ลักษณะการวางท่า (อังกฤษ: Attitude) ในมุทราศาสตร์ “ลักษณะการวางท่า” คือลักษณะท่างทางการวางร่างกายของสัตว์, สัตว์ในตำนาน, มนุษย์ หรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ที่ปรากฏเป็นเครื่องหมาย, ประคองข้าง หรือ เครื่องยอด ลักษณะการวางท่าบางท่าก็จะใช้เฉพาะสัตว์ที่ล่าเหยื่อและเป็นสัตว์ที่จะพบบ่อยบนตราอาร์มคือสิงโต และบางท่าก็จะใช้สำหรับสัตว์ที่เชื่องเท่านั้นเช่นกวาง บางท่าก็ใช้สำหรับนกส่วนใหญ่จะเป็นท่าสำหรับสัตว์ที่พบบ่อยในการสร้างตราคือนกอินทรี คำว่า “naiant” (ว่ายน้ำ) แม้ว่าจะใช้สำหรับปลาแต่ก็ใช้กับหงส์, เป็ด หรือห่านได้ ถ้าเป็นนกก็บรรยายต่อไปถึงตำแหน่งของปีก หรือ คำว่า “segreant” ก็จะใช้เฉพาะสัตว์ในตำนาน หรือ คำว่า “rampant” (ยืนผงาด) ก็จะใช้กับสัตว์ปีกเช่นกริฟฟิน และ มังกร นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีท่าที่บอกทิศทางที่แตกต่างไปจากทิศทางที่วางท่าตามปกติ สัตว์หรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนสัตว์โดยทั่วไปจะว่างท่าด้านข้างหันขวาไปทางโล่ (ซ้ายของผู้ดู) ถ้าเป็นมนุษย์และสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์โดยทั่วไปก็จะเป็นท่า “affronté” (มองตรงมายังผู้ดู) นอกจากจะระบุว่าเป็นท่าอื่นในนิยามของตรา

ท่ายืนยกเท้าหน้า (“passant gardant”) เป็นท่าของ “เสือดาว” ที่พบบ่อย

ลักษณะการวางท่าที่บ่งทิศทาง แก้

สัตว์หรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนสัตว์โดยทั่วไปจะวางท่าด้านข้างหันขวาไปทางโล่ (ซ้ายของผู้ดู) นอกจากจะระบุว่าเป็นท่าอื่นในนิยามของตรา ถ้าเป็นมนุษย์และสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์โดยทั่วไปก็จะเป็นท่า “affronté” (มองตรงมายังผู้ดู) นอกจากจะระบุว่าเป็นท่าอื่นในนิยามของตรา

  • ท่าหันขวา (To dexter) หรือซ้ายของผู้ดูตราเป็นท่าโดยทั่วไปจะใช้กับสัตว์จึงไม่จำเป็นต้องระบุ แต่ถ้าใช้สำหรับคนหรือสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ก็จะระบุ
  • ท่าหันซ้าย (To sinister หรือ contourné) หรือขวาของผู้ดู ถ้าใช้กับสัตว์ก็จะหมายความว่าหันไปท่างซ้ายของโล่
  • ประจันหน้า (Affronté) ก็จะเป็นท่าที่สัตว์ตรงมาทางผู้ดูทั้งตัว แต่เป็นท่าที่โดยทั่วไปที่ใช้สำหรับมนุษย์และสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ และจะไม่ค่อยใช้กับสัตว์
  • ท่าหันหน้า (Guardant) ก็จะเป็นท่าที่สัตว์หันหัวมาทางผู้ดูทั้งตัว
  • เอี้ยวคอ (Regardant) ก็จะเป็นท่าที่สัตว์หันเอี้ยวหัวข้ามไหล่มาทางผู้ดูทั้งตัว

ลักษณะการวางท่าของสัตว์ แก้

ลักษณะการวางท่าบางลักษณะก็เหมาะกับท่าทางของสัตว์ล่าเหยื่อและบางท่าก็จะเป็นท่าสำหรับสัตว์ที่เชื่อง สิ่งที่น่าสังเกตคือนอกจากการวางท่าทั้งตัวของสัตว์เช่นสิงโตหรือสัตว์ที่ดุร้ายชนิดอื่นแล้วก็อาจจะระบุการวางท่าของหัวสัตว์ สีของส่วนต่างของร่างกายหรืออวัยวะ (เช่นฟัน, เขี้ยว, ลิ้น และอื่นๆ) หรือลักษณะและท่าของหางด้วย สัตว์อาจจะมี “มีเขี้ยวเล็บ” (armed เช่นมีเขา, ฟัน และกรงเล็บ) หรือมี “มีลิ้น” (langued) ที่เป็นสีที่แตกต่างจากสีตัว ขณะที่กวางอาจจะ “มีเขา” (attired) หรือ “มีกีบ” (hooves) ที่เป็นสีที่แตกต่างจากสีตัว สิงโตหรือสัตว์ที่ดุร้าย “ท่าขลาด” (coward) ก็จะเป็นท่าที่เอาหางซ่อนไว้ระหว่างขาหลัง[1] หรือบางครั้งหางก็อาจจะเป็น “หางปม” (nowed), “หางแฉก” (queue fourchée) หรือ “สองหาง” (double-queued) เช่นตราของราชอาณาจักรโบฮีเมียที่ใช้สิงห์หางแฉก

ยืนผงาด แก้

“ยืนผงาด” (Rampant) มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า “ยกขึ้น” ) เป็นท่าที่พบบ่อยที่สุด เป็นท่ายืนตรงหันข้างยกขาหน้า[2] ตำแหน่งของขาหลังของท่านี้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น บางท่าก็จะยืนกางขาห่างกันบนสองเท้าหลัง หรือยืนบนขาเดียว อีกขาหนึ่งยกขึ้นพร้อมที่จะตะปบ คำว่า “rampant” บางครั้งก็อาจจะไม่ใช้ โดยเฉพาะในนิยามของตราในสมัยต้นๆ เพราะเป็นท่าที่ใช้กันเป็นปกติ
ข้อสังเกต: บางครั้งท่านี้ก็เรียกว่า “segreant” แต่เป็นท่าเดียวกับที่ใช้สำหรับกริฟฟินและมังกร[3] เพราะความที่ท่ายืนผงาดเป็นท่าที่ใช้บ่อยที่สุด ประคองข้างแทบทั้งหมดจึงเป็นท่าที่ว่านี้

ยืนยกเท้าหน้า หรือ ยุรยาตรยกเท้าหน้า แก้

“ยืนยกเท้าหน้า” หรือ “ยุรยาตรยกเท้าหน้า” (Passant) มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า “striding” หรือ “ยุรยาตร” ท่านี้จะเป็นท่าที่สัตว์เดินหันข้างไปทางขวาของผู้ชมตรา โดยยกขาขวา อีกสามขาอยู่บนพื้น[4] “สิงโตของอังกฤษ” เป็นสิงโตที่มีคำนิยามว่า “สิงห์ยืนยกเท้าหน้าสีทอง” (lion passant guardant Or) ที่เป็นสัญลักษณ์ที่มาเพิ่มเติมเพื่อเกียรติยศ (Augmentation of honour) [4] ถ้าเป็นกวางและสัตว์คล้ายกวางที่วางท่าเดียวกันนี้ก็จะใช้คำว่า “trippant” แทนที่คำว่า “Passant” สิ่งที่น่าสนใจคือสิงโตที่เดินในท่านี้ของฝรั่งเศสจะเรียกว่า “เสือดาว” แต่ก็เป็นการเรียกที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้ง[5]

นั่ง แก้

“นั่ง” (sejant หรือ sejeant) มาจากภาษาฝรั่งเศสสมัยกลางว่า “seant” หรือ “นั่ง” จะเป็นท่านั่งหรือหมอบโดยขาหน้าสองขาอยู่บนพื้น[6]

ถ้าสัตว์ “นั่งยกเท้าหน้า” (Sejant erect) ก็จะเป็นท่านั่งหรือหมอบแต่ร่างจะตรงและขาหน้าสองขาจะยกในท่าเดียวกับท่า “ผงาด” ที่ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า “นั่งยกเท้าหน้าผงาด” (sejant-rampant)[6]

ตีลังกา แก้

ถ้าสัตว์ “ตีลังกา” (cadent) (ภาษาลาติน: cadēns, "ล้ม") ก็จะเป็นท่าคว่ำโดยเฉพาะเมื่อใช้ในการประคองโล่ ท่านี้มักจะใช้กับวาฬ, โลมา และปลาอื่นๆ ถ้าสัตว์หันไปทางซ้ายก็จะเรียกว่า “ตีลังกาขวา” (cadent dexter) ถ้าสัตว์หันไปทางขวาก็จะเรียกว่า “ตีลังกาซ้าย” (cadent sinister)

นอนสง่า แก้

“นอนสง่า” (couchant) มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า “นอน” เป็นท่านอนหมอบแต่ยกหัว[7] แต่ถ้าเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้ายก็จะใช้คำว่า “Lodged” แทนคำว่า “couchant”

วิ่ง แก้

“วิ่ง” หรือ “วิ่งไล่” (courant หรือ at speed หรือ in full chase) เป็นท่าวิ่งอย่างเต็มที่โดยที่ขาทั้งสี่ลอยจากพื้น

หลับ แก้

ถ้าสัตว์ “หลับ” (salient) (ภาษาฝรั่งเศสเก่า: หลับ") ก็จะเป็นท่านอนตาหลับและซบหัวบนอุ้งเท้าหน้าเหมือนกับนอนหลับ[7] “Dormant erect” มีความหมายเดียวกับ “นอนสง่า”

กระโจน แก้

ถ้าสัตว์ “กระโจน” (Salient หรือ springing) (ภาษาลาติน: saliēns, "กระโจน") ก็จะเป็นท่ากระโดดโดยที่ขาสองขาหลังยังอยู่บนพื้น และขาหน้ายกขึ้น[8] เป็นท่าที่ไม่ค่อยใช้กับสิงโต[8] แต่จะใช้กับสัตว์อื่นๆ ถ้าเป็นกวางและสัตว์ที่ไม่ดุร้ายก็จะใช้คำว่า “springing” แทนที่

ยืน / ยุรยาตร แก้

“ยืน” / “ยุรยาตร” (statant) (ภาษาฝรั่งเศสเก่า: "ยืน") เป็นท่ายืนด้านข้างหันไปทางขวา ขาทั้งสี่อยู่บนพื้น และขาหน้าสองขามักจะชิดกัน[9] ท่านี้มักจะใช้กับเครื่องยอดมากกว่าที่จะเป็นเครื่องหมายบนโล่[8] สำหรับสัตว์บางชนิดเช่นหมี ก็จะเป็นที่ยืนเต็มตัวด้วยขาหลังสองขาที่อาจจะเรียกว่า “ยืนตรง” (statant erect) ถ้าเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้ายก็จะใช้คำว่า “at bay” แทนที่ แต่ถ้าเป็นท่า “ยืนตรงหันหน้า” (statant guardant) ก็จะใช้คำว่า “at gaze”

ลักษณะการวางท่าของนก แก้

 
ท่า “นกกระทุงเสียสละ”

ลักษณะการวางท่าบางท่าก็ใช้สำหรับนก นกอินทรีมักจะเป็นท่า “กางปีก” (displayed) ในตราอาร์มรุ่นเก่าซึ่งทำให้กลายเป็นท่ามาตรฐานโดยไม่ต้องนิยาม ถ้าวางท่าอื่นจึงจะนิยาม ลักษณะการวางท่าหนึ่งที่แปลกและใช้เฉพาะนกนกเพลิแกนคือท่าที่เรียกว่า “นกกระทุงเสียสละ” (pelican in her piety) ซึ่งเป็นท่าที่ยกปีกและจิกอกตนเองเพื่อเลี้ยงลูกในรัง ท่านี้มีความหมายทางคริสต์ศาสนาและเป็นที่นิยมใช้กันเป็นสัญลักษณ์ในตราอาร์ม และแทบจะเป็นท่าเดียวที่ใช้สำหรับนกกระทุง[10] ในบางท่าจะมีแต่เพียงนกกระทุงเท่านั้นที่จิกอกตนเองโดยไม่มีลูก ท่านี้เรียกว่า “นกกระทุงจิกอก” (vulning herself) และ “นกกระทุงเลี้ยงลูก” (in her piety) ซึ่งเป็นท่านกกระทุงล้อมรอบด้วยลูกนกขณะที่กำลังเลี้ยงลูก[11]

คำที่ใช้บรรยายท่าของปีกนกก็มีด้วยกันหลายคำ แทนที่จะเป็นลักษณะการวางท่าของนกทั้งตัว นกส่วนใหญ่แล้วจะใช้ท่าต่างๆ ที่ได้แก่

  • “กางปีก” (wings displayed) เป็นท่าที่กางปีกออกไปจนสุดบริเวณตรา ปีกขวาจะกางไปข้างหน้า ปีกซ้ายจะกางไปข้างหลัง เพื่อให้เห็นใต้ปีกทั้งสองปีกได้อย่างชัดเจน
  • “กระพือปีก” (Wings addorsed) เป็นท่าที่ยกปีกขึ้นพร้อมที่จะบิน ฉะนั้นจึงเห็นตอนบนของปีกขวาของนกหลังปีกซ้ายที่กางเต็มที่
  • “ยกปีกขึ้น” (wings elevated) ยกปีกให้ปลายปีกชี้ขึ้น
  • “ยกปีกลง” (wings inverted) ยกปีกให้ปลายปีกชี้ลง
   
กางปีกยกขึ้น กางปีกยกลง

กางปีก แก้

ท่า “กางปีก” (Displayed) เป็นท่าด้านตรง หัวหันไปทางขวาและปีกกางออกไปทั้งสองข้างจนเต็มผืนตรา เป็นที่มาตรฐานสำหรับนกอินทรี การใช้นกอินทรีท่านี้ใช้กันมาตั้งแต่โบราณตั้งแต่สมัยชาร์เลอมาญก่อนที่จะมีการจะใช้ตราอาร์ม[12]

ยกปีก แก้

ท่า “ยกปีก” (Rising หรือ rousant) เป็นท่าที่หันไปทางขวา หัวยกขึ้นและยกปีกราวกับพร้อมที่จะบิน ปีกอาจจะนิยามว่า “กาง” (displayed) หรือ “กระพือ” (addorsed) และอาจจบรรยายต่อไปว่าขึ้น (elevated) หรือลง (inverted)

บิน แก้

ท่า “บิน” (volant) เป็นท่าที่หันไปทางซ้ายกางปีกขณะที่บิน

พัก แก้

ท่า “เกาะคอน” (trussed หรือ close หรือ perched) เป็นท่าพักหุบปีก

ยืนยาม แก้

ท่า “ยืนยาม” (vigilant) เป็นท่ายืนขาเดียวที่ใช้กับนกกระสาหรือนกที่คล้ายกัน

ลักษณะการวางท่าอื่นๆ แก้

นอกจากคำต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นแล้วก็ยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้ในการบรรยายลักษณะการวางท่าอื่นๆ สำหรับสัตว์อื่นด้วย เช่นคำว่า “glissant” หรือ “nowed” ที่ใช้สำหรับ serpent

กางปีกผงาด แก้

ท่า “กางปีกผงาด” (segreant) จะเป็นท่าที่ขาหน้าสองขายกขึ้นในท่า “ยืนผงาด” โดยยกปีกขึ้น คำนี้ใช้เฉพาะสัตว์สี่ขาที่มีปีกเช่นกริฟฟิน และมังกร

ต่อสู้ แก้

ท่า “ต่อสู้” (Combatant) เป็นท่าด้านข้างของสัตว์สองตัวหันหน้าเข้าหากันในท่า “ยืนผงาด” หรือ “กางปีกผงาด” ท่านี้ใช้ได้สำหรับสัตว์ทุกชนิด แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้กับสัตว์ที่ดุร้ายหรือสัตว์ในวรรณคดี จะเป็นท่าที่ไม่ใช้กับสัตว์ที่มีเพียงตัวเดียว

หันออกจากกัน แก้

ท่า “หันออกจากกัน” (addorsed หรือ endorsed) เป็นสัตว์สองตัวหันหลังจากกัน เช่นเดียวกับท่า “ต่อสู้” จะเป็นท่าที่ไม่ใช้กับสัตว์ที่มีเพียงตัวเดียว ท่านี้มักจะใช้กับปลา แต่ก็อาจจะใช้กับสัตว์ใดก็ได้ที่หันหลังจากกัน หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นกุญแจในท่า “หันออกจากกัน”

ว่ายน้ำ แก้

ท่า “ว่ายน้ำ” (Naiant) ท่านี้มักจะใช้กับปลาในท่าราบ (ไม่ใช่ “ปลายืน”) แต่อาจจะใช้กับสัตว์ทะเล หรือบางครั้งก็อาจจะใช้กับนกน้ำเช่น หงส์ เป็ด หรือห่านก็ได้

ปลายืน แก้

ท่า “ปลายืน” (Hauriant) เป็นท่าตั้งของปลา, โลมา หรือสัตว์ทะเลอื่นๆ

เลื้อย แก้

ท่า “เลื้อย” (Glissant) เป็นท่าที่ใช้กับงู (serpent)

ลักษณะหาง แก้

หางของสัตว์เช่นสิงโต มังกร หรือสัตว์อื่นๆ มีหลายลักษณะที่รวมทั้ง

  • “หางปม” (Nowed)
  • “หางแฉก” (forked tail)
  • “หางไขว้” (Crossed tail)
  • “หางบิด” (Crossed tail reverse)

ท่า “หางปม” (Nowed) Serpents, and often the tail of a lion, dragon, or other beast, is often nowed, or knotted, usually into a figure 8 pattern.

สัตว์ต่างๆ และท่าต่างๆ ที่ใช้ในตราอาร์ม แก้

สิงโตยุรยาตรยกเท้าหน้าเอี้ยวคอ วิ่ง

อ้างอิง แก้

  1. Fox-Davies (1909), p. 180.
  2. Fox-Davies (1909), p. 176.
  3. "Segreant". Dictionary of Heraldry. 2008-08-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-10. สืบค้นเมื่อ 2009-03-14.
  4. 4.0 4.1 Fox-Davies (1909), p. 181.
  5. Fox-Davies (1909), pp.172-3.
  6. 6.0 6.1 Fox-Davies (1909), p. 184.
  7. 7.0 7.1 Fox-Davies (1909), p. 185.
  8. 8.0 8.1 8.2 Fox-Davies (1909), p. 183.
  9. Fox-Davies (1909), p. 182.
  10. Fox-Davies (1909), p. 242.
  11. Cussans (2003), p. 93.
  12. Fox-Davies (1909), p. 233.

ดูเพิ่ม แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สัตว์ที่ใช้ในตราอาร์ม