วัดเจ้าจันทร์
วัดเจ้าจันทร์ เป็นโบราณสถานร้างตั้งอยู่ในเมืองเชลียง ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
วัดเจ้าจันทร์ (อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย) | |
---|---|
วัดเจ้าจันทร์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
ประเภท | โบราณสถานร้าง |
สถาปัตยกรรม | ศิลปะลพบุรี ศิลปะบายน |
เมือง | ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เริ่มสร้าง | ราวพุทธศตวรรษที่ 18 |
ในกำกับดูแลของ | กรมศิลปากร |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
โครงสร้าง | ศิลาแลงฉาบปูน |
เกณฑ์พิจารณา: วัฒนธรรม: (i), (iii) เลขอ้างอิง: 0004279 |
ประวัติ
แก้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง แต่จากการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักสามารถเทียบได้กับศาสนสถานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงเชื่อว่าคงสร้างในสมัยนี้
วัดเจ้าจันทร์ปรากฏอยู่ในหนังสือพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า
"ที่ทางทิศเดียวกับวัดมหาธาตุมีอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าวัดเจ้าจันทร์ ทางเข้าไปต้องผ่านสวนกล้วยของราษฎร ในที่วัดนั้นมีเป็นปรางค์ฐาน ๓ วาสี่เหลี่ยม สูงประมาณ ๖ วา มีประตูเข้าไปในปรางค์นั้นได้ พอแลเห็นข้าพเจ้าก็ได้ร้องว่าเป็นเทวสถานหรือโบสถ์พราหมณ์ รูปปรางค์เป็นพยานอยู่ชัด คือเป็นทำนองเดียวกับวัดศรีสวาย หรือวัดพระพายหลวงเมืองสุโขทัย ครั้นเที่ยวคุ้ยค้นดูในกองศิลาอิฐปูนที่พังอยู่ ก็เผอิญพบเศียรพระอิศวรทิ้งเศียรหนึ่ง ทำด้วยศิลา มีอุนาโลมอยู่เป็นพยานด้วย"[1]
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
แก้สิ่งก่อสร้างสำคัญคือ ปรางค์ประธานศิลปะขอมก่อด้วยก้อนศิลาแลงขนาดใหญ่และมีปูนฉาบประดับตกแต่งผิว ที่เรือนธาตุมีซุ้มประกอบทั้งสี่ด้าน มีประตูทางเข้าด้านหน้าทางทิศตะวันออกเพียงทางเดียวด้านหน้ามีห้องสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ ด้านอื่นเป็นประตูหลอก ชุดเครื่องบนของปราสาทสอบคล้ายรูปพุ่มและมีกลศประดับเป็นเครื่องยอด
ต่อมาในสมัยสุโขทัย ศาสนสถานแห่งนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นวัดพุทธ มีการถมบริเวณโดยรอบของฐานปราสาท ทำให้ฐานชุดบัวคว่ำบัวหงายจมอยู่ใต้ดิน แล้วสร้างวิหารศิลาแลงขึ้นที่ด้านหน้าของปรางค์ปราสาทพร้อมกับมณฑปศิลาแลงสำหรับประดิษฐานพระอัฎฐารสขึ้นทางทิศเหนือของปรางค์ ในมณฑปมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปยืนพระหัตถ์แนบลำพระองค์ 1 องค์[2]
ต่อมากรมศิลปากรได้ขุดพบพระพิมพ์ทำด้วยชิน ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ และในชั้นลึกลงไปขุดพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เครื่องถ้วยหริภุญไชย ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนโครงกระดูกคน[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "วัดเจ้าจันทร์". อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย.
- ↑ "วัดเจ้าจันทร์". กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
- ↑ "ปราสาทวัดเจ้าจันทร์". ศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.