ลิงลมเหนือ
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Lorisidae
สกุล: Nycticebus
สปีชีส์: N.  bengalensis
ชื่อทวินาม
Nycticebus bengalensis
(Lacépède, 1800)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของลิงลมเหนือ
ชื่อพ้อง[2][3]

ลิงลมเหนือ หรือ ลิงลมเบงกอล (อังกฤษ: Bengal slow loris, Northern slow loris; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nycticebus bengalensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในอันดับวานร (Primates) ในวงศ์ลิงลม (Lorisidae)

จัดเป็นลิงลมชนิดหนึ่ง ที่เป็นลิงลมที่พบได้ในประเทศไทยทั่วทุกภาค นอกจากลิงลมใต้ (N. coucang) ซึ่งลิงลมเหนือนับเป็นลิงลมที่เพิ่งมีการจำแนกออกเป็นชนิดใหม่

เป็นลิงลมที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักตัว 900-1,400 กรัม ความยาวลำตัวจากหัวและลำตัว 325-360 มิลลิเมตร ใบหูมองเห็นได้ชัดเจน โดยจะจมหายไปกับขนบนหัว สีขนมีความแตกต่างหากหลายกันไปตามสภาพพื้นที่ ตั้งแต่ สีเทาอมครีม, สีครีม, สีน้ำตาลอ่อน, สีส้มหม่น มีเส้นพาดกลางหลังสีน้ำตาลจรดหาง บนใบหน้าไม่ปรากฏเส้นพาดสีดำไปยังหูทั้ง 2 ข้าง และไปยังดวงตา 2 ข้าง เป็นลักษณะรูปคล้ายช้อนส้อม หรือถ้าปรากฏก็จะจาง ๆ ขนรอบดวงตาเป็นสีเข้ม ผิวหนังที่ขาทั้ง 4 ข้าง เป็นสีซีด

พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้จนถึงภูมิภาคอินโดจีน แต่ตามกฎหมายในประเทศไทย ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย[4]

อ้างอิง แก้

  1. Streicher, U., Singh, M., Timmins, R.J. & Brockelman, W. (2008). "Nycticebus bengalensis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4. สืบค้นเมื่อ 9 January 2011.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Groves 2005, p. 122.
  3. Groves 2001, p. 99.
  4. การจำแนกลิงลมหรือนางอายในประเทศไทย

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Nycticebus bengalensis ที่วิกิสปีชีส์