วัดพุทธบูชา (ประเทศฝรั่งเศส)

วัดพุทธบูชา ประเทศฝรั่งเศส เป็นวัดของคณะสงฆ์เถรวาทไทย สังกัดมหานิกาย ที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับชุมชนชาวพุทธในประเทศฝรั่งเศส ทั้งชุมชนชาวไทย ศรีลังกา จีน กัมพูชา ลาว หรือชาวต่างชาติอื่น ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา

วัดพุทธบูชา
แผนที่
ที่ตั้ง1 et 1 rue du Favreuil 59100 Roubaix, France รูแบร์ (Roubaix, France) 59100
ประเภทวัดไทย
นิกายเถรวาท
เจ้าอาวาสพระครูปลัดชัชวาล ปญฺญาธโร
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ความเป็นมาวัดพุทธบูชา ประเทศฝรั่งเศส แก้

ประวัติการก่อสร้าง แก้

ก่อตั้งเมื่อ 31 สิงหาคม 2547 ได้จดทะเบียนเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา คือ ASSOCIATION 1901 ENREGISTREE SOUS LE N. W595006923 / PREFECTURE DU NORD การบริหารวัดโดยมีคณะกรรมการ ประกอบด้วยคณะกรรมการ ฝ่ายสงฆ์ เจ้าอาวาส เป็นประธานอำนวยการ และพระสงฆ์ทั้งวัด เป็นกรรมการอำนวยการ กรรมการฝ่ายฆราวาสอีก 5 ท่าน เป็นกรรมการโดยการเลือกตั้ง นอกจากนั้นเป็นคณะกรรมการแต่งตั้งประจำแผนกต่าง ๆ โดย เป็นประธานที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ การบริหารงานของวัดพุทธบูชา วัดพุทธบูชาได้บริหารในระบบของสมาคม โดยที่ไม่หวังผลกำไรและไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางการเมือง ระบบการบริหารใช้ตามระบบกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ทางสมาคมทำงานเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสังคมสงเคราะห์ และมีคณะกรรมการบริหารที่ถูกต้องตามที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นที่ถูกต้อง

พระธรรมทูต แก้

  1. พระครูปลัดชัชวาล ปญฺญาธโร วัดโบสถ์สามเสน เขตดุสิต กทม.[1]
  2. พระมหาสมภพ อินทโชโต ป.ธ.9 Ph.D. วัดบางไผ่ (พระอารามหลวง) จังหวัดนนทบุรี
  3. พระมหาโสภา สุภาจาโร วัดบางไผ่ (พระอารามหลวง) จังหวัดนนทบุรี
  4. พระมหาสุวรรณ ญาณธโร ป.ธ.7, M.A. วัดบางไผ่ (พระอารามหลวง) จังหวัดนนทบุรี
ลำดับเจ้าอาวาส/พระธรรมทูต
ที่ รายนาม/สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 พระครูปลัดชัชวาล ปญฺญาธโร เจ้าอาวาส พระธรรมทูต พ.ศ. 2547 ปัจจุบัน
2 พระมหาสุวรรณ ญาณธโร ป.ธ.7, M.A. พระธรรมทูต พ.ศ. 2556 ปัจจุบัน

ศาสนสมบัติ แก้

  1. ที่ดิน 1 ไร่ คิดเป็นมูลค่า 390,000 ยูโร
  2. อหังสาริมทรัพย์ กุฏิ 1 หลัง 7 ห้อง และศาลา 1 หลัง จุคนได้ 250 คน ห้องสมุด 1 ห้อง โรงเก็บของ 1 หลัง
  3. เงินสดจำนวน 20,000 ยูโร

กิจกรรมที่ดำเนินในรอบปี แก้

  1. พิมพ์หนังสือสวดมนต์เป็นภาษาไทย-ลาว/และฝรั่งเศส
  2. เทศน์-บรรยายธรรมเป็นประจำทุกสัปดาห์
  3. สอนวิปัสสนากรรมฐานประจำวันอาทิตย์
  4. เทศน์หรือบรรยายธรรม ตามสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ได้รับนิมนต์
  5. จัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา ออกพรรษา และนอกจากนั้นก็ได้ ยึดถือประเพณี ตามฮีตสิบสองคลองสิบสี่ตลอดมา

กิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ แก้

  • เวลา 06.00 น.ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
  • เวลา 06.30 น.ทำวัตรเช้า
  • เวลา 07.15 น. ฉันภัตตาหารเช้า
  • เวลา 09.00 น.สอนภาษาไทย-ลาว (ทุกวันอาทิตย์- ตลอดพรรษา)
  • เวลา 11.00 น.ฉันภัตตาหารเพล
  • เวลา 13.00 น.ปฏิบัติศาสนกิจตามหน้าที่

อ้างอิง แก้

  1. คณะการการพระธรรมทูตสายต่างประเทศ สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา [ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี บรรณาธิการ], สหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป, แผนพัฒนา ประวัติวัด ผลงานพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ, (นนทบุรี : นิติธรรมการพิมพ์,2555), หน้า 256-257].

แหล่งข้อมูลอื่น แก้