วัดใหม่เจริญธรรม (จังหวัดอุตรดิตถ์)

วัดในจังหวัดอุตรดิตถ์

วัดใหม่เจริญธรรม หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดป่าขนุน (ชื่อเดิม: วัดท่าควาย) ตั้งอยู่เลขที่ 109 หมู่บ้านป่าขนุน หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกป่าขนุน บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1047 มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5

วัดใหม่เจริญธรรม
อุโบสถวัดใหม่เจริญธรรม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539
แผนที่
ชื่อสามัญวัดป่าขนุน
ที่ตั้ง109 หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูสุจิตพัฒนพิธาน (สมพงษ์ สมจิตฺโต) (เจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา)
พระจำพรรษาจำนวน 3 รูป[1]
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ปัจจุบันวัดใหม่เจริญธรรม เป็นวัดจำพรรษาของเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา จึงมีความพยายามจัดให้วัดเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมในทุก ๆ ด้านของคณะสงฆ์ โดยนอกจากจะศูนย์กลางการปกครองของพระภิกษุในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาแล้ว วัดใหม่เจริญธรรมยังเป็นที่ตั้งของสภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา ศูนย์พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักปฏิบัติธรรมประจำตำบล ศูนย์การเรียนนักธรรมชั้นตรีประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลอีกด้วย[2] ปัจจุบันวัดใหม่เจริญธรรมมีพระครูสุจิตพัฒนพิธาน (สมพงษ์ สมจิตฺโต) เจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

ประวัติ แก้

วัดใหม่เจริญธรรม (เดิมชื่อ "วัดท่าควาย") ดำเนินการก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 ในหมู่ที่ 3 บ้านป่าขนุน ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ในสมัยนายแกะ มีชำนะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน โดยมีผู้มีจิตศรัทธามอบที่ดินให้สร้างวัด คือ นายแกะ มีชำนะ ผู้ใหญ่บ้าน นายพูน คงนิล และนางหยวก พรมแดง รวมกัน มีที่ดินประมาณ 4 ไร่ 2 งาน และนายพูน คงนิล นายบุญ สุขวิทย์ บริจาคเรือนคนละ 1 หลัง สร้างเป็นกุฏิ นางเตียก ไม่ทราบนามสกุล บริจาคบ้าน 1 หลัง สร้างศาลาการเปรียญชั่วคราว ขนาดกว้าง 12 วา ยาว 12 วา ต่อมาได้มีการสร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ขึ้น ขนาดกว้าง 20 วา ยาว 30 วา มีที่ดินทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 13 ตารางวา และได้รับพระราชวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539

ปูชนียวัตถุสำคัญ แก้

อาณาเขตที่ตั้งวัด แก้

วัดใหม่เจริญธรรม (อุตรดิตถ์) ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างวัด ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี พ.ศ. 2480 มีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ปี พ.ศ. 2539 ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนด เลขที่ 74 กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของวัด

พื้นที่ตั้งของวัดมีลักษณะอยู่ติดกับโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ติดหมู่บ้าน ติดที่ทำกินชาวบ้าน และติดถนนสายเอเชีย

  • ทิศเหนือ ยาว 100 วา จดที่ชาวบ้านและโรงเรียน
  • ทิศใต้ ยาว 100 วา จดถนนสาธารณะ
  • ทิศตะวันออก ยาว 44 วา จดที่ชาวบ้าน
  • ทิศตะวันตก ยาว 35 วา จดหมู่บ้าน

เขตติจีวราวิปวาส แก้

พื้นที่ตั้งของวัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มท้องแม่น้ำน่านโบราณ อยู่ติดกับโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ติดหมู่บ้าน ติดที่ทำกินชาวบ้าน และติดถนนสายเอเชีย เขตติจีวราวิปวาสวัดใหม่เจริญธรรม มีอุโบสถสร้างใหม่เป็นประธานของวัด อยู่ด้านทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับที่ดินข้างเคียง ดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ยาว 100 วา จดที่ชาวบ้านและโรงเรียน
  • ทิศใต้ ยาว 100 วา จดถนนสาธารณะ
  • ทิศตะวันออก ยาว 44 วา จดที่ชาวบ้าน
  • ทิศตะวันตก ยาว 35 วา จดหมู่บ้าน

เขตวิสุงคามสีมา แก้

ที่ธรณีสงฆ์ แก้

ศาสนสถาน-ถาวรวัตถุ แก้

  • อุโบสถ กว้าง 19.50 เมตร ยาว 29 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484 เป็นอาคารไม้
  • กุฎิทรงไทย จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ทรงไทย เป็นกุฎิและศูนย์วัฒนธรรมประจำตำบล
  • กุฏิสงฆ์ จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และตึก 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 เป็นอาคาร 2 ชั้น
  • ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมก่ออิฐถือปูน ชั้นเดียว
  • ซุ้มประตูไม้ลักษณะทรงไทย กว้าง 4 เมตร ยาว 9 เมตร สร้างเมื่อ (พ.ศ. 2551)
  • พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กว้าง 15 เมตร ยาว 38 เมตร อาคารชั้นเดียว สร้างเมื่อ (พ.ศ. 2550) หมายเหตุ - ยังสร้างไม่แส้วเสร็จ ยังขาดทุนทรัพย์อยู่อีก จำนวน 500,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีเสนาสนะต่าง ๆ คือ เมรุเผาศพ หอระฆัง

การปกครองวัด แก้

จำนวนภิกษุสงฆ์ในสังกัดวัด แก้

ปัจจุบันวัดใหม่เจริญธรรมมีจำนวนพระภิกษุ 3 รูป

ลำดับเจ้าอาวาสวัดใหม่เจริญธรรม แก้

พระสังฆาธิการวัดใหม่เจริญธรรมรูปปัจจุบัน แก้

ไวยาวัจกรวัดใหม่เจริญธรรมคนปัจจุบัน แก้

  1. นายเกี้ยว มีประไพ
  2. นายทองใบ ผอบมเหลือง
  3. นายละม่อม พริกทิม
  4. ผู้ใหญ่แสวง นวลจร
  5. นายกาย มีประไพ
  6. อาจารย์สมเกียรติ สาตรจำเริญ
  7. นายธนพัฒน์ มีประไพ

กิจกรรมหลักของวัด แก้

สภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา แก้

สำนักงานเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา แก้

ศูนย์พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ แก้

สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมประจำตำบลคุ้งตะเภา แก้

สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำตำบลคุ้งตะเภา แก้

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดใหม่เจริญธรรม แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระครูสุจิตพัฒนพิธาน. (2553). เอกสารรายงานคณะสงฆ์-บัญชีสำรวจพระภิกษุตำบลคุ้งตะเภา ปี 2553. อุตรดิตถ์ : สำนักงานเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา. ถ่ายเอกสาร.
  2. สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์. (2554). หนังสือข้อมูลคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาค 5 ประจำปี 2554. อุตรดิตถ์ : (ม.ป.ท.).

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

17°38′46″N 100°07′57″E / 17.646019°N 100.132579°E / 17.646019; 100.132579