รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศฟิลิปปินส์

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศฟิลิปปินส์ทั้งสิ้น 6 แหล่ง[1] ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แหล่ง และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติอีก 3 แหล่ง

ที่ตั้ง แก้

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก แก้

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แก้

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ อ้างอิง
โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์   จังหวัดอีโลโคสนอร์เต, จังหวัดอีโลโคสซูร์, เมโทรมะนิลา และจังหวัดอีโลอีโล
14°35′20.7″N 120°58′29.8″E / 14.589083°N 120.974944°E / 14.589083; 120.974944 (Baroque Churches of the Philippines)
วัฒนธรรม:
(ii), (vi)
2536/1993 กลุ่มโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่ก่อสร้างในช่วงที่ยังเป็นอาณานิคมของสเปน (ค.ศ. 1521-ค.ศ. 1898) มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบบาโรก ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น และออกแบบมาให้คงทนกับภัยธรรมชาติและการรุกราน 677[2]
นาขั้นบันไดแห่งกลุ่มทิวเขาฟิลิปปินส์   จังหวัดอีฟูเกา
16°56′03.2″N 121°08′06.4″E / 16.934222°N 121.135111°E / 16.934222; 121.135111 (Rice Terraces of the Philippine Cordilleras)
วัฒนธรรม:
(iii), (iv), (v)
2538/1995 ภูมิทัศน์นาข้าวอันเป็นภูมิปัญญาของชนเผ่าอีฟูเกาซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในเขตหุบเขาตอนกลางของเกาะลูซอน โดยมีการปรับตัวปลูกพืชตามสภาพภูมิศาสตร์ด้วยการสกัดพื้นที่บนไหล่เขาเพื่อเพาะปลูกข้าวและทำระบบชลประทานโดยปราศจากระบบเครื่องจักรกล 722[3]
นครประวัติศาสตร์บีกัน   จังหวัดอีโลโคสซูร์
17°34′14.7″N 120°23′18.9″E / 17.570750°N 120.388583°E / 17.570750; 120.388583 (Historic Town of Vigan)
วัฒนธรรม:
(ii), (iv)
17.25 2542/1999 อดีตเมืองท่าค้าขายที่มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ในช่วงยุคอาณานิคมของสเปนมีการออกแบบผังเมืองและอาคารบ้านเรือนสถาปัตยกรรมโคโลเนียลของสเปนที่ปรับให้เข้ากับภูมิศาสตร์ของเมืองนี้ 502[4]

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ แก้

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ อ้างอิง
อุทยานธรรมชาติ
พืดหินปะการังตุบบาตาฮา
  จังหวัดปาลาวัน
8°52′40.2″N 119°54′05.9″E / 8.877833°N 119.901639°E / 8.877833; 119.901639 (Tubbataha Reefs Natural Park)
วัฒนธรรม:
(vii), (ix), (x)
96,828 2536/1993;
เพิ่มเติม 2552/2009
พื้นที่คุ้มครองที่ตั้งอยู่ในทะเลซูลู ประกอบด้วยเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการังใหญ่ 2 เกาะ และกลุ่มปะการังขนาดใหญ่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาทะเลหลากหลายสายพันธุ์ เต่าทะเล และฉลาม 653[5]
อุทยานแห่งชาติ
แม่น้ำใต้ดินปูเวร์โตปรินเซซา
  จังหวัดปาลาวัน
10°11′32.3″N 118°55′33.0″E / 10.192306°N 118.925833°E / 10.192306; 118.925833 (Puerto-Princesa Subterranean River National Park)
ธรรมชาติ:
(vii), (x)
22,202 2542/1999 อุทยานแห่งชาติแห่งเดียวบนเกาะปาลาวันและเป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลกยุคใหม่เนื่องด้วยความสวยงามของหินงอกหินย้อยในถ้ำหินปูนอายุราว 20 ล้านปีและแม่น้ำใต้ดินความยาว 8.2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นแม่น้ำใต้ดินที่มีความยาวมากที่สุดในโลก 652[6]
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ทิวเขาฮามีกีตัน
  จังหวัดดาเวาโอเรียนตัล
6°44′24.5″N 126°10′55.0″E / 6.740139°N 126.181944°E / 6.740139; 126.181944 (Mount Hamiguitan Range Wildlife Sanctuary)
ธรรมชาติ:
(x)
16,923.07;
พื้นที่กันชน 9,729.77
2557/2014 แหล่งอุดมสัตว์ป่าที่หลากหลายที่สุดของฟิลิปปินส์ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายาก เช่น นกอินทรีฟิลิปปิน ทาร์เซียร์ฟิลิปปิน สิงโตกลอกตา เป็นต้น 1403[7]

สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น แก้

ปัจจุบัน ประเทศฟิลิปปินส์มีสถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 19 แห่ง ดังนี้[1]

ปี พ.ศ./ค.ศ. ในวงเล็บ หมายถึงปีที่สถานที่นั้น ๆ ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
  • Batanes Protected landscapes and seascapes (2536/1993)
  • The Tabon Cave Complex and all of Lipuun (2549/2006)
  • แหล่งโบราณคดียุคหินเก่าในลัมบักนางคากายัน (2549/2006)
  • Kabayan Mummy Burial Caves (2549/2006)
  • แหล่งโบราณคดีบูตูอัน (2549/2006)
  • โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์ (เพิ่มเติม) (2549/2006)
  • ภาพบนแผ่นหินแห่งฟิลิปปินส์ (2549/2006)
  • Neolithic Shell Midden Sites in Lal-lo and Gattaran Municipalities (2549/2006)
  • Chocolate Hills Natural Monument (2549/2006)
  • อุทยานธรรมชาติทิวเขามาลินดัง (2549/2006)
  • อุทยานแห่งชาติเขาปูลัก (2549/2006)
  • อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังอาโป (2549/2006)
  • El Nido-Taytay Managed Resource Protected Area (2549/2006)
  • พื้นที่ชีวนะธรรมชาติเกาะโคโรน (2549/2006)
  • อุทยานแห่งชาติเขาอิกลิต-บาโค (2549/2006)
  • อุทยานธรรมชาตินอร์เทิร์นซีเยร์รามาเดรและพื้นที่รอบนอกรวมพื้นที่กันชน (2549/2006)
  • Mt. Mantalingahan Protected Landscape (2558/2015)
  • อุทยานธรรมชาติภูเขาไฟมาโยน (เอ็มเอ็มวีเอ็นพี) (2558/2015)
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหมู่เกาะเต่า (2558/2015)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "World Heritage Properties in Philippines". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2019.
  2. "Baroque Churches of the Philippines". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
  3. "Rice Terraces of the Philippine Cordilleras". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
  4. "Historic Town of Vigan". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
  5. "Tubbataha Reefs Natural Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2015.
  6. "Puerto Princesa Subterranean River National Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2015.
  7. "Mount Hamiguitan Range Wildlife Sanctuary". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2015.