วัดปากคลองพระอุดม

วัดในจังหวัดนนทบุรี

วัดปากคลองพระอุดม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองพระอุดม (คลองบ้านแหลม) ในหมู่ที่ 5 บ้านปากคลองพระอุดม ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 20 ไร่ และมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 26 ไร่

วัดปากคลองพระอุดม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดปากคลองพระอุดม, วัดปากคลอง, วัดบ้านแหลม, เภี่ยะปานเกริง
ที่ตั้งเลขที่ 41 หมู่ที่ 5 ซอยวัดปากคลอง ถนนชัยพฤกษ์ ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูวินัยธรวิชัย อติภทฺโท
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดปากคลองพระอุดมเป็นวัดของชุมชนมอญสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชุมชนนี้อยู่บริเวณปากคลองบ้านแหลมซึ่งเป็นที่ลุ่มชายเลน ต่อมาดินโคลนที่ไหลมาตามลำน้ำเจ้าพระยาได้ทับถมกันมากขึ้นจนทำให้มีแผ่นดินงอกออกไปทางปากคลอง พระสงฆ์ที่มาจากมอญและชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤษาคม พ.ศ. 2418 แล้วตั้งชื่อวัดว่า วัดปากคลอง หรือที่ในภาษามอญเรียกว่า เภี่ยะปานเกริง[1] ชาวบ้านยังเรียกว่า วัดบ้านแหลม ตามชื่อท้องที่ที่ตั้งวัด ทางวัดได้สร้างอุโบสถและขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2442 และได้ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2426[2]

อาคารและเสนาสนะสำคัญได้แก่ อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2418 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ภายในประดิษฐานพระประธานปางสมาธิ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2418 ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2543 หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ วิหาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก และศาลาอเนกประสงค์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก[3]

อ้างอิง แก้

  1. "วัดปากคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี". วัดปากคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-12. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
  2. สมคิด ทองสิมา, บุญมา ศรีสุรเมธี (2526). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2. กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. p. 471.
  3. "วัดปากคลองพระอุดม". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-12. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.