายเพลงยังได้จัดทำรายงานประจำปีฉบับแรกในปี 2012 ด้วยผลกำไรมากกว่า 50%[29] หลังจากเผยแพร่สู่สาธารณะบนคอสแด็ก (KOSDAQ) เมื่อปีก่อน[7]
ในปีเดียวกัน ค่ายเพลงได้เซ็นสัญญากับแร็ปเปอร์และโปรดิวเซอร์ ทาโบล หัวหน้าวงดนตรีฮิปฮอปอย่าง อีพิกไฮ ซึ่งหวนกลับเข้าวงการอีกครั้งหนึ่ง หลังว่างเว้นจากวงการเพลงสองปีในกรณีพิพาทสแตนฟอร์ดของเขา[30] ในเดือนกรกฎาคม 2012 สมาชิกทั้งหมดของอีพิกไฮได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงเป็นระยะเวลา 7 ปี และสิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2018[31][32]
การมีส่วนร่วมมากขึ้นของยัง ฮย็อน-ซ็อก ในรายการแข่งขันทางโทรทัศน์นำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงกับผู้เข้าแข่งขันหลายคน เริ่มด้วยอี ฮา-อี รองชนะเลิศฤดูกาลแรกของ เคป็อปสตาร์[33] ส่วนผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ จะได้รับการลงนามในฐานะสมาชิกที่มีศักยภาพเป็นวงบอยแบนด์ในอนาคต ผู้ชนะเลิศทั้งสอง กลุ่มนักร้องคู่ อักมิว และรองชนะเลิศ พัง เย-ดัม ได้เซ็นสัญญาภายใต้สังกัด[34][35] นอกจากนั้น วายจียังได้เปิดตัวรายการเรียลลิตี วิน: ฮูอิสเน็กซ์ โดยมีศิลปินฝึกหัดชายทั้งสองทีมแข่งขันกันเพื่อเปิดตัวในฐานะบอยแบนด์วงต่อไปของบริษัท บทสรุปของรายการได้แก่ การก่อตั้งของวินเนอร์ในเวลาต่อมา[36]
ในปี 2014 วายจีเข้ายึดบุคลากรและนักแสดงของทีเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งรวมถึง ชา ซึง-ว็อน, อิม เย-จิน และชัง ฮย็อน-ซ็อง[37] นอกจากนั้น การเข้าซื้อกิจการบริษัทโมเดลลิง เค-พลัส ยังทำให้วายจีขยายแผนกการแสดงด้วยการเปิดตัวนักเดินแบบอย่าง อี ซ็อง-กย็อง และนัม จู-ฮย็อก[38] รวมถึงได้เซ็นสัญญากับนักแสดงหญิง ชเว จี-อู ด้วย[39][40][41][42] แอลแคปิตอลเอเชีย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแอลวีเอ็มเอช ผู้ผลิตสินค้าฟุ่มเฟือยในประเทศฝรั่งเศสยังได้ประกาศว่าจะลงทุนสูงถึง 80 ล้านเหรียญสหรัฐกับวายจี โดยแอลแคปิตอลเอเชียซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสิงคโปร์จะกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับสองของบริษัท ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 11.5% ถัดจาก ยัง ฮย็อน-ซ็อก ที่ถือหุ้น 28%[43] ในปีเดียวกัน วายจีขยายไปสู่อุตสาหกรรมความงามด้วยการก่อตั้งแบรนด์เครื่องสำอางชื่อ มูนช็อต[44][45]
ในปี 2015 วายจีลงทุนกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งใหม่ในจังหวัดคย็องกี ซึ่งกำหนดเวลาแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2018[46] อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในโซล มูลค่า 16 พันล้านวอน (14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ถูกซื้อเช่นเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อขยายสำนักงานใหญ่[47] ในปีนั้น บริษัทยังสร้างค่ายย่อยออกเป็นสองค่าย ค่ายแรกนำโดยทาโบล[48] และค่ายที่สองนำโดยเท็ดดี พัก จากวันไทม์ และคูช จากสโทนีสกังก์[49] นอกจากนี้ สมาชิกทีมผู้ที่แพ้จากรายการเรียลลิตี วิน: ฮูอิสเน็กซ์ ถูกนำมารวมกลุ่มอีกครั้งและเปิดตัวภายใต้ชื่อ ไอคอน พร้อมกับกับสมาชิกใหม่[50]
ในเดือนเมษายน 2016 มินจี สมาชิกที่อายุน้อยที่สุดของทูเอนีวัน ประกาศว่าเธอออกจากทูเอนีวันแล้ว วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์แถลงว่ากลุ่มจะยังคงดำเนินต่อไปด้วยสมาชิกสามคน[51][52] อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายน 2016 วายจีประกาศว่าซีแอลและดาราต่อสัญญาของพวกเธอในฐานะศิลปินเดี่ยว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพัก บ็อม ออกจากต้นสังกัดและทูเอนีวันถูกยุบวง[53][54] วันที่ 21 มกราคม 2017 ทูเอนีวันปรากฏเพียงสามคนและออกเพลง "กูดบาย" อันเป็นเพลงอำลาที่ซีแอลเขียนขึ้นหลังจากเธอทราบข่าวการแยกทางของมินจี[55] สิบหกปีหลังจากการยุบวง เชคส์กีส์ บอยแบนด์เคป็อปยุคแรกได้เซ็นสัญญากับบริษัทในเดือนพฤษภาคม 2016 เพื่อกลับคืนอุตสาหกรรมดนตรีอีกครั้ง[56][57][58] ในเดือนเดียวกัน บริษัทเทคโนโลยีจากประเทศจีน เทนเซ็นต์ และเว่ย์อิงเทคโนโลยี ประกาศลงทุน 85 ล้านเหรียญสหรัฐกับวายจี โดยเว่ย์อิงถือหุ้น 8.2% ส่วนเทนเซ็นต์ถือหุ้น 4.5%[59] จากนั้นวายจีได้เพิ่ม อี จง-ซ็อก,[60] คัง ดง-ว็อน[61] และคิม ฮี-ช็อง ในรายชื่อนักแสดง[62] วายจีเปิดตัวเกิร์ลกรุปวงที่สองในปี 2016 ในชื่อ แบล็กพิงก์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ทูเอนีวัน[63] ตามด้วยแร็ปเปอร์ชื่อ ว็อน ในปีถัดมา[64]
2017–2019: เรื่องอื้อฉาว, การโต้เถียง และการแยกทางของศิลปิน
แก้ปลายปี 2017 วายจีร่วมกับเจทีบีซีเปิดตัวรายการเอาชีวิตรอดในชื่อ มิกซ์ไนน์ ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างศิลปินฝึกหัดจากบริษัทต่าง ๆ[65][66] แม้ทีมที่ชนะจะถูกกำหนดให้เปิดตัวเป็นไอดอล[67] แต่วายจีเปิดเผยว่าการเปิดตัวของกลุ่มผู้ชายที่ชนะถูกยกเลิกไปแล้ว[68][69] จากกรณีดังกล่าวนำไปสู่การขาดทุนถึง 7 พันล้านวอนในไตรมาสแรกและ 4 พันล้านวอนในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี 2017[13][70] เป็นเหตุให้เจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์แซงหน้าวายจีในฐานะบริษัทเคป็อปที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับสอง[71]
ในเดือนพฤษภาคม 2018 ไซออกจากบริษัทหลังจากอยู่ร่วมมาแปดปี[72] ในเดือนตุลาคม 2018 ทาโบล สมาชิกวงอีพิกไฮ ประกาศว่ากลุ่มฮิปฮอปของเขาได้ยกเลิกสัญญากับวายจีแล้ว หลังจากอยู่ร่วมมาหกปี[73] เดือนถัดมา วายจีประกาศว่า วายจีเทรเชอร์บ็อกซ์ จะเป็นรายการเอาชีวิตรอดเพื่อกำหนดรายชื่อบอยแบนด์วงต่อไปของบริษัทที่มีกำหนดเปิดตัวในปี 2019[74] ภายหลังยังประกาศว่ารายการนี้จะก่อให้เกิดศิลปินสองกลุ่มคือ เทรเชอร์ และแมกนัม ซึ่งทั้งสองจะมีบทบาทร่วมกันในนาม เทรเชอร์ 13[75]
ในปี 2019 เหตุอื้อฉาวเบิร์นนิงซันเกี่ยวข้องกับซึงรี จากวงบิกแบง ซึ่งเป็นประเด็นอันร้อนระอุและส่งผลให้ซึงรีประกาศออกจากวงการบันเทิงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2019 สืบเนื่องจากคดีความที่มีชื่อของเขา[76] ในขณะเดียวกัน นักแสดงตลก ยู บย็อง-แจ ตัดสินใจออกจากวายจีก่อนสัญญาของเขาจะสิ้นสุดลง ทำให้ชื่อของบริษัทถูกมองในแง่ลบขึ้นไปอีก[77] ต้นเดือนมิถุนายน 2019 บีไอ หัวหน้าวงไอคอน ถูกรายงานว่าเขาพยายามซื้อแอลเอสดีและกัญชาอย่างผิดกฎหมายเมื่อปี 2016 ต่อมาเขาประกาศขอโทษแฟนเพลงและแสดงความรับผิดชอบด้วยการออกจากวงและวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ยัง ฮย็อน-ซ็อก โปรดิวเซอร์ฝ่ายบริหารของวายจี ยังถูกรายงานว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับตำรวจเพื่อปกปิดคดีของบีไอ[78] รวมทั้งถูกกล่าวหาว่าฟอกเงิน เล่นการพนันอย่างผิดกฎหมาย และจัดเตรียมบริการทางเพศให้แก่นักลงทุน[79][80] ด้วยเหตุนี้ ยัง ฮย็อน-ซ็อก จึงลาออกจากตำแหน่งทั้งหมดของเขาในบริษัท เช่นเดียวกับ ยัง มิน-ซ็อก น้องชายของเขาก็สละตำแหน่งผู้บริหารของวายจีเพื่อแสดงความรับผิดชอบในวันที่ 14 มิถุนายน 2019[81][82][83] จากนั้น ฮวัง โบ-กย็อง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารคนใหม่ของวายจีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2019[84] เดือนถัดมา แร็ปเปอร์ชื่อ ว็อน ประกาศว่าเขาแยกทางกับวายจีและได้ก่อตั้งบริษัทเป็นของตนเองแล้ว[85] หลังจากการยุบวงของทูเอนีวันเมื่อปี 2016 ซีแอลประกาศว่าเธอจะไม่ต่อสัญญากับวายจีในเดือนพฤศจิกายน 2019[86] ปลายเดือนธันวาคม 2019 นักร้องและนักแต่งเพลง อี ฮา-อี ประกาศว่าวายจีไม่ใช่ต้นสังกัดของเธออีกต่อไป หลังจากนั้นไม่นานเธอก็ออกอัลบัมใหม่กับเอโอเอ็มจี[87][88]
2020–ปัจจุบัน: การเติบโตและหลังจากนั้น
แก้ในปี 2020 วายจีประกาศแผนการเปิดตัว เทรเชอร์ ซึ่งเลื่อนออกมานับตั้งแต่ปี 2019 อัลบัมเต็มชุดแรกของแบล็กพิงก์และการกลับมาของบิกแบง ท้ายที่สุดถูกเลื่อนออกไปจนถึงปี 2022 พวกเขาคาดว่าจะปรากฏอยู่ที่เทศกาลโคเชลลาในปี 2020 แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[91] ในช่วงครึ่งปีแรก การเติบโตทางการเงินของวายจีเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งเน้นที่แฟนเพลงต่างประเทศเป็นหลัก[92] ความเชื่อมั่นของสาธารณชนภายในประเทศยังไม่ดีนัก แต่รายได้ 70% ของวายจีมาจากแฟน ๆ ในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมแรกของไอคอนนับตั้งแต่บีไอออกจากวงและกิจกรรมของจี-ดรากอน ที่ประเทศจีนในขณะนั้น[93] ในช่วงครึ่งปีหลัง วายจีแสดงแนวโน้มทางการเงินในเชิงบวกเนื่องจากอัลบัมเปิดตัวของเทรเชอร์, อัลบัมเต็มของแบล็กพิงก์, มีโน จากวินเนอร์, กิจกรรมเดี่ยวของยุน และกิจกรรมเดี่ยวของอี ซู-ฮย็อน จากอักมิว แม้มูลค่าจะไม่เป็นไปที่คาดไว้ แต่คาดว่ามูลค่านี้เป็นผลมาจากโควิด-19 ที่ทำให้บางคอนเสิร์ตต้องถูกยกเลิก[94] การก่อสร้างอาคารวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์แห่งใหม่ได้รับการประกาศแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2020 ซึ่งอาคารได้รับเลือกให้เป็นอาคารบริษัทบันเทิงที่หรูหราและแพงที่สุดในเกาหลีใต้[95][96]
ในเดือนมกราคม 2021 มีรายงานว่าบิกฮิตเอนเตอร์เทนเมนต์และบีอีเอ็นเอกซ์ได้ลงทุนกว่า 70 พันล้านวอน (63 ล้านเหรียญสหรัฐ) กับวายจีพลัส บริษัทในเครือของวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 17.9% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในบริษัท การลงทุนดังกล่าวก่อให้เกิดการร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างบิกฮิตเอนเตอร์เทนเมนต์, บีอีเอ็นเอกซ์, วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ และวายจีพลัส ซึ่งจะทำงานร่วมกันในด้านธุรกิจต่าง ๆ อย่างเช่น แพลตฟอร์ม การจัดจำหน่าย เนื้อหา และสินค้า วายจีพลัสเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักสำหรับผลิตภัณฑ์ของไฮบ์คอร์ปอเรชันและบีอีเอ็นเอกซ์ (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ วีเวสคอมปานี) ซึ่งให้บริการด้านเนื้อหาและแพลตฟอร์มสำหรับศิลปินของวายจี[97][98] เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 ตลาดหลักทรัพย์เกาหลีประกาศว่าวายจีถูกลดสถานะจากบริษัทบลูชิปเป็นธุรกิจขนาดกลางทั่วไป บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 1.8 พันล้านวอนและผลตอบแทนผู้ถือหุ้น -0.5% ธุรกิจหลักอย่างการผลิตและการจัดการเพลงของบริษัทประสบปัญหาขาดทุนจากการดำเนินงานในช่วงสองปีที่ผ่านมา[99]
ในปี 2022 วายจีประกาศว่าเทรเชอร์จะกลับมาพร้อมกับอัลบัมใหม่ของพวกเขา[100] โดยมีกำหนดวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2022[101] หลังจากจินอูและซึงฮุนเสร็จสิ้นการเกณฑ์ทหารในเดือนมกราคม 2022 วินเนอร์กลับมารวมกันอีกครั้งและประกาศว่าพวกเขาจะมาพร้อมกับอัลบัมใหม่[102] จากนั้นวายจีได้ประกาศว่ายุนจะออกอัลบัมเดี่ยวในเดือนมีนาคม 2022[103] เทรเชอร์และวินเนอร์จัดคอนเสิร์ตแยกกันในเดือนเมษายน 2022[104][105] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 วายจีประกาศว่าบิกแบงจะกลับมาอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนานกว่าห้าปีและยังประกาศว่า ทีโอพี ยุติสัญญากับบริษัทแล้ว[106] เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2022 ยัง มิน-ซ็อก น้องชายของยัง ฮย็อน-ซ็อก ผู้ก่อตั้งวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้บริหารร่วมในรอบสามปี ร่วมกับฮวัง โบ-กย็อง ผู้บริหารคนปัจจุบัน[107] เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2022 มีการประกาศว่าแทยังและแดซ็องออกจากบริษัทหลังจากอยู่ร่วมมาสิบหกปี โดยแทยังย้ายไปเดอะแบล็กเลเบิล ค่ายย่อยของบริษัท ส่วนแดซ็องกำลังมองหาต้นสังกัดใหม่อยู่ และยังกล่าวว่าทั้งคู่ยังคงเป็นสมาชิกบิกแบง จากนั้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2022 วายจีประกาศว่าสมาชิกทั้งหมดของไอคอนไม่ต่อสัญญากับบริษัทหลังจากอยู่ร่วมมาเจ็ดปี ภายในวันเดียวกัน วายจียังเปิดตัวเกิร์ลกรุปวงใหม่ในรอบเจ็ดปีชื่อ เบบีมอนสเตอร์[108]
ศิลปิน
แก้ศิลปินเพลงทั้งหมดภายใต้สังกัดวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ถูกรวมอยู่ในวายจีแฟมีลี (YG Family) ขณะที่นักแสดงถูกรวมอยู่ในวายจีสเตจ (YG Stage)[109][110]
ศิลปินในสังกัด
แก้
กลุ่ม
|
ศิลปินเดี่ยว
|
โปรดิวเซอร์เพลง
|
ศิลปินอิสระ
แก้นักแสดง
แก้- ชา ซึง-ว็อน
- ชเว จี-อู
- คลอเดีย คิม
- ฮัน ซึง-ย็อน[a]
- ชัง ฮย็อน-ซ็อง
- ชัง กี-ยง[b]
- เจนนี
- จินกย็อง
- ช็อง ฮเย-ย็อง
- จู อู-แจ[a][b]
- คัล โซ-ว็อน
- คัง ฮี
- คัง ซึง-ยุน
- คิม ฮี-แอ
- คิม ฮย็อน-จิน[b]
- คิม จี-ซู
- คว็อน ฮย็อน-บิน[a][b]
- กย็อง ซู-จิน
- อี โฮ-ช็อง[b]
- อี จู-มย็อง
- อี กี-แท็ก
- อี ซู-ฮย็อก[a]
- อี ซ็อง-กย็อง
- นัม กยู-ฮี[b]
- พัก ฮย็อง-ซ็อบ[b]
- พัก โซ-อี
- พัก ยู-นา
- ซอ จ็อง-ย็อน
- ชิม ย็อง-อึน
- ซน นา-อึน
- วัง อี-จุน
- ยู อิน-นา
- ยู ซึง-โฮ
อดีตศิลปินและนักแสดง
แก้อดีตศิลปิน
แก้- คีปซิก (1996)[123]
- จีนูฌอน (1997–2020)[c]
- วันไทม์ (1998–2006)[d]
- แมสตา อู (2000–2016)[124]
- สวี.ที (2002–2005)[125]
- ฮวีซ็อง (2002–2006)
- กัมมี (2003–2013)
- บิ๊กมาม่า (2003–2007)
- เซเวน (2003–2015)
- ดิจิทัลแมสตา (2003–2011)[126]
- เล็กซี (2003–2007)
- สโทนีสกังก์ (2003–2008)
- เอกซ์โอ (2003–2004)
- วอนเทด (2004–2006)[127]
- เบรฟ บราเทอส์ (2004–2008)
- 45อาร์พีเอ็ม (2005–2008)[128]
- โซลสตาร์ (2005–2007)[128]
- บิกแบง (2006–2024)[e]
- จีดีแอนด์ท็อป (2009–2022)[f]
- จีดีเอกซ์แทยัง (2014–2023)[g]
- ทูเอนีวัน (2009–2016)[134]
- ไซ (2010–2018)
- อี ฮา-อี (2012–2019)[138]
- อีพิกไฮ (2012–2018)
- วินเนอร์
- นัม แท-ฮย็อน (2014–2016)[139]
- ไฮแกรนอาร์ติสต์ (2015–2018)[h]
- บ็อมแอนด์ไฮ (2014–2017)
- ไฮซูฮย็อน (2014–2019)[i]
- ช็อง แจ-ว็อน (2015–2019)[140]
- เคที (2015–2018)[141]
- ไอคอน (2015–2022)[142]
- เชคส์กีส์
- คัง ซ็อง-ยุน (2016–2019)[145]
- เอ็มโอบีบี (2016–2019)[j]
- เทรเชอร์
- มาชิโฮะ (2020–2022)[146]
- พัง เย-ดัม (2020–2022)[146]
- แบล็กพิงก์[k]
- Zayvo (2019–2020)
- บูล.ดี (2019–2020)[148]
- อันดา (2018–2021)[149]
- บีนี (2019–2024)[150]
อดีตนักแสดงชาย/หญิง
แก้- พัก ฮัน-บย็อล (2002–2004)[128]
- ช็อง ซ็อง-อิล (2009–2011)[128]
- ฮอ อี-แจ (2009–2011)[128]
- คัง ฮเย-ช็อง (2001–2013)
- สเตฟานี อี (2014–2017)[151]
- อี ยง-อู (2014–2017)
- คู ฮเย-ซ็อน (2003–2017)
- ช็อง ยู-จิน (2016–2018)
- อี จง-ซ็อก (2016–2018)
- โก จุน-ฮี (2017–2019)
- โอ ซัง-จิน (2017–2019)
- คิม ฮี-จ็อง (2016–2019)
- คิม แซ-รน (2016–2019)
- อิม เย-จิน (2014–2019)
- วัง จี-ว็อน (2018–2020)
- นัม จู-ฮย็อก (2013–2020)
- ดารา (2009–2021)
- ซน โฮ-จุน (2016–2021)
- โช ฮเย-จู (2017–2021)
- อี จี-นี (?–2021)
- ช็อง ยุน-ซ็อก (2019–2022)[a]
- กว็อน ฮัน-ซ็อล (2019–2022)[a]
- อี ฮย็อน-อุก (?–2022)[b]
- อี อู-เจ (ป. 2020–2022)
- พัก ซู-ย็อน (?–2022)
- พัก แท-อิน (2019–2022)[a]
- ซอ อี-ซอ (?–2022)
- คัง ดง-ว็อน (2016–2022)
อดีตนักแสดงตลก
แก้- ยู บย็อง-แจ (2015–2019)
- แอน ยัง-มี่ (2015–2020)
เชิงอรรถ
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 transferred from YGX, which its actors division was defunct due to focusing only on the dance group.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 as well as part of YGKPlus
- ↑ While no official disbandment was announced, Jinusean's artist profile was removed in 2020, signifying the group is no longer active under the label.
- ↑ While no official disbandment was announced, 1TYM's artist profile was removed in 2014, signifying the group is no longer active under the label.
- ↑ While no official disbandment was announced, Bigbang's artist profile was removed in 2024, signifying the group is no longer active under the label.
- ↑ While no official disbandment was announced, GD & TOP's artist profile was removed in 2022, signifying the group is no longer active under the label.
- ↑ While no official disbandment was announced, GD X Taeyang's artist profile was removed in 2023, signifying the group is no longer active under the label.
- ↑ Artists: Hyukoh, Punchnello, OffonOff, Incredivle, The Black Skirts, Idiotape
Producers: Code Kunst & Millic - ↑ While no official disbandment was announced, Hi Suhyun's artist profile was removed in 2019, signifying the group is no longer active under the label.
- ↑ While no official disbandment was announced, MOBB's artist profile was removed in 2019, signifying the group is no longer active under the label.
- ↑ Despite all 4 members no longer being under YG, they still promote as Blackpink under the label.
อ้างอิง
แก้- ↑ "YG Entertainment Inc. (A122870)". July 17, 2024. สืบค้นเมื่อ July 17, 2024.
- ↑ Shim, Sun-ah; Lee, Eun-jung. "(Yonhap Interview) After 'successful' 20 years, YG Entertainment to keep pursuing refined music: CEO". Yonhap News. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
- ↑ [와이지엔터테인먼트] 연결재무제표 기준 영업(잠정)실적(공정공시) [[YG Entertainment] Sales (provisional) performance based on consolidated financial statements (fair disclosure)] (ภาษาเกาหลี). November 11, 2021. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ "YG Entertainment Major Stockholders". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2021. สืบค้นเมื่อ May 24, 2021.
- ↑ Shim, Sun-ah; Lee, Eun-jung. "(Yonhap Interview) After 'successful' 20 years, YG Entertainment to keep pursuing refined music: CEO". Yonhap News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "YG is different". The Korea Times. April 17, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 11, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ 7.0 7.1 Song, Su-hyun (August 15, 2016). "[KOSDAQ Star] Strong Japanese partner to defend YG from THAAD risk". The Korea Herald. สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.
- ↑ Kim, JiYeon (May 19, 2012). "KPOP NEWS - The History of Yang Hyun Suk and YG: From ′Boy′ to ′CEO′ (Pt. 1)". Mwave. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "JinuSean (지누션)". KBS World Radio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-26. สืบค้นเมื่อ 2016-05-30.
- ↑ "G-Dragon - 내 나이 열셋 (My Age is 13) Full MV". YouTube. April 25, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2014. สืบค้นเมื่อ March 11, 2015.
- ↑ Lee, Nancy (March 21, 2013). "KPOP NEWS - [K-Pop Battle] Se7en vs. Rain". Mwave. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "K-Pop Idols And The Formidable American Debut - KultScene". KultScene (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). October 21, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ 13.0 13.1 Park, Ga-young (May 30, 2018). "YG Entertainment, fly or fail?". The Investor (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2018. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
- ↑ "Big Bang's Global Influence: How to Build a Boy Band That Lasts". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2015.
- ↑ (ในภาษาเกาหลี) Kim, Hyeong-wu. 2NE1 아이돈케어 ‘힙합전사에서 귀여운 여인 깜짝 변신’ (2NE1's "I Don't Care" "Swift Change from Hip-Hop Warriors to Sweet Girls") เก็บถาวร กันยายน 13, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. IS Plus/Newsen. July 1, 2009. Retrieved September 4, 2009.
- ↑ Herman, Tamar (July 12, 2017). "10 Best K-Pop Girl Groups of the Past Decade: Critic's Picks". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2019. สืบค้นเมื่อ October 5, 2017.
- ↑ Liu, Marian (February 17, 2017). "K-pop's growing pains: Why Asia's biggest bands are splitting up". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2019. สืบค้นเมื่อ October 5, 2017.
- ↑ "53rd Japan Record Award winners". Tokyograph. November 20, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2012. สืบค้นเมื่อ February 12, 2012.
- ↑ "AKB48 wins 53rd Japan Record Award". Tokyograph. December 30, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2012. สืบค้นเมื่อ February 12, 2012.
- ↑ Shamdasani, Pavan (November 9, 2009). "How to Crack Japan: The Big Bang Theory". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2012. สืบค้นเมื่อ January 13, 2010.
- ↑ "YG엔터, 사옥 확장 위해 160억원에 부동산 매입". 네이트뉴스 (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
- ↑ "YG Entertainment Moving to Own Company Building". HanCinema (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Korean entertainment firms fail to go public". koreatimes. January 5, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 11, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Psy reveals the reason why he joined YG Entertainment". dkpopnews.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2012. สืบค้นเมื่อ October 26, 2012.
- ↑ "The world's first global Korean pop star". 4Music.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2012. สืบค้นเมื่อ November 8, 2012.
- ↑ "'Gangnam Style' Most Watched YouTube Video Ever". ABC News. November 29, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2012. สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
- ↑ "Psy Reflects On Fifth Anniversary of 'Gangnam Style': 'I Still Don't Know Why It Was So Special'". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2017. สืบค้นเมื่อ October 28, 2017.
- ↑ Cha, Seonjin. "Psy's 'Gangnam Style' Hits 1 Billion Views on YouTube". Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2012. สืบค้นเมื่อ December 23, 2012.
- ↑ "Has Psy's 'Gangnam Style' Helped Double Daddy's Stock?". Yahoo Finance. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ Kim, JiYeon (November 15, 2011). "KPOP NEWS - Why Did YG Entertainment Sign Tablo and Psy?". Mwave. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2016. สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.
- ↑ Sunwoo, Carla (2012-07-27). "Epik High to make comeback". Korea Joongang Daily. สืบค้นเมื่อ 2016-07-07.
- ↑ Lee Min-young (October 3, 2018). "Hip-hop trio Epik High leaves YG Entertainment". koreatimes.co.kr (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ May 1, 2019.
- ↑ "KPOP NEWS - [Interview] What Lee Hi Wants from YG and Yang Hyun Suk". Mwave. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2014. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Why did Akdong Musician choose YG Entertainment?". Allkpop. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "YG Entertainment Signs On the 12-Year Old Bang Yedam from 'K-Pop Star Season 2'website=Ningin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 4, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Meet WINNER: K-Pop's Exciting New Boy Band". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ enews24 전수미 기자 (January 20, 2014). "차승원, YG패밀리 됐다…싸이·빅뱅과 한솥밥" [Cha Seung Won becomes YG family... labelmates with Psy and Big Bang]. enews24 (ภาษาเกาหลี). enews24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2014. สืบค้นเมื่อ February 18, 2014.
- ↑ "YG Entertainment forms a strategic partnership with model management company K PLUS | allkpop.com". www.allkpop.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Choi Ji Woo Signs with YG Entertainment". enewsWorld. February 26, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2014. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
- ↑ "Actress Choi Ji-woo joins YG Entertainment". The Korea Herald. February 27, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
- ↑ "Actress Choi Ji-woo Joins YG Entertainment". 10Asia. February 26, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2014.
- ↑ "Hallyu icon joins YG Family". Korea JoongAng Daily. February 27, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
- ↑ Mok, Fei Fei (September 13, 2014). "L Capital Asia, YG Entertainment exploring potential tie-ups". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
- ↑ "YG Entertainment to unveil cosmetics brand 'moonshot' with a launching party | allkpop.com". www.allkpop.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Check Out Korea's Hottest New Beauty Brand". Refinery29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ Steven Koh (January 17, 2015). "YG Entertainment To Invest Nearly $100 Million Into K-Pop Culture Venue". Kpopstarz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2015. สืบค้นเมื่อ January 18, 2015.
- ↑ "YG Entertainment Invests 16 Billion Won Into Expanding Headquarters". news.nate.com. July 7, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ September 25, 2015.
- ↑ "Epik High to Start Their Own Label Backed By YG Entertainment and Headed by Tablo". Naver. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ September 25, 2015.
- ↑ "[단독]테디·쿠시, YG독립 레이블 만든다..양현석 직접 기획". entertain.naver.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ May 16, 2016.
- ↑ "YG Entertainment confirms iKON is indeed making their debut in September! | allkpop.com". www.allkpop.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Member Gong Minzy to leave 2NE1". kpopherald.koreaherald.com.
- ↑ Herman, Tamar (April 5, 2016). "K-Pop Group 2NE1 Becomes Trio Following Departure of Minzy". Billboard.
- ↑ Herman, Tamar (November 27, 2016). "2NE1 Officially Disbands, YG Entertainment Renews Contracts With CL and Dara". Billboard.
- ↑ "YG "2NE1, 7년만 공식 해체…박봄 재계약 NO"(공식입장 전문)". entertain.naver.com.
- ↑ Herman, Tamar (January 5, 2017). "2NE1 To Release Final Single Before They Disband". Billboard.
- ↑ Network, The Korea Herald/Asia News (May 12, 2016). "Sechs Kies inks contract with YG Entertainment". entertainment.inquirer.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2016. สืบค้นเมื่อ May 16, 2016.
- ↑ "젝스키스, YG서 빅뱅과 같은 대우조건 받는다". 인사이트 (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2016. สืบค้นเมื่อ May 16, 2016.
- ↑ "KPOP NEWS - Sechs Kies Officially Joins YG Entertainment | Mwave". mwave.interest.me. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2016. สืบค้นเมื่อ May 16, 2016.
- ↑ Frater, Patrick (May 31, 2016). "China's Tencent and Weiying Take $85 Million Stake in Korea's YG Entertainment". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ June 1, 2016.
- ↑ Herald, The Korea (May 10, 2016). "Actor Lee Jong-suk signs with YG". www.koreaherald.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ Son, Ji-hyoung (January 18, 2016). "YG clinches contract with Kang Dong-won". K-pop Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2016. สืบค้นเมื่อ May 10, 2016.
- ↑ Cho, Na-young; Lee, Jae-ha (May 23, 2016). "'꼭지-원빈조카' 김희정, YG와 전속계약 '새출발'". OSEN (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2016. สืบค้นเมื่อ May 23, 2016.
- ↑ "YG 새 걸그룹, '블랙 핑크' 이름의 뜻은?[YG 새 걸그룹 최종발표③]". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2017. สืบค้นเมื่อ June 29, 2016.
- ↑ "YG's solo artist One debuts with 'One Day'". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2017. สืบค้นเมื่อ October 28, 2017.
- ↑ "Watch: YG drops star-studded Mix Nine trailer". SBS PopAsia (ภาษาอังกฤษ). October 24, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2017. สืบค้นเมื่อ October 28, 2017.
- ↑ "Yet another idol competition show unveiled in South Korea". AsiaOne. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2017. สืบค้นเมื่อ October 28, 2017.
- ↑ 뉴스, JTBC (November 15, 2017). "'믹스나인' 대국민 투표 프로모션 영상 공개! 소년X소녀 '9'해줘" (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 25, 2017.
- ↑ "우진영 측 "'믹스나인' 데뷔 무산 맞다, 연습생으로 복귀"". Newsen (ภาษาเกาหลี). May 2, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
- ↑ "[공식입장 전문] YG측 "'믹스나인' 데뷔 무산, 6곳 기획사와 협의 끝 결정..죄송"". OSEN (ภาษาเกาหลี). Naver. May 3, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
- ↑ Park, Jeong-yeob (February 23, 2018). "Uncertainties lie ahead" (PDF). Mirae Asset Daewoo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
- ↑ Herman, Tamar. "TWICE Leads JYP Entertainment To Become No. 2 K-Pop Agency". Forbes (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2018. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
- ↑ "[공식입장 전문] YG, 싸이와 8년만에 전속계약 종료.."아름다운 이별"". entertain.naver.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2020. สืบค้นเมื่อ May 1, 2019.
- ↑ "Epik High on Going Independent and the State of the South Korean Music Industry". www.forbes.com. สืบค้นเมื่อ 2022-03-12.
- ↑ OSEN (2018-09-20). "[공식입장] YG "新보이그룹 준비? 신인 나오는 것은 당연한 일"". mosen.mt.co.kr (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-09-07.
- ↑ "양현석 "트레저7인+매그넘6인='트레저13'으로 13인조 데뷔"". spotvnews.co.kr (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.
- ↑ "Sex, money and drugs: The controversy that ended Seungri's career explained". Korean Herald. March 14, 2019. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Lee Min-young (May 21, 2019). "Comedian Yoo Byung-jae to leave scandal-ridden YG". Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Ock Hyun-ju (June 13, 2019). "Witness accuses YG of collusion with police". Korean Herald. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Tamar Herman (August 29, 2019). "K-Pop Mogul Yang Hyun-suk Questioned by Seoul Police on Gambling, Sexual Service Allegations". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Jon Blistein (June 25, 2019). "Yang Hyun-suk, Head of K-Pop Giant YG Entertainment, Resigns Amid Scandals". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Kim Sohee; Kang Shinye (June 14, 2019). "K-Pop Agency YG's Founder Quits as Artists Accused of Drug Use". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Kim Arin (June 14, 2019). "Yang quits as YG chief amid growing suspicions of drug offense cover-up". Korean Herald. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Tamar Herman (June 14, 2019). "YG Entertainment Founder Yang Hyun-Suk Leaves K-Pop Company Amid Turmoil". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ "YG Entertainment Appoints New CEO and Addresses Scandals". E! Online (ภาษาอังกฤษ). June 21, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2019. สืบค้นเมื่อ July 7, 2019.
- ↑ "[인터뷰②] '굿바이썸머' 정제원 "YG와 계약 만료..1인 기획사 계획"". isplus.live.joins.com (ภาษาเกาหลี). July 17, 2019. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Jin Hyang-hee (November 8, 2019). "씨엘, 결국 YG 떠난다…"전속계약 종료 합의..각별한 마음으로 응원"[공식입장]". news.naver.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ "YG 측 "이하이와 전속계약 종료, 서로 앞날 응원하기로"(공식)". Newsen (ภาษาเกาหลี). December 31, 2019. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ "이하이, AOMG와 전속계약 체결…전격 영입 발표 [공식]". sport.donga.com (ภาษาเกาหลี). July 22, 2020. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Yoon, So-yeon (October 26, 2020). "Blackpink becomes first-ever million-selling K-pop girl group". Korea Joongang Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2020. สืบค้นเมื่อ October 30, 2020.
- ↑ "BLACKPINK breaks record again". The Independent (ภาษาอังกฤษ). October 26, 2020. สืบค้นเมื่อ October 30, 2020.
- ↑ Yim Hyun-su (January 9, 2020). "After terrible year, YG hopes to turn things around in 2020". Korean Herald. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Hazell Lee (December 18, 2020). "YG Entertainment: Securing Fandom". businesskorea.co.kr. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Hazell Lee (May 14, 2020). "YG Entertainment: Global Demand Stands out even amid Hardship". businesskorea.co.kr. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Sung Jung-won; Hanny Lee (August 12, 2020). "YG Entertainment: 2020 Marks Start of Recovery". businesskorea.co.kr. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "YG엔터, 신사옥 이전 시작…"팬들 위한 독립 공간 마련" [공식]" (ภาษาเกาหลี). September 23, 2020. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "YG, 합정 사옥 2000억원…하이브, 월세 17억원 '통임차' (연중라이브)[종합]". xportnews.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ Choi Jiwon (January 31, 2021). "Big Hit partnership with Naver, YG Plus a win-win for entertainment industry". Korean Herald. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "빅히트 측 "YG에 700억 규모 투자 단행, 음반음원 유통 사업 협업"(공식)" (ภาษาเกาหลี). January 27, 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ Choi Pil-woo (May 6, 2021). "SM·YG '우량→중견기업' 강등, JYP 홀로 '굳건'". The Bell (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2021. สืบค้นเมื่อ May 15, 2021.
- ↑ "트레저, YG 새해 첫 컴백 확정..'커밍순' 포스터 공개". mosen.mt.co.kr (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "From TREASURE to Apink, a wave of K-pop stars to drop new songs next month". Korea Times. January 21, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "위너 완전체 예고에 팬들 환호". gukjenews.com. January 18, 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "위너 강승윤, 솔로 타이틀곡은 'BORN TO LOVE YOU'". joynews24.com (ภาษาเกาหลี). March 4, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "위너, 2년 만에 완전체 콘서트…온라인 동시 진행". yna.co.kr. February 18, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ Hwang You-mee (February 7, 2022). "[Today's K-pop] Treasure to host 1st concert in April". Korean Herald. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "YG "빅뱅, 올봄 신곡 발표 예정…탑 전속계약 종료" [공식]". February 7, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "YG Entertainment founder's younger brother reinstated as co-CEO". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). 1 July 2022.
- ↑ Suacillo, Angela Patricia (December 30, 2022). "YG Entertainment to debut new girl group in 2023". NME (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2023. สืบค้นเมื่อ December 30, 2022.
- ↑ "YG Family artists list". YG Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-02. สืบค้นเมื่อ September 7, 2020.
- ↑ "YG Family actors list". YG Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-12. สืบค้นเมื่อ September 7, 2020.
- ↑ "2NE1′s CL Reveals How She and Teddy Came Up With ′The Baddest Female′". MWAVE. June 9, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2014. สืบค้นเมื่อ October 26, 2014.
- ↑ "Before the Album". Complex. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-25. สืบค้นเมื่อ October 26, 2014.
- ↑ "SECHSKIES's first new song was jointly written by TABLO and FUTURE BOUNCE who wrote BLACKPINK's "WHISTLE"". Complex. August 31, 2016. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "iKON's New Title Song "B-DAY" is Composed and Written by B.I and BOBBY". YG Life. May 19, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "WINNER to Release New Songs Until the End of This Year and Its Second Title Track is "FOOL"". YG Life. March 29, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "Lydia Paek, songwriter for BigBang and 2NE1, is also a singer with a big voice". Strait Times. July 10, 2015. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "The Making of G-Dragon's "Coup D'Etat"". Complex. September 10, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-25. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "Update: YG Rapper ONE Announces Release Date Of First MV Teaser In New Teaser Image". Soompi. June 25, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-29. สืบค้นเมื่อ July 7, 2017.
- ↑ "iKON confirmed "WHAT'S WRONG?" as one of the double title tracks for their new album… Written by B.I and BOBBY". YG Life. December 18, 2015. สืบค้นเมื่อ July 7, 2017.
- ↑ "전소미, JYP 떠나 YG '더블랙레이블' 손잡나…"확인 중"". Naver (ภาษาเกาหลี). September 23, 2018. สืบค้นเมื่อ September 23, 2018.
- ↑ "Talented Producer Peejay to Join YG Entertainment's 'The Black Label'". July 27, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ "Here Comes The Black Label". thekhoployalist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-02. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 30, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "YG "최근 마스타우 떠났다, 향후 음악활동 응원" 공식입장" (ภาษาเกาหลี). xsportsnews. January 8, 2016. สืบค้นเมื่อ January 8, 2016.
- ↑ "Yang Hyun Suk opens up about how his relationship with wife Lee Eun Joo began". allkpop.
- ↑ "Dok2, Masta Wu, Sojin, and Digital Masta to release collaboration track, "Finale"". November 27, 2014.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2017. สืบค้นเมื่อ November 3, 2017.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 128.0 128.1 128.2 128.3 128.4 "FORMER MEMBERS (WAS IN YG)". June 21, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ "[공식] YG 측 "승리와 전속계약 종료..아티스트 관리 못한 점 인정·반성" [전문]". 다음 연예. March 13, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2019. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
- ↑ "YG "빅뱅, 올봄 신곡 발표 예정…탑 전속계약 종료" [공식]". Mydaily. February 7, 2022. สืบค้นเมื่อ February 7, 2022.
- ↑ Yang, Haley (December 26, 2022). "Big Bang's Taeyang to change management to YG affiliate The Black Label". Korea JoongAng Daily. สืบค้นเมื่อ December 26, 2022.
- ↑ "Following Taeyang, Daesung also leaves YG". Edaily. December 26, 2022. สืบค้นเมื่อ December 26, 2022.
- ↑ "G-Dragon departure from YG Entertainment sends stock prices tumbling". Lifestyle Asia Hong Kong (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-10-01.
- ↑ "K-pop girl band 2NE1 breaks up". November 25, 2016. สืบค้นเมื่อ December 5, 2016.
- ↑ "'2NE1'에 대한 공식 입장". YG Entertainment. April 5, 2016. สืบค้นเมื่อ April 5, 2016.
- ↑ Doo, Rumy (April 5, 2016). "Member Minzy to leave 2NE1". Kpop Herald. สืบค้นเมื่อ April 5, 2016.
- ↑ Son Ji-nah (May 14, 2021). "산다라박, YG엔터테인먼트와 전속계약 만료(전문)[공식]". Maekyung Sports (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2021. สืบค้นเมื่อ May 14, 2021.
- ↑ "YG 측 "이하이와 전속계약 종료, 서로 앞날 응원하기로"(공식)" (ภาษาเกาหลี). December 31, 2019.
- ↑ "YG "위너 남태현 탈퇴 확정, 4인조 재편"(공식입장 전문)". สืบค้นเมื่อ December 5, 2016.
- ↑ 박정선 기자 (July 17, 2019). "[인터뷰②] '굿바이썸머' 정제원 "YG와 계약 만료..1인 기획사 계획"" (ภาษาเกาหลี). Naver. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ 홍승한. "[단독]'K팝스타4' 우승자 케이티김, YG와 결별…현재 데뷔 준비 중". n.news.naver.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
- ↑ Song, Min-joo (December 30, 2022). "Dong-wan and iKon are leaving YG Entertainment…the YG craze?" (ภาษาเกาหลี). Naver. สืบค้นเมื่อ December 30, 2022.
- ↑ Yim, Hyun-su (June 12, 2019). "B.I quits iKON over attempted drug purchase" (ภาษาอังกฤษ). The Korea Herald.
- ↑ 144.0 144.1 144.2 144.3 144.4 144.5 Song, Min-joo (December 30, 2022). "강동원, 아이콘도 YG엔터 떠난다...'탈 YG' 열풍? [공식]" [Kang Dong-won and iKON are also leaving YG Entertainment... 'Leave YG' craze? [Formula]] (ภาษาเกาหลี). TV Report. สืบค้นเมื่อ December 30, 2022 – โดยทาง Naver.
- ↑ "강성훈, YG 전속계약 해지+젝스키스 활동 종료 "진심으로 사과"(전문)". entertain.naver.com.
- ↑ 146.0 146.1 Yoon, Sang-geun (November 8, 2022). "트레저 방예담·마시호 전격 탈퇴 "10인 체제 재편"[전문]". Starnews (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ November 8, 2022.
- ↑ 147.0 147.1 147.2 147.3 "블랙핑크, 팀 활동만 YG서…지수·제니·리사·로제 개별 계약 않기로(종합)". Newsis (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2023. สืบค้นเมื่อ December 29, 2023.
- ↑ "회사를 나왔습니다. + 앞으로의 계획 / I just got out of the company. + Future Plans". YouTube. November 8, 2020. สืบค้นเมื่อ October 3, 2023.
- ↑ Kim, Soo-young (January 3, 2022). "승리·양현석이 찜했던 안다, YG 떠났다…"새로운 출발"". Hankyung (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ February 7, 2022.
- ↑ "권현빈, 고스트 스튜디오와 전속계약 "배우 제2의 전성기 준비"". OSEN (ภาษาเกาหลี). March 4, 2024.
- ↑ "[공식입장] 스테파니 리, YNK엔터와 전속계약..임수정과 한솥밥". OSEN (ภาษาเกาหลี). April 26, 2017. สืบค้นเมื่อ April 26, 2017.