วัดไผ่ล้อม (จังหวัดสระบุรี)
วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่เลขที่ 16 บ้านไผ่ล้อม ตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 20 ตาราวา โฉลดเลขที่ 9042 อาณาเขต ทิศเหนือยาว 3 เส้น 8 วา ติดกับแม่น้ำแควป่าสัก ทิศใต้ยาว 2 เส้น ติดต่อกับทุ่ง ทิศตะวันออก ยาว 2 เส้น 17 วา ติดกับโรงงานทอกระสอบ ทิศตะวันตก ยาว 3 เส้น 5 วา ติดต่อกับทางสาธารณะพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบอยู่ริมแม่น้ำแควป่าสัก[1]
วัดไผ่ล้อม | |
---|---|
โบสถ์วัดไผ่ล้อม | |
ชื่อสามัญ | วัดไผ่ล้อม |
ที่ตั้ง | ตำบลสวนดอกไม้ อำเสาไห้ จังหวัดสระบุรี |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย เถรวาท |
พระประธาน | พระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง - นิ้ว สูง - นิ้ว |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระประธานในอุโบสถ |
เจ้าอาวาส | พระครูวิสุทธิสีลาภิวัฒน์ ฐิติโก |
ความพิเศษ | สร้างในสมัย อยุธยาตอนปลาย |
เวลาทำการ | ทุกวัน |
จุดสนใจ | พระบรมธาตุเจดีย์ |
กิจกรรม | สักการบูชา พระบรมธาตุเจดีย์ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้วัดไผ่ล้อมสร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2212 สมัยอยุธยาตอนปลาย ได้มีนามตามชื่อหมู่บ้าน เป็นวัดชนิดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว ประมาณ พ.ศ. 2222 ตามหลักฐานบันทึกไว้ในทะเบียนของวัด แจ้งว่าตั้งอยู่ เลขที่ 16 หมู่ที่ 1 ตำบล (สิบต๊ะ) สวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี สร้างประมาณปี พ.ศ. 2122 สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ส่วนหลักฐานอื่นไม่มีผู้ใดได้จดบันทึกไว้ ถาวรวัตถุก็ไม่หลงเหลือไว้ให้ศึกษาค้นคว้าได้
ตามประวัติศาสตร์มนุษยชาติในยุคนั้น การที่จะจัดตั้งเป็นประกาศมีสัดส่วนที่มั่นคงไม่มี ส่วนใหญ่จะเป็นเมือง โดยมีเจ้าเมืองปกครองดูแล เมืองที่กล้าเก่งกว่ายกทัพมาโจมตี เมืองที่พ่ายแพ้ก็ตกเป็นเมืองขึ้น หรือถูกกวาดต้อนไปรวมเป็นกำลังเสริมที่จะรุกรานขยายอาณาเขต เมื่อรวมได้หลายๆ เมืองก็จัดตั้งเป็นประเทศมีเมืองหลวงเป็นศูนย์การปกครอง เช่น กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา ต่างชาติต่างเผ่าพันธ์ไม่สามารถเข้าไปร่วมกันได้ต่างก็อพยพหนีไปหาที่อยู่ใหม่ พวกที่ไม่สามารถจะไปไหนได้ก็แทรกตัวอยู่เป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ในเมืองหรือประเทศนั้น ประเทศไทยจึงมีชนหลายเผ่าพันธ์ เมื่อไปอยู่ชุมชนใด เป็นกลุ่มมากพอต่างก็นำเข้าประเพณีและวัฒนธรรมขึ้นมากำหนดตั้งเพื่อให้เป็นที่ปฏิบัติร่วมชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนา ก็พากันจัดตั้งสำนักสงฆ์ เพื่อให้พระสงฆ์มาอยู่ช่วยการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเมื่อมีพระสงฆ์และชาวพุทธมากขึ้น มีกำลังพอที่จะจัดตั้งสำนักสงฆ์เป็นวัดมีวิสุงคามสีมาได้ก็รวมกันจัดทำ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนำมาข้างต้น ก็พอที่จะมีหลักฐานกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการตั้งวัดไผ่ล้อมได้พอสมควร
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้กรมหมื่นเทพทรรักษ์และพระปราบ นำทัพไปขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสน พ.ศ. 2347 พม่าพ่ายแพ้ถอยร่นกลับไป ก็ให้เผาเมืองเชียงแสน แล้วรวบรวมผู้คนชาวเชียงแสนได้จำนวนหนึ่งอพยพลงมาแต่ในระหว่างบางส่วนต่างก็กระจัดกระจายกันปักหลักอยู่ตามระยะทางที่ผ่านมาคือ เวียงจันทร์ เชียงใหม่ ลำปาง น่าน ส่วนพวกที่มาถึง ได้โปรดให้ตั้งบ้านเรือนที่เมืองสระบุรี เมืองเสาไห้ (ในสมัยนั้นเมืองสระบุรีเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองเสาไห้) อีกส่วนหนึ่งไปตั้งรกรากอยู่ที่บ้านคูเมือง พวกที่มาจากเชียงแสน (โยนกนาคนคร) หรือชาว ไทยวน ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ตำบลเสาไห้ (หมู่บ้านไผ่ล้อม) ตำบลสวนดอกไม้ (สิบต๊ะ)ตำบลต้นตาล ตำบลพระยาทด ตำบลท่าช้าง ตำบลศาลารีไทย ตำบลบ้านยาง และตำบลหัวปลวก “ปู่คัมภีระ” หัวหน้าผู้นำอพยพของชาวเชียงแสนพร้อมขุมกำลังผู้ใกล้ชิดได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บ้านโบราณซึ่งอยู่คนละฝั่งวัดไผ่ล้อม ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 2 ได้แต่งตั้งปู่คัมภีระมีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยารัตนกาศ” มีหน้าที่คุมกำลังส่งเสบียงให้พลรบยามเกิดศึกสงครามด้านทิศตะวันออก(ศึกเขมร)กองกำลังมีกองโตตั้งอยู่ 3 แห่ง อยู่ที่สี่คิ้ว 1 กอง โคกกร่าง 1 กอง และโคกแย้ 1 กอง และมีกองม้าอยู่ที่บ้านยาง 1 กอง ไว้เป็นหน่วยคุ้มกันกองเสบียง เมื่อมีขุมกำลังอำนาจหน้าที่เช่นนี้จึงเชื่อได้ว่า วัดไผ่ล้อมต้องได้รับการทำนุบำรุงให้ดีขึ้น โดยฝีมือของชาวไทยวนที่อพยพมาจากเชียงแสน
ต่อมาผู้อพยพสายตระกูลปู่คัมภีระได้สืบต่อตำแหน่ง “พระยารัตนกาศ” มีลูกหลานหลายคน คนสุดท้ายเป็นบุตรของพ่อเฒ่ามหาวงศ์ ได้เป็นนายอำเภอเสาไห้ คนที่ 2 พ.ศ. 2439 ถึง พ.ศ. 2443 และได้ตั้งบ้านเป็นสำนักงานที่ทำการอำเภอเสาไห้อยู่ที่บ้านไผ่ล้อมจนถึง ณ ปัจจุบันนี้[2]
สถานที่ภายในวัด
แก้เสนาสนะ
แก้- 1.1 ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 34 เมตร สร้างด้วยไม้และคอนกรีต พ.ศ. 2523
- 1.2 หอสวดมนต์กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างด้วยไม้สัก พ.ศ. 2410
- 1.3 กุฏิสงฆ์ จำนวน 5 หลัง เป็นอาคารไม้ นอกจากนี้มีหอระฆังและวิหาร
ศาสนสถาน
แก้- 1.1 อุโบสถกว้าง 17 เมตร ยาว 33 เมตร บูรณะ พ.ศ. 2502 ก่ออิฐถือปูน
- 1.2 พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ศาสนวัตถุ
แก้- 1.1 พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง - นิ้ว สูง - นิ้ว [3]
ลำดับเจ้าอาวาส
แก้ลำดับที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | พระปลัดอิน | เจ้าอาวาส | - | - | ||
2 | พระอาจารย์ศรีวิชัย | เจ้าอาวาส | - | พ.ศ. 2454 | ||
3 | พระอาจารย์แป้น | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2454 | พ.ศ. 2458 | ||
4 | พระอาจารย์คำมี | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2458 | พ.ศ. 2465 | ||
5 | พระอาจารย์ทองคำ | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2465 | พ.ศ. 2467 | ||
6 | พระอาจารย์คำมูล | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2467 | พ.ศ. 2476 | ||
7 | พระอธิการป้อม ทีปงฺกโร | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2476 | พ.ศ. 2484 | ||
8 | พระอาจารย์เดช | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2484 | พ.ศ. 2489 | ||
9 | พระอาจารย์หลี | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2489 | พ.ศ. 2495 | ||
10 | พระอธิการประถม ฐิตธมฺโม | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2497 | พ.ศ. 2535 | ||
11 | พระอธิการสุดใจ ถาวโร | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2543 | ||
12 | พระครูวิสุทธิสีลาภิวัฒน์ ฐิติโก | เจ้าอาวาส พระอุปัชฌาย์ และ เจ้าคณะตำบลสวนดอกไม้ | พ.ศ. 2545 | - | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ กองพุทธสถาน,สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 ,หน้า 388 ,ประวัติวัดในจังหวัสระบุรี : กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2552.
- ↑ กองพุทธสถาน,สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 ,หน้า 389 ,ประวัติวัดในจังหวัสระบุรี : กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2552.
- ↑ กองพุทธสถาน,สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 ,หน้า 389 ,ประวัติวัดในจังหวัสระบุรี : กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2552.