รายพระนามรัชทายาทลักเซมเบิร์ก

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

รายพระนามรัชทายาทลักเซมเบิร์ก รายพระนามนี้รวมถึงบุคคลทุกคนที่ได้รับการพิจารณาว่าจะได้รับมรดกสืบราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์ก หรือ แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก ไม่ว่าจะเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงหรือทายาทโดยสันนิษฐานนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งลักเซมเบิร์กในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1815 ผู้ที่ได้สิบราชบัลลังก์แกรนด์ดยุกหรือแกรนด์ดัชเชสจะแสดงเป็นตัวหนา

ราชรัฐลักเซมเบิร์กก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1815 โดยการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาและรวมอยู่ในรัฐใหม่คือ สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ภายใต้พระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ ในการแลกเปลี่ยนสำหรับบรรพบุรุษของพระองค์ โดยรัฐออเรนจ์-นัสเซาจะต้องตกเป็นของปรัสเซีย ส่งผลให้แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์กพระองค์แรกเป็นพระมหากษัตริย์ชาวดัตช์ และรัชทายาทก็จะเหมาะสมกับทั้งสองราชบัลลังก์ สหภาพเริ่มแตกสลายในปีค.ศ. 1884 เมื่อพระราชโอรสองค์สุดท้ายของพระมหากษัตริย์-แกรนด์ดยุกได้สิ้นพระชนม์ ทำให้ไม่มีรัชทายาทที่เป็นชายในสายพระราชสันตติวงศ์ของราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา ในขณะที่พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์คือ เจ้าหญิงวิลเฮลมินาสามารถ (และต้อง) สืบราชบัลลังก์ดัตช์ ในฐานะ สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์กในฐานะดินแดน "เยอรมัน" ตามข้อตกลงราชสกุลนัสเซาในปีค.ศ. 1783 ในที่นั้นกฎหมายแซลิก (การยกเว้นการสืบทอดมรดกของเพศหญิง) ได้นำมาใช้ แต่ราชบัลลังก์ได้ถูกส่งผ่านไปยังสาขาราชสกุลนัสเซาที่ยังคงเหลือเพียงหนึ่งคือ ราชสกุลนัสเซา-ไวล์บูร์ก[1]

ราชสกุลสาขานี้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกันในอีก 20 ปีต่อมา คือ แกรนด์ดยุกทรงมีพระราชธิดา 6 พระองค์แต่ไม่มีพระราชโอรส และถือได้ว่าพระญาติของพระองค์คือ เคานท์แห่งมาเรนเบิร์ก ซึ่งมาจากการแต่งงานต่างฐานันดร ซึ่งยากในการสืบราชบัลลังก์ แทนที่(จากการประท้วงของเคานท์แห่งมาเรนเบิร์ก)[2]พระองค์จะใช้คำอธิบายในเรื่อง "กฎหมายกึ่งแซลิก" แต่ทรงเห็นพ้อง (ซึ่งมีความชัดเจนกว่าข้อตกลงราชสกุลนัสเซา)ให้ผ่านราชบัลลังก์ไปยังพระราชธิดาของพระองค์ (และทายาทชายของเหล่าพระราชธิดา)ในการประสูติ โดยเฉพาะพระสวามีของแกรนด์ดัชเชสจะไม่มีบทบาทในฐานะประมุข[3]

ในปีค.ศ. 2011 กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยอนุญาตให้สตรีสามารถสืบราชบัลลังก์ได้เท่าเทียมกับบุรุษ[4]

รายพระนามรัชทายาท แก้

รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์ก
พระรูป รัชทายาท สถานะ ความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ เริ่มเป็นรัชทายาท สิ้นสุดการเป็นรัชทายาท ลำดับถัดไป พระมหากษัตริย์
วันที่ เหตุผล วันที่ เหตุผล
  วิลเลม เจ้าชายแห่งออเรนจ์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง พระราชโอรสองค์โต 16 มีนาคม ค.ศ. 1815 พระราชบิดาเป็นแกรนด์ดยุก 7 ตุลาคม ค.ศ. 1840 พระราชบิดาสละราชบัลลังก์
ทรงเริ่มเป็นแกรนด์ดยุก
เจ้าชายเฟรเดอริก, ค.ศ. 1815–1817, พระอนุชา
 
แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 1
 
เจ้าชายวิลเลม, ค.ศ. 1817–1840, พระราชโอรส
 
  วิลเลม เจ้าชายแห่งออเรนจ์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง พระราชโอรสองค์โต 7 ตุลาคม ค.ศ. 1840 พระราชบิดาเป็นแกรนด์ดยุก 17 มีนาคม ค.ศ. 1849 พระราชบิดาสวรรคต
ทรงเริ่มเป็นแกรนด์ดยุก
เจ้าชายวิลเลม, ค.ศ. 1840–1849, พระราชโอรส
 
แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 2
 
  วิลเลม เจ้าชายแห่งออเรนจ์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง พระราชโอรสองค์โต 17 มีนาคม ค.ศ. 1849 พระราชบิดาเป็นแกรนด์ดยุก 11 มิถุนายน ค.ศ. 1879 สิ้นพระชนม์ เจ้าชายมอริซ, ค.ศ. 1849–1850, พระอนุชา
 
แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 3
 
เจ้าชายอเล็กซานเดอร์, ค.ศ. 1850–1879, พระอนุชา
 
  อเล็กซานเดอร์ เจ้าชายแห่งออเรนจ์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง พระราชโอรสองค์สุดท้อง 11 มิถุนายน ค.ศ. 1879 พระเชษฐาสิ้นพระชนม์ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1884 สิ้นพระชนม์ เจ้าชายเฟรเดอริก, ค.ศ. 1879–1881, พระอนุชาในพระปัยกา
 
อดอล์ฟ ดยุกแห่งนัสเซา, ค.ศ. 1881–1884, รัชทายาทจากราชสกุลสาขารอง
 
  อดอล์ฟ ดยุกแห่งนัสเซา ทายาทโดยสันนิษฐาน รัชทายาทอาวุโสจากสายราชสกุลนัสเซา-ไวล์บูร์ก 21 มิถุนายน ค.ศ. 1884 รัชทายาทราชสกุลออเรนจ์-นัสเซาลำดับสุดท้ายสิ้นพระชนม์ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1890 แกรนด์ดยุกจากราชสกุลออเรนจ์-นัสเซาลำดับสุดท้ายสิ้นพระชนม์,
ทรงเริ่มเป็นแกรนด์ดยุก
เจ้าชายวิลเฮล์ม, ค.ศ. 1884–1890, พระราชโอรส
 
  แกรนด์ดยุกรัชทายาทวิลเลม ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง พระราชโอรส 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1890 พระราชบิดาเป็นแกรนด์ดยุก 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 พระราชบิดาสวรรคต,
ทรงเริ่มเป็นแกรนด์ดยุก
เจ้าชายนิโคเลาส์-วิลเฮล์ม, ค.ศ. 1890–1905, พระปิตุลา
 
แกรนด์ดยุกอดอล์ฟ
 
เคานท์จอร์จ นิโคเลาส์แห่งมาเรนเบิร์ก, ค.ศ. 1905, พระญาติ
 
  เคานท์จอร์จ นิโคเลาส์แห่งมาเรนเบิร์ก ทายาทโดยสันนิษฐาน พระญาติ ค.ศ. 1905 พระญาติเป็นแกรนด์ดยุก 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 ถูกยกเว้นตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เคานท์ไมเคิล อเล็กซานเดอร์แห่งมาเรนเบิร์ก, พระโอรส แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4
 
  เจ้าหญิงมารี-อาเดลาอีด ทายาทโดยสันนิษฐาน พระราชธิดาองค์โต 10 เมษายน ค.ศ. 1907 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 พระราชบิดาสวรรคต,
ทรงเริ่มเป็นแกรนด์ดัชเชส
เจ้าหญิงชาร์ล็อต, พระขนิษฐา
 
  เจ้าหญิงชาร์ล็อต ทายาทโดยสันนิษฐาน พระขนิษฐา 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 พระเชษฐภคินีเป็นแกรนด์ดัชเชส 14 มกราคม ค.ศ. 1919 พระเชษฐภคินีสละราชบัลลังก์,
ทรงเริ่มเป็นแกรนด์ดัชเชส
เจ้าหญิงฮิลดา, พระขนิษฐา
 
แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด
 
  เจ้าหญิงฮิลดา ทายาทโดยสันนิษฐาน พระขนิษฐา 14 มกราคม ค.ศ. 1919 พระเชษฐภคินีเป็นแกรนด์ดัชเชส 5 มกราคม ค.ศ. 1921 แกรนด์ดัชเชสทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรส เจ้าหญิงแอนโทเนีย, พระขนิษฐา
แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต
 
  แกรนด์ดยุกรัชทายาทฌ็อง ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง พระราชโอรสองค์โต 5 มกราคม ค.ศ. 1921 ประสูติ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1964 พระราชมารดาสละราชบัลลังก์,
ทรงเริ่มเป็นแกรนด์ดยุก
เจ้าหญิงฮิลดา, ค.ศ. 1921–1927, พระมาตุจฉา
 
เจ้าชายชาร์ลส์, ค.ศ. 1927–1955, พระอนุชา
 
เจ้าชายอ็องรี, ค.ศ. 1955–1964, พระราชโอรส
 
  แกรนด์ดยุกรัชทายาทอ็องรี ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง พระราชโอรสองค์โต 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1964 พระราชบิดาเป็นแกรนด์ดยุก 7 ตุลาคม ค.ศ. 2000 พระราชบิดาสละราชบัลลังก์,
ทรงเริ่มเป็นแกรนด์ดยุก
เจ้าชายฌ็อง, ค.ศ. 1964–1981, พระอนุชา
 
แกรนด์ดยุกฌ็อง
 
เจ้าชายกีโยม, ค.ศ. 1981–2000, พระราชโอรส
 
  แกรนด์ดยุกรัชทายาทกีโยม ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง พระราชโอรสองค์โต 7 ตุลาคม ค.ศ. 2000 พระราชบิดาเป็นแกรนด์ดยุก ปัจจุบัน เจ้าชายเฟลิกซ์ค.ศ. 2000-2020, พระอนุชา
 
แกรนด์ดยุกอ็องรี
 
เจ้าชายชาร์ล 2020-ปัจจุบัน, พระราชโอรส

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Constitution de Luxembourg" (PDF). Service central de législation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01. (ฝรั่งเศส)
  2. New York Times. "Count Merenberg Protests: Would Not Have a Woman Reign in Luxembourg". 16 June 1907.
  3. /(เยอรมัน) "Mémorial A, 1907, No. 37" (PDF). Service central de législation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14. (ฝรั่งเศส)
  4. "New Ducal succession rights for Grand Duchy". Luxemburger Wort. 21 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-19. สืบค้นเมื่อ 11 July 2011.