75°S 301°E / 75°S 301°E / -75; 301[1]

ภาพแสดงแอ่งรีอาซิลเวียบริเวณซีกใต้ของเวสตา

รีอาซิลเวีย (อังกฤษ: Rheasilvia) เป็นลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นที่สุดในดาวเคราะห์น้อยเวสตาและคาดว่านี้อาจเป็นผลกระทบจากแอ่งปะทะ ปากแอ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 505 กม. คิดเป็น 90% ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเวสตาเองและคิดเป็น 95% เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของเวสตา (529 กม.) อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยของเวสตานั้นเป็นผลกระทบจากแอ่งปะทะนั้นเอง จุดสูงสุดตรงกลางแอ่งนั้นมีความสูงกว่า 22 กม.[2][3]ทำให้มันเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ[3]

การค้นพบ แก้

รีอาซิลเวียถูกพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลใน พ.ศ. 2540[4] แต่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อจนกระทั่งยานสำรวจอวกาศดอว์นไปสำรวจเวสตาใน พ.ศ. 2554 ชื่อของมันตั้งตาม รีอา ซิลเวีย เทพธิดาพรหมจารีและมารดาของผู้ก่อตั้งกรุงโรม[1]

ลักษณะ แก้

แอ่งรีอาซิลเวียบางส่วนทับกับเวนอิเนอา (Veneneia) ซึ่งเป็นแอ่งที่เกิดก่อนและมีขนาดใหญ่เกือบ 395 กม.[5]

ขอบของรีอาซิลเวียมีความลาดชันและสูง 4-12 กิโลเมตรเหนือพื้นที่โดยรอบ ก้นแอ่งมีความลึก 13 กิโลเมตรใต้พื้นดินโดยรอบ กลางแอ่งมีลักษณะเป็นลูกคลื่นและเนินกลางแอ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 กิโลเมตรและสูงจากก้นแอ่งประมาณ 20-25 กิโลเมตร[2][3]ซึ่งสูงที่สุดในระบบสุริยะ แอ่งนี้คาดว่าน่าจะเกิดจากการชนกันของดาวเคราะห์น้อย[6]

การศึกษาสเปกโทรสโกปีของฮับเบิลได้แสดงให้เห็นว่าแอ่งอุตกาบาตนี้เจาะลึกลงไปบนชั้นต่าง ๆ ของเปลือกดาวและอาจจะเจาะลงไปถึงเนื้อดาวตามผลที่แสดงโดยเส้นสเปกตรัมของโอลิวีน[7]

เวสตามีร่องแคบในเขตเส้นศูนย์สูตรซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการชนครั้งใหญ่ ร่องแคบที่ใหญ่ที่สุดคือดิวาเลียน ฟอสซา (Divalia Fossa) ซึ่งกว้าง 22 กม. ยาว 465 กม.

มีการประเมินว่าการชนครั้งนี้ทำให้ขุดปริมาตรของเวสตาออกมาประมาณ 1% และเป็นไปได้ว่าดาวเคราะห์น้อยตระกูลเวสต้าและดาวเคราะห์น้อยประเภท Vเกิดมาจากการชนในครั้งนี้ หากกรณีนี้เป็นความจริงที่ว่ามีเศษประมาณ 10 กิโลเมตรรอดจากการโดนระเบิดจนถึงปัจจุบันก็แสดงว่าแอ่งอุตกาบาตนี้มีอายุมากกว่า 1 พันล้านปีมาแล้ว[8] และยังรวมถึงนี้อาจเป็นที่มาของHED meteorite เชื่อกันว่าดาวเคราะห์น้อยประเภท V เป็น 6% ของมวลที่ออกมาจากเวสตาและยังมีเศษชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่เล็กจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ หรืออาจหายไปเพราะเข้าใกล้ช่องว่างเคิร์กวูดซึ่งเป็นผลจากสภาวะยาร์คอฟสกี (Yarkovsky effect) หรือRadiation pressure (ในกรณีของเศษเล็ก ๆ น้อย ๆ)

ภาพ แก้

 
แผนที่แสดงความสูงซีกใต้ของเวสตา
 
เส้นแสดงเขตของรีอาซิลเวียซึ่งทับกับบางส่วนของเวนอิเนอา
 
ภาพของเวสตาที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 บริเวณแบน ๆ ที่ด้านล่างขวาคือรีอาซิลเวีย
 
ภาพแนวเฉียงของรีอาซิลเวียที่คอมพิวเตอร์สร้างโดยแสดงระดับความสูงเป็นสีต่าง ๆ วิดีโอ flyover ดูได้ที่นี้
 
แผนที่ภูมิลักษณ์ซีกใต้ของเวสตาแสดงให้เห็นรีอาซิลเวียกับเวนอิเนอา
 
3-D ภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อมของยอดเขาควรใส่   แว่นสามมิติแดง ฟ้า เพื่อดูภาพนี้ในมุมมอง 3 มิติ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Rheasilvia". Gazetteer of Planetary Nomenclature. USGS Astrogeology Research Program. (NASA coordinates)
  2. 2.0 2.1 Schenk, Paul (2012). "The Geologically Recent Giant Impact Basins at Vesta's South Pole". Science. 336 (6082): 694–697. Bibcode:2012Sci...336..694S. doi:10.1126/science.1223272. PMID 22582256.
  3. 3.0 3.1 3.2 Vega, P. (11 October 2011). "New View of Vesta Mountain From NASA's Dawn Mission". dawn.jpl.nasa.gov. NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2018-02-17.
  4. Hubble Reveals Huge Crater on the Surface of the Asteroid Vesta
  5. 'Vesta seems more planet than asteroid' เก็บถาวร 2012-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Science News, 22 Mar 2012
  6. Karimi, S; Dombard, A.J. (2016). "On the possibility of viscoelastic deformation of the large south polar craters and true polar wander on the asteroid Vesta". Journal of Geophysical Research. 121: 1786–1797. Bibcode:2016JGRE..121.1786K. doi:10.1002/2016JE005064.
  7. Thomas, P. C.; และคณะ (1997). "Vesta: Spin Pole, Size, and Shape from HST Images". Icarus. 128 (1): 88. Bibcode:1997Icar..128...88T. doi:10.1006/icar.1997.5736.
  8. Binzel, R. P.; และคณะ (1997). "Geologic Mapping of Vesta from 1994 Hubble Space Telescope Images". Icarus. 128 (1): 95. Bibcode:1997Icar..128...95B. doi:10.1006/icar.1997.5734.