ลิงกวาฟรังกาโนวา

ลิงกวาฟรังกาโนวา (อักษรโรมัน: Lingua Franca Nova, ออกเสียง: [ˈliŋgwa ˈfraŋka ˈnova]) ย่อเป็น LFN มีชื่อเรียกอีกแบบว่า เอเลเฟน (Elefen)[4] เป็นภาษาประดิษฐ์ช่วยในการสื่อสารที่ผลิตโดย C. George Boeree จากมหาวิทยาลัยชิพเพนส์เบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย[5] โดยมีรากศัพท์มาจากภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาฝรั่งเศส อิตาลี โปรตุเกส สเปน และกาตาลา ลิงกวาฟรังกาโนวามีรูปอักขระ 22 ตัวจากอักษรละติน

ลิงกวาฟรังกาโนวา
lingua franca nova
สร้างโดยC. George Boeree
วันที่ค.ศ. 1965[1]
การจัดตั้งและการใช้ภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ
จุดประสงค์
ภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ
  • ลิงกวาฟรังกาโนวา
ระบบการเขียนละติน
ซีริลลิก[2]
ที่มาฐานจากกลุ่มภาษาโรมานซ์และภาษาครีโอล
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบAsosia per Lingua Franca Nova (ALFN)[3]
รหัสภาษา
ISO 639-3lfn
นักภาษาศาสตร์lfn
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ไวยากรณ์ลิงกวาฟรังกาโนวาได้จากกลุ่มภาษาโรมานซ์และภาษาครีโอล โดยมีการทำระบบไวยากรณ์ให้เรียนรู้ง่ายกว่าเดิมเหมือนภาษาครีโอลส่วนใหญ่[6][7]

ตัวอย่าง แก้

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 แก้

Tota umanas es naseda como persones libre e egal en dinia e diretos. Los ave razona e consiensa e debe trata lunlotra con la spirito de fratia.[8]

มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ

คำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้า แก้

Nosa Padre, ci es en la sielo,
ta ce tua nom es santida,
ta ce tua rena veni,
ta ce tua vole aveni, sur la tera como en la sielo.
Dona oji nosa pan dial a nos,
e pardona nosa detas
como nos pardona nosa detores,
e no lasa nos cade en tenta,
ma libri nos de malia.
Amen.
[9]

ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์
พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ
พระอาณาจักรจงมาถึง
พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์
โปรดประทานอาหารประจำวัน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้
โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า
เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น
โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การผจญ
แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ
เอเมน

อ้างอิง แก้

  1. Boeree, C. George. "La evolui de elefen". Vici de Elefen (ภาษาลิงกัวฟรังกาโนวา). สืบค้นเมื่อ 2020-11-09.
  2. "Grammar of Lingua Franca Nova" (PDF). Vici de Elefen (ภาษาอังกฤษ). p. 3. Elefen uses the two most widely known alphabets in the world: Roman (or Latin) and Cyrillic.
  3. "Asosia per Lingua Franca Nova". Vici de Elefen (ภาษาลิงกัวฟรังกาโนวา).
  4. Boeree, C. George (March 2014). "Frequently asked questions". สืบค้นเมื่อ 2020-09-28. [...] we decided to use the alternative name “Elefen” for the language. Many followers found “Lingua Franca Nova” cumbersome, and “LFN” boring. So, “Elefen” was born [...]
  5. "Pennsylvania's dialects are as varied as its downtowns -- and dahntahns". PennLive.com.
  6. "Elefen - Introduction in English". elefen.org. สืบค้นเมื่อ 2018-05-29.
  7. Forsyth, Richard Sandes (2012). "In Praise of Fluffy Bunnies" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
  8. Boeree, C. George. "Declara universal de diretos umana" (ภาษาลิงกัวฟรังกาโนวา). สืบค้นเมื่อ 2020-11-14.
  9. "Nosa padre". Vici de Elefen (ภาษาลิงกัวฟรังกาโนวา). สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.

บรรณานุกรม แก้

  • Fisahn, Stefan (2005). "Plansprache: Lingua Franca Nova". Contraste. No. 244. p. 12.
  • Harrison, Richard K. (2008). "Lingua Franca Nova". Invented Languages. No. 1. pp. 30–33.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้