วัดใหม่ปิ่นเกลียว

วัดในจังหวัดนครปฐม

วัดใหม่ปิ่นเกลียว เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 บ้านปิ่นเกลียว ตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ทั้งหมด 94 ไร่ แบ่งเป็นที่ตั้งวัด 45 ไร่ 2 งาน ได้อนุญาตให้ทางราชการใช้ส่วนหนึ่งเป็นสถานศึกษา คือ กรมการฝึกหัดครู (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) จำนวน 48 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่ในที่ธรณีสงฆ์ และให้กรมสามัญศึกษาสร้างโรงเรียนศรีวิชัยวิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยม จำนวน 12 ไร่ 2 งาน 89 ตารางวา ตั้งอยู่ในที่วัด

วัดใหม่ปิ่นเกลียว
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 68 หมู่ที่ 3 ถนนมาลัยแมน ตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระปลัดพลาธิป กตกุสโล
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ประวัติ

แก้

วัดใหม่ปิ่นเกลียวสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2396[1] สร้างโดยเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ในสมัยที่ท่านเป็นนายช่างใหญ่ควบคุมดำเนินการก่อสร้างพระปฐมเจดีย์องค์ใหญ่ ได้สร้างวัดขึ้นในเนื้อที่ดินของท่านแล้วมอบให้เป็นสมบัติของคุณหญิงหนูซึ่งเป็นภริยาของท่านดูแล ต่อมาหม่อมเจ้าหญิงจงกลนีเป็นผู้ดูแลวัดนี้เรื่อยมา จากนั้นวัดอยู่ในความดูแลของชาวบ้านละแวกนั้นเรื่อยมา

อาคารเสนาสนะ

แก้

อุโบสถหลังเก่าขนาด 5 ห้อง มีระเบียงทางเดินและเสารองรับชายคาโดยรอบ ก่ออิฐถือปูนทำเป็นรูปวงโค้งรูปกลีบบัว[2] อาคารมีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับฝรั่งอันเป็นแบบนิยมโดยใช้วัสดุปูพื้นเป็นกระเบื้องหินอ่อนที่มักนำเข้ามาจากต่างประเทศ แม้ปัจจุบันทรุดโทรมมากแล้ว[3]

อุโบสถหลังใหม่กว้าง 16.30 เมตร ยาว 33 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 ภายในประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางมารวิชัยเป็นพระพุทธชินราชจำลอง สร้างด้วยโลหะหล่อ มีขนาดสูง 8 ศอก หน้าตักกว้าง 5 ศอก 9 นิ้ว สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2535 ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512 และต่อเติมขึ้นมาใหม่ รวมทั้งหลังเก่าและหลังใหม่ กว้าง 37 เมตร ยาว 38 เมตร

ปูชนียวัตถุอื่นได้แก่ พระพุทธนิมิตมงคล เป็นพระปูนปั้นปางสุโขทัย สร้างด้วยปูนปั้นขนาดหน้าตัก 49 นิ้ว ได้สร้างศาลาทรงไทยครอบองค์พระพุทธรูปไว้ และยังมีรูปหล่อเหมือนหลวงปู่พูน เกสโร อดีตเจ้าอาวาส หล่อด้วยโลหะ หน้าตักกว้าง 25 นิ้ว[4]

เครื่องราง

แก้

หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธัมโม เจ้าอาวาส ท่านเป็นผู้สร้างและปลุกเสกเครื่องรางพ่อปู่ ชูชก จนโด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว[5]

รายนามเจ้าอาวาส

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "วัดใหม่ปิ่นเกลียว". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  2. ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 15 จังหวัดนครปฐม. กรมศิลปากร. 2552. p. 96.
  3. "พระอุโบสถเก่าวัดใหม่ปิ่นเกลียว". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  4. "วัดใหม่ปิ่นเกลียว". เทศบาลเมืองนครปฐม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-14. สืบค้นเมื่อ 2021-01-13.
  5. "วัดใหม่ปีนเกลียว". กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.[ลิงก์เสีย]