วัดพรหมนิวาสวรวิหาร

วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดพรหมนิวาสวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[1] ปัจจุบันเจ้าอาวาสคือ พระครูประดิษฐ์กิจจารักษ์ (สมเกียรติ สปฺปญฺโญ)[2]

วัดพรหมนิวาสวรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพรหมนิวาสวรวิหาร, วัดพรหมนิวาส, วัดขุนยวน, วัดขุนญวน
ที่ตั้งตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูประดิษฐ์กิจจารักษ์ (สมเกียรติ สปฺปญฺโญ)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพรหมนิวาสวรวิหารตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2270 เดิมชื่อ วัดขุนยวน บ้างเขียนว่า วัดขุนญวน ตามการบอกเล่าสืบต่อกันมา ผู้สร้างวัดมียศเป็นขุน ได้เป็นแม่ทัพไปรบข้าศึกที่เมืองโยนก (นครเชียงใหม่) และมีชัยชนะกลับมา จึงได้สร้างวัดขึ้นเป็นอนุสรณ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2275 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดพรหมนิวาสนี้เมื่อครั้งทรงผนวชอยู่ ต่อมาเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดพรหมนิวาส เมื่อ พ.ศ. 2483 ในสมัยพระครูกุศลธรรมธาดา (สุดใจ เขมสีโร) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งหมายถึง "ที่สถิตของพรหม"[3] วัดได้ยกสถานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2483[4]

ใบเสมามีความเก่าแก่ น่าจะสร้างในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คล้ายกับที่วัดสิงห์ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ลายประดับใบเสมา สลักลวดลายประดับอย่างงามวิจิตร บริเวณฐานใบเสมา ประดับลายหน้ากระดาน ประจำยามลูกฟัก ส่วนท้องเสมาแกะสลักลายกรอบสามเหลี่ยมภายในประดับลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เอวเสมาประดับตัวเหงาทำเป็นรูปพญานาคหลายเศียร

อ้างอิง แก้

  1. "วัดพรหมนิวาสวรวิหาร". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  2. "มติมหาเถรสมาคม ที่ 48/2562 เรื่อง เสนอแต่งตั้ง พระครูประดิษฐ์กิจจารักษ์ ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพรหมนิวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (pdf). สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม. 28 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "ถวายผ้าพระกฐินพระราชทานวัดพรหมนิวาสวรวิหาร อยุธยา". ผู้จัดการออนไลน์.
  4. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง เปลี่ยนนามพระอารามหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.