ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์ก
ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์ก ถูกกำหนดโดยพระราชบัญญัติการสืบราชสันตติวงศ์แห่งเดนมาร์ก[1] ที่มีการแก้ไขในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2496 ที่จำกัดให้มีการสืบราชสมบัติในผู้สืบสันดานของพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 ที่ประสูติแต่อะเล็กซันดรีเนอแห่งเม็คเลนบูวร์ก-ชเวรีน ทั้งต้องเป็นบุตรที่เกิดในสมรส และการลำดับจะเรียงตามลำดับบุตรคนโต[2]
ลำดับการสืบราชบัลลังก์
แก้หกลำดับแรก ณ วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2024 | |
---|---|
1. มกุฎราชกุมารคริสเตียน | |
2. เจ้าหญิงอิซาเบลลา | |
3. เจ้าชายวินเซนต์ | |
4. เจ้าหญิงโจเซฟิน | |
5. เจ้าชายโจอาคิม | |
6. เคานต์นิโคไลแห่งมงเปอซา |
- สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 (พ.ศ. 2413–2490)
- สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 (พ.ศ. 2442–2515)
- สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 (พระราชสมภพ พ.ศ. 2483)
- สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 (พระราชสมภพ พ.ศ. 2511)[2][3]
- (1) มกุฎราชกุมารคริสเตียน (พระราชสมภพ พ.ศ. 2548)[2][4]
- (2) เจ้าหญิงอิซาเบลลา (ประสูติ พ.ศ. 2550)[2][5]
- (3) เจ้าชายวินเซนต์ (ประสูติ พ.ศ. 2554)[2][6]
- (4) เจ้าหญิงโจเซฟิน (ประสูติ พ.ศ. 2554)[2][7]
- (5) เจ้าชายโจอาคิม (ประสูติ พ.ศ. 2512)[2][8]
- (6) เคานต์นิโคไลแห่งมงเปอซา (เกิด พ.ศ. 2542)[2][9]
- (7) เคานต์เฟลิกซ์แห่งมงเปอซา (เกิด พ.ศ. 2545)[2][10]
- (8) เคานต์เฮนริกแห่งมงเปอซา (เกิด พ.ศ. 2550)[2][11]
- (9) เคาน์เตสอะธีนาแห่งมงเปอซา (เกิด พ.ศ. 2555)[2][12]
- สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 (พระราชสมภพ พ.ศ. 2511)[2][3]
- (10) เจ้าหญิงเบเนดิกเทอ (ประสูติ พ.ศ. 2487)[2][13]
- เจ้าชายกุสทัฟแห่งไซน์-วิทเกินชไตน์-แบร์เลอบวร์ค (ประสูติ พ.ศ. 2512) X [13]
- เจ้าหญิงอเล็กซันดราแห่งไซน์-วิตเกนชไตน์-เบอร์เลบวร์ค (ประสูติ พ.ศ. 2513) X [13]
- เจ้าหญิงนาตาลีแห่งไซน์-วิตเกนชไตน์-เบอร์เลบวร์ค (ประสูติ พ.ศ. 2518) X [13]
- คอนสตันติน โยฮันน์สมันน์ (เกิด พ.ศ. 2553) X [13]
- สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ (พระราชสมภพ พ.ศ. 2489) G
- เจ้าหญิงอเล็กเซียแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ พ.ศ. 2508) G
- เจ้าชายปัฟโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ (พระราชสมภพ พ.ศ. 2510) G
- เจ้าหญิงมาเรีย-โอลิมเปียแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ พ.ศ. 2539) G
- เจ้าชายคอนสแตนติน อเล็กซิออสแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ พ.ศ. 2541) G
- เจ้าชายอาชิเลียส-อันเดรียสแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ พ.ศ. 2543) G
- เจ้าชายโอดีสซีส-คีโมนแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ พ.ศ. 2547) G
- เจ้าชายอริสทิเดส สตาวรอสแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ พ.ศ. 2551) G
- เจ้าชายนิโกเลาส์แห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ พ.ศ. 2512) G
- เจ้าหญิงเธโอโดราแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ พ.ศ. 2526) G
- เจ้าชายฟิลิปปอสแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ พ.ศ. 2529) G
- สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 (พระราชสมภพ พ.ศ. 2483)
- รัชทายาทคนุด (พ.ศ. 2443–2519)
- เคานต์อิงกอล์ฟแห่งโรเซินบอร์ก (เกิด พ.ศ. 2483) X
- เคานต์คริสเตียนแห่งโรเซินบอร์ก (พ.ศ. 2485–2556) X
- สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 (พ.ศ. 2442–2515)
เครื่องหมาย | คำอธิบาย |
---|---|
G | ราชวงศ์กรีซมีฐานะเป็นเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเดนมาร์ก แต่ไม่มีสิทธิในการสืบราชสันตติวงศ์ |
X | ถูกข้ามจากลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ |
หมายเหตุ
แก้อนึ่งการเสกสมรสของเจ้าหญิงเบเนดิกเทอ พระกนิษฐราชินี กับเจ้าชายริชาร์ดแห่งไซน์-วิตต์เกนชไตน์-เบอร์เลบูวร์ก ซึ่งเป็นเจ้านายต่างฐานันดร เมื่อปี พ.ศ. 2511 นั้น มีเงื่อนไขว่าพระโอรสหรือพระธิดาของเจ้าหญิงจะไม่มีสิทธิ์ในการสืบราชสันตติวงศ์[2] แต่เฮนริก ซาห์เล (เดนมาร์ก: Henrik Zahle) นักกฎหมายชาวเดนมาร์ก ได้ออกมาถกเถียงว่าผู้สืบสันดานของเจ้าหญิงเบเนดิกเทอมีสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติ[14]
ส่วนในกรณีของสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ พระกนิษฐราชินีพระองค์เล็กที่ได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ เมื่อปี พ.ศ. 2507 นั้น ถูกมองว่าเป็นการอภิเษกกับเจ้านายต่างด้าวแม้ว่าจะเป็นเจ้านายร่วมราชวงศ์เดียวกันและมีพระอิสริยยศเป็น "เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก" ก็ตาม แต่การอภิเษกสมรสนี้มีเงื่อนไขว่าพระองค์และผู้สืบสันดานจะต้องสละสิทธิ์ในการสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์ก[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ICL - Denmark - Succession to the Throne Act". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-27. สืบค้นเมื่อ 2011-04-16.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 "The Royal House - The Danish Monarchy". www.kongehuset.dk. Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-08. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
การสืบทอดราชสันตติวงศ์จะอยู่ในสายของผู้สืบสันดานของกษัตริย์คริสเตียนที่ 10 กับราชินีอะเล็กซันดรีเนอ (The throne is inherited in King Christian 10. and Queen Alexandrine's posterity.)
- ↑ "His Royal Highness The Crown Prince". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
มกุฎราชกุมารเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 กับเจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก เป็นผู้สืบทอดราชสันตติวงศ์ และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเสด็จออกนอกประเทศ (The Crown Prince is the son of HM Queen Margrethe II and HRH Prince Henrik of Denmark. He is in line to succeed to the throne and is the regent when HM The Queen is out of the country.)
- ↑ "His Royal Highness Prince Christian". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-03. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
เจ้าชายคริสเตียนทรงอยู่ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับต่อจากองค์มกุฎราชกุมาร (HRH Prince Christian is included in the order of succession to the Throne after HRH the Crown Prince.)
- ↑ "Her Royal Highness Princess Isabella". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-17. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
เจ้าหญิงอิซาเบลลาทรงอยู่ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับต่อจากเจ้าชายคริสเตียน (Princess Isabella is included in the order of succession to the Throne after Prince Christian.)
- ↑ "His Royal Highness Prince Vincent". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-04. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
เจ้าชายวินเซนต์ทรงอยู่ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับต่อจากเจ้าหญิงอิซาเบลลา (HRH Prince Vincent is included in the order of succession to the Throne after HRH Princess Isabella.)
- ↑ "Her Royal Highness Princess Josephine". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-20. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
เจ้าหญิงโจเซฟินทรงอยู่ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับต่อจากเจ้าชายวินเซนต์ (HRH Princess Josephine is included in the order of succession to the Throne after HRH Prince Vincent.)
- ↑ "His Royal Highness Prince Joachim". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-08. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
เจ้าชายโจอาคิมเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 กับเจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก เป็นผู้สืบทอดราชสันตติวงศ์ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถและพระยุพราชเสด็จออกนอกประเทศ (His Royal Highness Prince Joachim is the son of HM Queen Margrethe II and HRH Prince Henrik of Denmark. He is included in the order of succession to the Throne and may act as Regent when HM The Queen and HRH Crown Prince Frederik are abroad.)
- ↑ "His Highness Prince Nikolai". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-05. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
เจ้าชายนิโคไลทรงอยู่ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ (Prince Nikolai is included in the order of succession to the Throne.)
- ↑ "His Highness Prince Felix". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-28. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
เจ้าชายเฟลิกซ์ทรงอยู่ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ (Prince Felix is included in the order of succession to the Throne.)
- ↑ "His Highness Prince Henrik". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
เจ้าชายเฮนริกทรงอยู่ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ (Prince Henrik is included in the order of succession to the Throne.)
- ↑ "Her Highness Princess Athena". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-18. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
เจ้าหญิงอะธีนาทรงอยู่ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ (Princess Athena is included in the order of succession to the Throne.)
- ↑ 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 "Her Royal Highness Princess Benedikte". Danish Royal Court. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-12. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
- ↑ 14.0 14.1 Kurrild-Klitgaard, Peter (1999-02-02). "Conditional Consent, Dynastic Rights and the Danish Law of Succession". Hoelseth's Royal Corner. Dag Trygsland Hoelseth. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)