วัดสองพี่น้อง (จังหวัดปทุมธานี)

วัดในจังหวัดปทุมธานี

วัดสองพี่น้อง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในหมู่ที่ 2 บ้านกลาง ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีเนื้อที่ 49 ไร่ 3 งาน

วัดสองพี่น้อง
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 45 หมู่ที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309 ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อเพชร, หลวงพ่อพลอย
เจ้าอาวาสพระอธิการสมโชค สิริวณฺโณ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ แก้

วัดสองพี่น้องสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2410 มีเรื่องเล่าขานว่า ผู้สร้างวัดเป็นชายสองคนพี่น้องซึ่งทราบกันเพียงว่าอพยพลงมาจากภาคเหนือและอาศัยอยู่ในบริเวณวัด ทั้งสองเป็นโจรปล้นทรัพย์ ชอบลักวัวควายของชาวบ้าน ประกอบกับสถานที่นี้เป็นป่าหนาทึบจึงยากแก่การติดตาม จนกระทั่งต่อมาบิดามารดาของสองพี่น้องนี้ได้ล่องเรือลงมาจากทางเหนือเพื่อค้าขายสิ่งของต่าง ๆ เมื่อมาถึงบริเวณใกล้เคียงกับที่สองพี่น้องอาศัยอยู่ก็เป็นเวลาจวนจะมืดพอดี จึงจอดพักค้างคืนที่นั่น พอตกกลางคืนโจรสองพี่น้องได้ปล้นและฆ่าบิดาและมารดาของตนโดยไม่รู้ พอถึงรุ่งเช้าได้ทราบว่าคนที่ตนฆ่าเป็นบิดามารดาก็เสียใจมาก จึงตัดสินใจสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นการลบล้างบาป โดยได้สร้างทั้งโบสถ์และวิหาร เมื่อสร้างเสร็จได้ตั้งชื่อว่า "วัดสองพี่น้อง" วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2469

อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ แก้

วัดสองพี่น้องมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีนามว่า หลวงพ่อเพชร และ หลวงพ่อพลอย มีอายุเก่าแก่ประมาณ 700 ปี เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ว่ากันว่าหลวงพ่อเพชรเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของบรรดาพ่อค้ามอญชาวเรือ เป็นพระประธานในอุโบสถร้างสมัยอยุธยาที่พังลงน้ำหมดแล้ว คงเหลือแต่องค์พระและใบเสมาศิลาแลงขนาดใหญ่สมัยอู่ทอง[1]

วัดยังมีเจดีย์ทรงมอญหน้าวัด สูง 6 เมตร ฐานกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ เป็นเจดีย์เก่าแก่ประมาณ 200 ปีเศษ พระประธานในโบสถ์ที่สร้างด้วยเหรียญฮ่องกง จำนวน 1,000 เหรียญ น้ำหนักเหรียญละ 1 สลึง หน้าตักกว้าง 23 นิ้ว สูงประมาณ 25 นิ้ว พระเกศเป็นทองคำหนัก 13 บาท พระพุทธรูปและเจดีย์บรรจุพระธาตุสวยงามลวดลายวิจิตรที่สร้างด้วยเงินและทองเหลืองประดิษฐานอยู่ที่หอสวดมนต์ โต๊ะหมู่บูชาประดับมุก หมู่ 9 และเครื่องกังไสของจีนแท้ที่ตั้งอยู่หน้าพระประธานในอุโบสถ[2]

อ้างอิง แก้

  1. "วัดสองพี่น้อง". ท่องเที่ยววิถีชุมชน สายน้ำเจ้าพระยา.
  2. "วัดสองพี่น้อง". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).