วัดไก่เตี้ย (จังหวัดสุพรรณบุรี)

วัดในจังหวัดสุพรรณบุรี

วัดไก่เตี้ย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 35 ไร่ 3 งาน 7 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 28 ไร่ 60 ตารางวา

วัดไก่เตี้ย
แผนที่
ที่ตั้งตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดไก่เตี้ย เดิมเคยเป็นวัดร้าง จนเมื่อ พ.ศ. 2428 จึงมีพระสงฆ์จากวัดเสาธงทอง เข้ามาอยู่จำพรรษาและฟื้นฟูวัด ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2495

อาคารเสนาสนะ แก้

อาคารเสนาสนะ ได้แก่ อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2491 ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511 เป็นอาคารไม้ หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้ 5 หลัง และตึก 1 หลัง วิหาร 1 หลัง[1]

ภายในพื้นที่วัดเคยมีเจดีย์อยู่หลายองค์ แต่ถูกขุดรื้อทำลายโดยโจรขุดหาสมบัติในช่วงปรี พ.ศ. 2480–2520 จนปัจจุบันเหลือเพียง 10 องค์ เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมศิลปะอยุธยาตอนต้น 4 องค์ ขนาดฐานกว้างด้านละ 4.20 เมตร สูงประมาณ 7.30 เมตร 2 องค์ และขนาดฐานกว้างด้านละ 8.20 เมตร สูงประมาณ 14.80 เมตร 2 องค์ จัดเป็นเจดีย์ขนาดเล็กและกลาง มีชุดฐานบัวแปดเหลี่ยมซ้อนกัน 3 ชั้น รองรับเรือนธาตุซึ่งมีซุ้มจรนำอยู่ 8 ซุ้ม (ด้าน) ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาสลับกับปางถวายเนตร เหนือซุ้มเป็นชุดบัวหน้ากระดาน 2 ชั้น รองรับองค์ระฆังเรียวเล็ก ต่อด้วยยอดบัวกลุ่มไม่มีบัลลังก์คั่น ส่วนยอดหักหายไป พระพุทธรูปปูนปั้นที่ประดับในซุ้มจรนำ ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัย[2]

นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงลังกาวีอีก 3 องค์ ฐานกลมรอบ 22 เมตร สูง 17.50 เมตร ได้รับอิทธิพลจากสิลปะแบบลังกาผสมอู่ทอง ฐานมีลายสลักรูปไก่ขนาดเล็กโดยรอบ (สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อวัด) พร้อมรูปสลักลายเทวดาและยักษ์หน้ากาฬ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงระฆังหงาย 2 องค์ และทรงปรางค์ขอม 1 องค์ ซึ่งทั้ง 3 องค์อยู่ในสภาพทรุดโทรมยอดพังทลายลงมาทั้งหมด (สันนิษฐานว่าคงมีการทำลายเพื่อหาเถ้ากระดูกพระเกจิอาจารย์ที่ฝังอยู่ภายใน เนื่องจากเจดียืทรงนี้มักใช้บรรจุกระดูกพระภิกษุผู้ทรงศีลสมัยทราวดี) ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเจดียืทั้งหมดเป็นดบรารสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2468

ศ.เดวิด เดอเลกุวส์ นักโบราณคดี กล่าวว่า บริเวณนี้อาจเป็นที่ตั้งของวัดบรมมาดเตตุวสถาน ตามบันทึกของพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาค้าขายกับสุวรรณภูมิในสมัยทราวดี เนื่องจากอยู่ในบริเวณใกล้กับแม่น้ำตามที่มีการบันทึกไว้ และมีการค้นพบจารึกอักษรพรมสลักคำว่า เตตุ บนกำแพงเจดีย์ ซึ่งแปลความได้ว่า "สถานบรรทม"

อ้างอิง แก้

  1. "วัดไก่เตี้ย". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  2. "โบราณสถานวัดไก่เตี้ย". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.