วัดหน้าต่างนอก
วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดหน้าต่างนอก ตั้งอยู่ที่ ตำบลหน้าไม้ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน[1]
วัดหน้าต่างนอก | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดหน้าต่างนอก |
ที่ตั้ง | เลขที่ 57/9 บ้านลำบัว หมู่ที่ 3 ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย (เถรวาท) |
พระประธาน | พระพุทธรูป ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 139 นิ้ว สูง - นิ้ว |
เจ้าอาวาส | พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (แม้น อาจารสมฺปนฺโน) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้วัดหน้าต่างนอกตั้งขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา หรือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2300 โดยหลวงปู่เณร เป็นผู้ก่อตั้ง วัดหน้าต่างนอกได้รับการรับรองสภาพวัดจาก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หนังสือรับรองที่ พศ 0003/6205 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยมี นางบุญศรี พานะจิตต์ เป็นรองผู้อำนวยการ ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้เซ็นรับรอง[1]
- เหตุที่ชื่อ “วัดหน้าต่างนอก” ก็มีการสันนิษฐานมาจากเหตุ 2 ประการ คือ ประการที่ 1 ในสมัยนั้นกองทัพพม่าที่ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้ตั้งค่ายใกล้กับสะพานสีกุก ทางกองทัพกรุงศรีอยุธยาก็ได้ให้ทหารหน่วยสอดแนมสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของกองทัพพม่า โดยให้ดูด้วยการเปิดหน้าต่าง หน้าต่างใน หมายถึง ใกล้ชายแม่น้ำน้อย ก็คือตรงที่ตั้งวัดหน้าต่างใน ส่วน หน้าต่างนอก ก็หมายถึง ทางนอกทุ่ง ก็คือที่ตั้งวัดหน้าต่างนอก ประการที่ 2 ในสมัยนั้น พระภิกษุสงฆ์ท่านมีความเคร่งครัดในแนวทางปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน และได้มีการมีการสันนิษฐานว่า เดิมทีตรงที่ตั้งวัดหน้าต่างนอก เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดหน้าต่างใน ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่สำหรับปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และ คงจะมีการสร้างเสนาสนะขึ้นด้วย เพื่อความสดวกในการปฏิบัติ ต่อมา หลวงปู่เณร จึงได้ตั้งเป็นวัดขึ้น อาจจะตั้งชื่อวัดโดยอรรถโดยธรรมก็ได้ เช่น วัดหน้าต่างนอก ท่านหมายเอาอายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธัมมารมณ์ วัดหน้าต่างใน ท่านหมายเอา อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ปูชนียวัตถุ
แก้- 1.1 พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 139 นิ้ว สูง - นิ้ว
- 1.2 พระประธานในศาลาการเปรียญ พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 139 นิ้ว สูง - นิ้ว
- 1.3 พระพุทธรูปในศาลาการเปรียญ พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 3 ศอก สูง - นิ้ว
- 1.4 พระพุทธรูป ปูนปั้น พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 2 ศอก สูง - นิ้ว
- 1.5 พระปูนปั้น หลวงพ่อสมใจนึก ลักษณะพระสังกัจจายน์ ขนาดหน้าตัก กว้าง - ศอก สูง - นิ้ว
เสนาสนะ
แก้- 1.1 อุโบสถ กว้าง 24.88 เมตร ยาว 39.16 เมตร
- 1.2 กุฏิสงฆ์ กว้าง 3.50 เมตร ยาว 3.50 เมตร จำนวน 22 หลัง
- 1.3 ศาลาการเปรียญ กว้าง 27.80 เมตร ยาว 31.30 เมตร จำนวน 1 หลัง
- 1.4 วิหารคู่ กว้าง - เมตร ยาว - เมตร จำนวน 1 หลัง
- 1.5 มณฑปเรือนแก้ว กว้าง - เมตร ยาว - เมตร จำนวน 1 หลัง
- 1.6 มณฑปหลวงพ่อจง กว้าง - เมตร ยาว - เมตร จำนวน 1 หลัง
- 1.7 อาคารเฉลิมพระเกียรติ กว้าง 24.50 เมตร ยาว 35.50 เมตร จำนวน 1 หลัง
- นอกจากนี้ ยังมี ซุ้มประตูวัด หอระฆัง 1 หลัง ฌาปนสถาน 1 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง ศาลาอเนกประสงค์ 1 หลัง เรือนเก็บพัสดุ 1 หลัง และ โรงครัว 1 หลัง
ลำดับเจ้าอาวาส
แก้ลำดับที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | หลวงปู่เณร | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2300 | - | ||
2 | หลวงปู่เอี่ยม | เจ้าอาวาส | - | - | ||
3 | หลวงปู่อินทร์ | เจ้าอาวาส | - | - | ||
4 | หลวงพ่อจง พุทฺธสโร | เจ้าอาวาส | - | พ.ศ. 2508 | ||
5 | พระอาจารย์ไวยท์ | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2510 | พ.ศ. 2510 | ||
6 | พระอาจารย์พุท | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2512 | พ.ศ. 2514 | ||
7 | พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (แม้น อาจารสมฺปนฺโน) | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2515 | - | ปัจจุบัน |
สมุดภาพ
แก้-
วัดหน้าต่างนอก
-
อุโบสถ
-
มณฑปหลวงพ่อจง
-
มณฑปเรือนแก้ว
-
วิหารคู่
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เล่มที่ 3 หน้า 272 : กรมการศาสนา, สำนักพิมพ์ประชามติ, กรกฎาคม พ.ศ. 2550.