วงศ์ลิงลม[1]
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ต้นยุคอีโอซีน-ปัจจุบัน, 50.0–0Ma [2]
ลิงลมแคระ หรือ นางอายแคระ (Nycticebus pygmaeus) จัดเป็นลิงลมที่มีขนาดเล็กที่สุด พบได้ในพรมแดนระหว่างลาวและเวียดนาม โดยไม่พบในประเทศไทย[3]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
อันดับย่อย: Strepsirrhini
อันดับฐาน: Lemuriformes
วงศ์ใหญ่: Lorisoidea
วงศ์: Lorisidae
Gray, 1821[4]
สกุลต้นแบบ
Loris
สกุล
ชื่อพ้อง

วงศ์ลิงลม[1] (อังกฤษ: Lorisid; อินโดนีเซีย: Kukang) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับไพรเมตวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Lorisidae (หรือ Loridae) สมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ประกอบไปด้วย ลิงลม หรือ นางอาย, ลิงลมเรียว, พอตโต, อังวานติโบ

ลักษณะ แก้

ลักษณะของสัตว์ในวงศ์นี้ ถือเป็นไพรเมตขนาดเล็ก ลำตัวขนาดเท่าแมวบ้านหรือเล็กกว่า[1] สีขนโดยปกติจะเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล สีเข้มที่ด้านข้างและด้านบนลำตัว มีดวงตากลมโตขนาดใหญ่ ใช้ประโยชน์ในการหากินในเวลากลางคืน ใบหน้ากลมแบน ใบหูมีขนาดเล็กและมักจะซ่อนอยู่ในขน นิ้วหัวแม่มือและนิ้วต่าง ๆ สั้น นิ้วเท้าที่สองของขาหลังมีกรงเล็บที่เหมาะสำหรับการทำความสะอาดขน หางสั้นหรือจะหายไปอย่างสมบูรณ์ เมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 17-40 เซนติเมตร และมีน้ำหนักระหว่าง 0.3-2 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิด มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ คล้ายคลึงกับลีเมอร์:  

วงจรชีวิต แก้

มีระยะเวลาการตั้งท้องนานสี่ถึงหกเดือนและให้ลูกเต็มที่สองตัว ลูกอ่อนจะเกาะอยู่กับหน้าท้องของแม่หรือรอในรังขณะที่แม่ไปหาอาหาร ใช้เวลาประมาณ 3-9 เดือนขึ้นอยู่กับชนิด หย่านมและโตเต็มวัยภายใน 10-18 เดือน มีอายุยืนได้ถึง 20 ปี

พฤติกรรม แก้

เป็นสัตว์ที่ทรงตัวได้ดีบนต้นไม้ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ปกติจะเคลื่อนไหวเชื่องช้า แต่จะเคลื่อนไหวได้เร็วมากในเวลากลางคืนเมื่อจะจับอาหาร ปกติเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นหลัก โดยจับสัตว์เล็ก ๆ กินเป็นอาหารได้หลากหลาย ทั้งแมงและแมลงต่าง ๆ, นก, ไข่นกและลูกนก หรือแม้กระทั่งค้างคาว อาจมีกินยอดใบอ่อนของพืชหรือผลไม้ต่าง ๆ เป็นอาหารรองลงไปได้ด้วย โดยปกติเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยอยู่ตามลำพัง

พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบ หรือป่าเสื่อมโทรมของทวีปแอฟริกาตอนกลาง และในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทวีปเอเชีย ในลิงลม หรือนางอาย ซึ่งพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีน้ำลายที่มีพิษร้ายแรงอีกต่างหาก โดยถือว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงจำพวกเดียวที่มีพิษ โดยพิษนี้มีลักษณะคล้ายน้ำมันที่ผลิตออกมาจากข้อศอก ลิงลมจะผสมน้ำมันนี้กับน้ำลายตัวเองเพื่อใช้ในการกัด ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการพิษนี้ ซึ่งเป็นไปได้ทั้งใช้เพื่อการป้องกันตัว, แย่งชิงคู่และอาณาเขต, ล่าอาหาร รวมถึงมีไว้เพื่อกำจัดปรสิตสิ่งรบกวนตามร่างกายอีกด้วย [2]

การจำแนก แก้

ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 5 สกุล 11 ชนิด [4] (พบในประเทศไทย 2 ชนิด[1])

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Lorisidae "Family: Lorisidae". สยามเอนซิส. 9 October 2010. สืบค้นเมื่อ 28 May 2014. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  2. 2.0 2.1 "จอมซนแห่งเกาะชวา". ไทยพีบีเอส. 26 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-14. สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
  3. กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. ISBN 978-9749-906-651
  4. 4.0 4.1 Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 121–123. ISBN 0-801-88221-4.
  5. Brandon-Jones, D.; Eudey, A. A.; Geissmann, T.; Groves, C. P.; Melnick, D. J.; Morales, J. C.; Shekelle, M.; Stewart, C.-B. (2004). "Asian Primate Classification" (PDF). International Journal of Primatology. 25 (1): 100.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้