รายชื่อรางวัลและการเสนอชื่อที่รักแห่งสยามได้รับ
รางวัลที่ภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยามได้รับ รางวัลแรกคือ รางวัลหนังแห่งปี พ.ศ. 2550 จากนิตยสารไบโอสโคป ด้วยเหตุผล "ท้าทายสังคม ทั้งในแง่ประเด็นหนัง การนำเสนอ ที่สะท้อนภาพสังคมไทยในยุคนี้ รวมถึงความกล้าในการทำหนังรักดราม่าความยาวกว่าสองชั่วโมงครึ่ง ที่หาดูได้ยากในตลาดหนังไทยยุคปัจจุบัน"[1] และได้รับรางวัลร่วมกับหนังอีก 3 เรื่อง อย่าง Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์, มะหมา 4 ขาครับ และแสงศตวรรษ ซึ่งการมอบรางวัลไบโอสโคปอวอร์ดสนี้มีการมอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546[2] การมอบรางวัลคมชัดลึกอวอร์ดครั้งที่ 5 รักแห่งสยาม ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และยังคว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช)[3] ทางด้านการแจกรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 17 ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม ได้รับ 3 รางวัลคือ รางวัลผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์),รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) และรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[4]
ส่วนรางวัลจากนิตยสารและหนังสือพิมพ์ที่มอบให้ภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม เช่น อันดับ 1 หนังกระแสร้อนแห่งปี 2550 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์[5] รางวัลสุดยอดแห่งปี 2007 จากผู้อ่านนิตยสารฟลิกส์ ในสาขาหนังไทย และ ดาราหญิง (สินจัย เปล่งพานิช),[6] รางวัลจากนิตยสารเอนเตอร์เทน ในสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช)[7] , รางวัลจากนิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ 3 สาขาด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) และ นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช)[8]
นอกจากนี้ ในการประกาศผลรางวัลสตาร์พิกส์ไทยฟิล์มสอวอร์ดส ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสารสตาร์พิกส์ รักแห่งสยามยังได้รับรางวัลมากถึง 9 รางวัล จากรางวัลทั้งหมด 12 รางวัล ได้แก่ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (มาริโอ้ เมาเร่อ) นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช)นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) กำกับภาพยอดเยี่ยม (จิตติ เอื้อนรการกิจ) ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (กิตติ เครือมณี)และภาพยนตร์ยอดนิยม[9]
การเสนอชื่อเข้าชิง
แก้ด้านการได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล รักแห่งสยามยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอเชียนฟิล์ม ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกง พ.ศ. 2551 โดยมาริโอ้ เมาเร่อ ได้รับการเสนอชื่อในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม และชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาผู้ประพันธ์เพลงในภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ร่วมกับวงออกัส วงฟลัวร์ วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล และภาสกร วิรุฬห์ทรัพย์ ซึ่งพิธีประกาศรางวัลดังกล่าวจะมีขึ้นในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551 ณ แกรนด์ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าฮ่องกง เขตหว่านไจ๋ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง[10] แต่พลาดไปทั้งสองรางวัล[11]
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ รักแห่งสยามได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ,ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล), นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล), นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช),สมทบชายยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี), สมทบหญิงยอดเยี่ยม (กัญญา รัตนเพชร์ และ เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์), บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ,กำกับภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม,บันทึกเสียงยอดเยี่ยม,ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม และเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (กันและกัน และ คืนเป็นนิรันดร์)[12] ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลไป 3 รางว้ลจากเวทีนี้
รักแห่งสยาม ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 5 สูงสุด 8 รางวัล จากสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม,นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช), นักแสดงประกอบชาย (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี), นักแสดงประกอบหญิง (พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์ และ กัญญา รัตนเพชร)และ ภาพยนตร์ที่มีนักแสดงกลุ่มยอดเยี่ยม[13] ซึ่งคว้าไปได้ 2 รางวัลคือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช)
นอกจากนี้ ในการประกาศผลผู้ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัล "เฉลิมไทย อวอร์ด" ครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นรางวัลที่สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอตคอม ได้เสนอชื่อและร่วมลงคะแนนเพื่อเลือกภาพยนตร์แห่งปีในสาขาต่างๆ รักแห่งสยามได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 9 รางวัล (13 รายชื่อ) ได้แก่ เพลงจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (กันและกัน) ดนตรีประกอบภาพยนตร์แห่งปี บทภาพยนตร์ไทยแห่งปี นักแสดงสมทบหญิงในภาพยนตร์ไทยแห่งปี (กัญญา รัตนเพชร และพิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์) นักแสดงสมทบชายในภาพยนตร์ไทยแห่งปี(ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี)นักแสดงนำหญิงในภาพยนตร์ไทยแห่งปี (สินจัย เปล่งพานิช)นักแสดงนำชายในภาพยนตร์ไทยแห่งปี (มาริโอ้ เมาเร่อ และวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงศ์กุล) งานกำกับภาพยนตร์ไทยแห่งปี และภาพยนตร์ไทยแห่งปี โดยการลงคะแนนจะเริ่มในวันที่ 28 มกราคม 2550 [14]
ในการประกาศผู้เข้าชิงรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิงครั้งที่ 16 ประจำปี 2550 ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม ได้เข้าชิง 11 รางวัล (13 รายชื่อ) จากสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม , ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล),นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล),นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช), สมทบชายยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี),สมทบหญิงยอดเยี่ยม (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ และ กัญญา รัตนเพชร),บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล),กำกับภาพยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล), ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, ลี ชาตะเมธีกุล), กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (กิตติ เครือมณี)[15] และสำหรับรางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส ครั้งที่ 6 หรือ รางวัลผลงานบันเทิงยอดเยี่ยมที่จัดโดยสมาคมนักข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม ได้เข้าชิงสูงสุด 9 สาขาใน 10 รายชื่อ[16] ซึ่งได้รับรางวัลไป 6 รางวัล
ในงานเทศกาลหนังซีเนมะนิลา ที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม เข้าชิง 3 สาขาในสายภาพยนตร์อาเซียน ซึ่งมาริโอ้ เมาเร่อ ได้รับรางวัลสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม[17]
รางวัลทางด้านดนตรี เพลง "กันและกัน" และรับรางวัล Song of The Year จากงานแฟตอวอร์ด ครั้งที่ 6[18] และได้รับรางวัลเพลงยอดนิยมสุดซี้ดประจำปี จากงานซีดอวอร์ดส[19]
ตารางสรุป
แก้ตารางเปรียบเทียบสาขารางวัลใหญ่
แก้ตารางเปรียบเทียบสาขารางวัลใหญ่ สีเขียวคือได้รับรางวัล สีแดงคือไม่ได้รับรางวัล
สตาร์พิกส์อวอร์ด | คมชัดลึกอวอร์ด | รางวัลสุพรรณหงส์ | เฉลิมไทยอวอร์ด | รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง | สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส |
---|---|---|---|---|---|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รักแห่งสยาม – สหมงคลฟิล์ม |
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รักแห่งสยาม – สหมงคลฟิล์ม |
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รักแห่งสยาม – สหมงคลฟิล์ม |
ภาพยนตร์ไทยแห่งปี รักแห่งสยาม – สหมงคลฟิล์ม |
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รักแห่งสยาม – สหมงคลฟิล์ม |
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รักแห่งสยาม – สหมงคลฟิล์ม |
ผู้กำกับยอดเยี่ยม ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
งานกำกับภาพยนตร์ไทยแห่งปี ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม มาริโอ้ เมาเร่อ (ได้รับรางวัล) วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล (เสนอชื่อ) |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม - |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล |
นักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล (ได้รับรางวัล) มาริโอ้ เมาเร่อ (เสนอชื่อ) |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล มาริโอ้ เมาเร่อ |
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม มาริโอ้ เมาเร่อ |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สินจัย เปล่งพานิช |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สินจัย เปล่งพานิช |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สินจัย เปล่งพานิช |
นักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี สินจัย เปล่งพานิช |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สินจัย เปล่งพานิช |
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สินจัย เปล่งพานิช |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี |
นักแสดงประกอบชาย ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี |
นักแสดงประกอบชาย ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี |
นักแสดงชายในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี |
นักแสดงประกอบชาย ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี |
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม กัญญา รัตนเพชร์ (เสนอชื่อ) เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ (เสนอชื่อ) |
นักแสดงประกอบหญิง พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์ กัญญา รัตนเพชร์ |
นักแสดงประกอบหญิง กัญญา รัตนเพชร์ (เสนอชื่อ) เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ (ได้รับรางวัล) |
นักแสดงหญิงในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์ ไลลา บุญยศักดิ์ กัญญา รัตนเพชร์ |
นักแสดงประกอบหญิง กัญญา รัตนเพชร์ (เสนอชื่อ) เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ (ได้รับรางวัล) |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
บทภาพยนตร์ไทยแห่งปี ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม กิตติ เครือมณี |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม กิตติ เครือมณี |
ดนตรีประกอบภาพยนตร์แห่งปี กิตติ เครือมณี |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม กิตติ เครือมณี |
เพลงและดนตรีประกอบยอดเยี่ยม กิตติ เครือมณี |
ตารางสาขาที่ได้เข้าชิงรางวัล
แก้ตารางสาขารางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล สีเขียวคือได้รับรางวัล สีแดงคือได้รับการเสนอชื่อแต่พลาดรางวัลไป
ผู้มอบรางวัล | สาขารางวัล | ผล |
---|---|---|
รางวัลเอเชียนฟิล์ม | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม: Best Supporting Actor (มาริโอ้ เมาเร่อ) | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้ประพันธ์ดนตรีในภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: Best Composer (กิตติ เครือมณี) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
สตาร์พิคส์อวอร์ด | ภาพยนตร์ยอดนิยม | ได้รับรางวัล |
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล | |
ผู้กำกับยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (มาริโอ้ เมาเร่อ) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (กัญญา รัตนเพชร์ และเฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
กำกับภาพยอดเยี่ยม (จิตติ เอื้อนรการกิจ) | ได้รับรางวัล | |
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ธนกร บุญลือ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, ลี ชาตะเมธีกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (กิตติ เครือมณี) | ได้รับรางวัล | |
คมชัดลึก อวอร์ด[20] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงประกอบชาย (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงประกอบหญิง (พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์ และ กัญญา รัตนเพชร) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ภาพยนตร์ที่มีนักแสดงกลุ่มยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (กัญญา รัตนเพชร์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
กำกับภาพยอดเยี่ยม (จิตติ เอื้อนรการกิจ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, ลี ชาตะเมธีกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (กิตติ เครือมณี) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
เพลงประกอบยอดเยี่ยม (เพลง กันและกัน และเพลงคืนอันเป็นนิรันดร์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (เอกศิษฏ์ มีประเสริฐกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล และ มาริโอ้ เมาเร่อ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช) | ได้รับรางวัล | |
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) | ได้รับรางวัล | |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (กัญญา รัตนเพชร) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
กำกับภาพยอดเยี่ยม (จิตติ เอื้อนรการกิจ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, ลี ชาตะเมธีกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (มนต์ชัย ทองศรีสืบสกุล, ธนกร บุญลือ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (กิตติ เครือมณี) | ได้รับรางวัล | |
สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม (มาริโอ้ เมาเร่อ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช) | ได้รับรางวัล | |
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) | ได้รับรางวัล | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (เอกศิษฏ์ มีประเสริฐกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
เพลงและดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (กิตติ เครือมณี) | ได้รับรางวัล | |
แฟตอวอร์ด | เพลงแห่งปี (กันและกัน) | ได้รับรางวัล |
ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 | ภาพยนตร์แห่งปี | เสนอชื่อเข้าชิง |
เพลงแห่งปี (กันและกัน) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงหญิงแห่งปี (สินจัย เปล่งพานิช) | ได้รับรางวัล | |
Dekada Cinemanila | ภาพยนตร์อาเซียน | เสนอชื่อเข้าชิง |
นักแสดงหญิงยอดเยี่ยมสายหนังอาเซียน (สินจัย เปล่งพานิช) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมสายหนังอาเซียน (มาริโอ้ เมาเร่อ) | ได้รับรางวัล | |
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข | สื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2551 (สาขาสื่อภาพยนตร์) | ได้รับรางวัล |
ผู้มอบรางวัล | สาขารางวัล | ผล |
---|---|---|
เอ็นเตอร์เทนอวอร์ด | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล |
ผู้กำกับยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช) | ได้รับรางวัล | |
เฉลิมไทยอวอร์ด[21] | ภาพยนตร์ไทยแห่งปี | ได้รับรางวัล |
งานกำกับภาพยนตร์แห่งปี (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (มาริโอ้ เมาเร่อ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (สินจัย เปล่งพานิช) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงชายในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงหญิงในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงหญิงในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (ไลลา บุญยศักดิ์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงหญิงในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (กัญญา รัตนเพชร์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ไทยแห่งปี (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
ดนตรีประกอบภาพยนตร์แห่งปี (กิตติ เครือมณี) | ได้รับรางวัล | |
เพลงจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (กันและกัน) | ได้รับรางวัล | |
เพลงจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (คืนอันเป็นนิรันดร์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
แฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส 2007 | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ได้รับรางวัล |
ผู้กำกับยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช) | ได้รับรางวัล | |
นักแสดงขโมยซีนยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
เพลงและดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (กันและกัน - สุวีระ บุญรอด (คิว ฟลัวร์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ซีดอวอร์ดส | รางวัลเพลงยอดนิยมสุดซี้ดประจำปี: เพลง "กันและกัน" | ได้รับรางวัล |
Silver Bunny Trophy เทศกาล Mix Brazil |
รางวัล Audience Award | ได้รับรางวัล |
อ้างอิง
แก้- ↑ รักแห่งสยาม ประเดิมรางวัลแรก หนังไทยแห่งปี kapook.com
- ↑ วงการหนังไทยพาเหรดรับรางวัล Bioscope Awards[ลิงก์เสีย] mcot.net
- ↑ "รักแห่งสยาม" คว้าหนังเยี่ยม "สินจัย"ซิวนักแสดงนำหญิง เว็บไซต์คมชัดลึก
- ↑ "มิสไทยแลนด์เวิลด์" แอบโชว์ก้นงานสุพรรณหงส์ ด้าน "มาช่า-กอฟ" คว้านักแสดงนำยอดเยี่ยม[ลิงก์เสีย] โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 กุมภาพันธ์ 2551 01:08 น.
- ↑ 12 หนังกระแสร้อนแห่งปี 2550
- ↑ นิตยสารฟลิกส์ ฉบับที่ 225 เดือนมกราคม 2551
- ↑ นิตยสารเอนเตอร์เทน ฉบับพิเศษ 2007
- ↑ รักแห่งสยามกวาดอีก 3 รางวัลใหญ่จาก Hamburger Awards สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม และนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เก็บถาวร 2008-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ทีมข่าว INN News 02 กุมภาพันธ์ 2551 15:15:06 น
- ↑ STARPICS THAI FILMS AWARDS # 5 (๒๕๕๐) thaicinema.org เรียกดูข้อมูลเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551
- ↑ "มาริโอ้ เมาเร่อ" เทียบชั้นนักแสดงระดับเอเชีย เข้าชิงรางวัล "Asian Film Awards 2008"[ลิงก์เสีย] deknang.com
- ↑ รายนามผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล asianfilmawards.org
- ↑ รวมมิตรประกาศผลรางวัลหนังไทยประจำปี 2550 thaicinema.org เรียกดูข้อมูลเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551
- ↑ เปิดโผ คมชัดลึก อวอร์ด # 5 เพลงไทยสากล-ภาพยนตร์[ลิงก์เสีย] bangkokbiznews.com
- ↑ เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5: ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิง Pantip.com เรียกดูเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2551
- ↑ รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง
- ↑ รายชื่อผู้เข้าชิง "รางวัล STAR ENTERTAINMENT AWARDS ครั้งที่ 6" ประจำปี 2551[ลิงก์เสีย] deknang.com
- ↑ มาริโอ้ได้รับรางวัลนักแสดงยอดเยี่ยม thaicinema.org
- ↑ "FAT AWARDS # 6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-02.
- ↑ "ผลรางวัล SEED AWARDS ครั้งที่ 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-05-15.
- ↑ "รักแห่งสยาม" คว้าหนังเยี่ยม "สินจัย"ซิวนักแสดงนำหญิง www.komchadluek.com
- ↑ A6359998 สรุปผลรางวัล เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้ง ที่ ๕ www.pantip.com/cafe/chalermthai