วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระราชวชิรธรรมาภรณ์ (บุญศักดิ์ สิริปุญโญ)[1]
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร | |
---|---|
ที่ตั้ง | ซอยสุขุมวิท 101/1 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร |
นิกาย | มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระราชวชิรธรรมาภรณ์ (บุญศักดิ์ สิริปุญโญ) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
เดิมชื่อ วัดทุ่งสาธิต มีคหบดีชาวลาวเป็นผู้สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2399 หลังจากคหบดีท่านถึงแก่กรรม วัดนี้จึงถูกทิ้งร้าง กระทั่งได้กลายเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2506 ในสมัยพระโสภณวชิรธรรม (สาธิต ฐานวโร) เป็นเจ้าอาวาส[2] ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบรมราชอิสริยยศในขณะนั้น) โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ทรงรับวัดทุ่งสาธิต ไว้ในพระอุปถัมภ์ ได้พระราชทานนามว่า วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร โดยนามของวัด วชิร มาจาก วชิราลงกรณ์, ธรรม มาจาก คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และ สาธิต มาจากนามเดิมพระโสภณวชิรธรรม
อนึ่ง แม้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงรับวัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหารไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ แต่ก็มิใช่วัดประจำรัชกาลที่ 10
อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ
แก้พระเจดีย์จุฬามณีศรีล้านนา มีความกว้าง 25 ศอก 9 นิ้ว ความสูง 49 ศอก ซึ่งได้จำลองมาจากองค์พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 25 องค์ พระอรหันต์สาวกธาตุ 289 องค์ และพุทธรูปทองคำอีก 2 องค์ พระอุโบสถปูด้วยไม้สักปาร์เก้ ประตู-หน้าต่างทำด้วยไม้สัก แกะสลักโดยฝีมือช่างชาวเหนือ ภายในพระอุโบสถ มีพระปรางค์ 3 องค์ องค์กลางบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์ขวาและองค์ซ้าย บรรจุพระธาตุทอง พระอัครสาวกทั้งสอง คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ วัดมีสังเวชเจดีย์ จำลองมาจากพระเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "พลังบวรช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เฉลิมพระเกียรติ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร". กองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ไหว้พระ 10 วัด". กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-31.
- ↑ "วิจิตรตระการตา "วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร" วัดในรัชกาลที่ ๑๐". ผู้จัดการออนไลน์. 10 พฤษภาคม 2562.