ราชวงศ์เซาเตเลวูร์

ราชวงศ์เซาเตเลวูร์ (โปนเปย์: Mwehin Sau Deleur, "สมัยเจ้าเหนือหัวแห่งเตเลวูร์" อาจสะกด Chau-te-leur ก็ได้)[1] เป็นหน่วยการปกครองแรกที่สามารถรวมผู้คนของเกาะโปนเปย์ ปกครองระหว่าง ค.ศ. 1100[2] จนถึงประมาณ ค.ศ. 1628[note 2] โดยเป็นสมัยที่อยู่ระหว่าง มเวอินกาวา หรือ มเวอิน อารามัส (สมัยแห่งการสร้างหรือสมัยแห่งผู้คน) และ มเวอินนาน-มวาร์กิ[1] เดิม เตเลวูร์เป็นชื่อโบราณของโปนเปย์ อันเป็นรัฐที่ตั้งเมืองหลวงของสหพันธรัฐไมโครนีเซีย[7]

ราชวงศ์เซาเตเลวูร์

Mwehin Sau Deleur
ป. 1100–ป. 1628
เกาะโปนเปย์
เกาะโปนเปย์
สถานะอาณาจักร
เมืองหลวงนันมาโตล
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เซาเตเลวูร์ 
• ป. ค.ศ. 1100–1200
โอโลโซปา
• ?
มโวน มเวย์[note 1]
• ?
อิเนเน็น มเวย์
• ?
เกจิปาเรลง
• ?
ไรปเว็นลาเก
• ?
ไรปเว็นลัง
• ?
ซากน มเวย์
• ?
ซาไรเต็น ซัปว์
• ป. ค.ศ. 1628
เซาเต็มโวล
ประวัติศาสตร์ 
• การมาถึงของโอลิซีปาและโอโลโซปา
ป. 1100
• การรุกรานของอิโซเกเลเก็ล
ป. 1628
ก่อนหน้า
ถัดไป
วัฒนธรรมแลพีตา
อิโซเกเลเก็ล
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของธงของประเทศไมโครนีเชีย ไมโครนีเชีย
นันมาโตลอันเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์เซาเตเลวูร์

ตำนานโปนเปย์เล่าว่าผู้ปกครองเซาเตเลวูร์มีต้นกำเนิดจากต่างพื้นที่ และรูปร่างของพวกเขาก็ต่างกับชาวโปนเปย์พื้นเมือง การปกครองรวมศูนย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของเซาเตเลวูร์ถูกอธิบายในตำนานว่าการกดขี่ได้เพิ่มเติมมากขึ้นเมื่อผ่านไปหลาย ๆ รุ่น มักมีข้อเรียบร้องไม่สมเหตุสมผลและเป็นภาระของประชาชน รวมถึงการมีพฤติการณ์ละลาบละล้วงต่อเทพของชาวโปนเปย์ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับชาวโปนเปย์เป็นอย่างยิ่ง ราชวงศ์เซาเตเลวูร์สิ้นสุดลงจากการรุกรานของอิโซเกเลเก็ล ชาวต่างชาติกึ่งตำนานอีกคนหนึ่ง ที่เข้ามาแทนที่การปกครองขจองเซาเตเลวูร์ในระบบนาน-มวาร์กิส ที่เน้นการกระจายอำนาจ ซึ่งยังคงอยู่ในปัจจุบัน[8][9]

ต้นกำเนิด แก้

ผู้คนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานน่าจะเป็นชาวแลพีตาจากตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะโซโลมอนหรือกลุ่มเกาะวานูอาตู[10] จากตำนานของโปนเปย์กล่าวถึงการสร้างเกาะหลักด้วยการถมหินลงไปล้อมรอบพืดหินปะการังของกลุ่มชายและหญิงจำนวน 17 คน จากดินแดนห่างไกลทางใต้ ประชากรที่ตั้งถิ่นฐานเป็นชาวพื้นเมืองที่มีเชื้อสายผสมกับผู้มาใหม่ จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น แต่สภาพสังคมของพวกเขามีลักษณะเป็นอนาธิปไตย

ราวงศ์เซาเตเลวูร์เริ่มต้นขึ้นจากการมาถึงของผู้วิเศษฝาแฝดได้แก่ โอลิซีปาและโอโลโซปา จากกาเตาตะวันตกหรือกานัมไวโซ อันเป็นดินแดนในตำนาน มีการกล่าวกันว่าโอลิซีปาและโอโลโซปามีความสูงมากกว่าชาวพื้นเมืองโปนเปย์ พี่น้องคู่นี้เดินทางมาถึงด้วยเรือแคนูขนาดใหญ่ เพื่อแสวงหาพื้นที่าสำหรับการสร้างแท่นบูชาสำหรับการบูชาเทพนานีโซน ซาปว์ เทพแห่งเกษตรกรรม หลังจากการเริ่มต้นที่ผิดพลาดหลายครั้ง สองพี่น้องก็สร้างแท่นบูชาที่นันมาโตลได้สำเร็จ อันเป็นสถานที่ในการประกอบพิธีกรรม ตำนานยังเล่าอีกว่าสองพี่น้องทำให้หินก้อนใหญ่ลอยขึ้นด้วยความช่วงเหลือของมังกรบิน เมื่อโอลิซีปาเสียชีวิตจากโรคชรา โอโลโซปาได้เป็นผู้ปกครองเซาเตเลวูร์คนแรก โอโลโซปาแต่งงานกับหญิงท้องถิ่น และเป็นต้นตระกูลของอีก 12 รุ่นต่อมา คิดเป็นจำนวนผู้ปกครองเซาเตเลวูร์แห่งตระกูลติปวิลัป 16 คน[note 3] ผู้สถาปนาราชวงศ์ปกครองอย่างมีเมตตา แต่ผู้สืบทอดรุ่นหลังเริ่มเรียกร้องความต้องการจากประชาราษฎร์มากยิ่งขึ้น[5][9][11]

สภาพสังคม แก้

ผู้ปกครองเซาเตเลวูร์ที่นันมาโตลเป็นเจ้าของดินแดนและประชากร โดยยกดินแดนบางส่วนให้ชนชั้นนำเพื่อกำกับการเก็บเกี่ยวของสามัญชน สามัญชนจะต้องมอบบรรณาการผลไม้และปลาให้กับผู้ปกครอง[2]

บรรณาการประกอบด้วยสาเกเป็นส่วนมากในฤดูรัก (ฤดูแห่งความอุดมสมบูรณ์) ขณะที่เปลี่ยนไปเป็นมัน เผือกและสาเกหมักในฤดูอิซล (ฤดูแห่งความขาดแคลน) นอกจากนี้มีการมอบอาหารทะเลให้กับเซาเตเลวูร์ในเวลาที่ระบุไว้ ระบบบรรณาการระยะแรกเป็นไปตามฤดูกาล อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป การเรียกร้องของเซาเตเลวูร์ทำให้ประชาชนอดอยากและใช้ชีวิตเยี่ยงทาส ด้วยการที่พวกเขาต้องใช้แรงงานและมอบวัสดุเกือบทั้งหมดให้กับเซาเตเลวูร์เป็นลำดับแรก ความไม่พอใจของผู้คนนำไปการลอบสังหารไม่ต่ำกว่าสองครั้ง แต่เซาเตเลวูร์อื่นก็ขึ้นมามีอำนาจแทนที่คนก่อน[1][2][9] นอกจากนี้มักพบการต่อต้านผู้กดขี่ด้วยการต่อต้านคำสั่งและขโมยวัตถุดิบที่จะมอบให้เซาเตเลวูร์[1]

เซาเตเลวูร์บางคนมีใจกรุณา เช่น อิเนน มเวย์สถาปนาระบบอภิชนาธิปไตยและไรปเว็นลัง ซึ่งเป็นนักเวทย์ที่ชำนาญ อย่างไรก็ตามเซาเตเลวูร์ผู้อื่นเป็นที่รู้จัึกในฐานะผู้อำมหิต เช่น ซากน มเวย์เก็บภาษีชาวโปนเปย์อย่างโหดเหี้ยม และไรปเว็นลาเกใช้เวทมนต์เพื่อระบุตำแหน่งชาวโปนเปย์ที่อ้วนที่สุดและกินเขา ขณะที่เกจิปาเรลงได้รับการจดจำในฐานะที่มีภรรยาตะกละ ส่วนผู้ปกครองถัดมาอย่างซาไรเต็น ซัปว์เป็นผู้สถานปนาธรรมเนียมผลไม้แรกบนเกาะโปนเปย์[8]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

 
แผนที่เทศบาลของโปนเปย์ในปัจจุบันห้าแห่ง แต่ในสมัยเซาเตเลวูร์มีหน่วยการปกครองระดับบนเพียงสามแห่งเท่านั้น

ในรัชสมัยของเซาเตเลวูร์ มโวนมเวย์แบ่งโปนเปย์ออกเป็น 3 เวย์หรือรัฐ ภาคตะวันออกเรียกว่าโกปวาเล็ง (มาโตเลนีม) ประกอบด้วยพื้นที่ 7 ส่วน ได้แก่ เว็นอิก เปย์ตี, เว็นอิก เปย์ตัก, เอนีมวัน, เลเดา, เซนิเปน, เลปินเซ็ตและเตเลวูร์ ส่วนภาคตะวันตกเรียกว่ามาเล็นโกปวาเล (กิจี) ประกอบด้วย 4 พื้นที่ ได้แก่ โอโนนเล็ง, เกปีเล็ง, เลนปเว็ลและอะทอลล์อันต์ และภาคเหนือเรียกว่าปวาปวาลิก ประกอบด้วย ปาลีกีร์, โซเก็ส, ติปเว็น โดงาลัป, กามาร์, นันมาอีร์และเกาะปะกิน ระบบการปกครองรวมศูนย์ได้รวมระดับการแบ่งเขตปกครองย่อยที่มีก่อนหน้าเข้ามาไว้และนำโครงสร้างชนชั้นนำท้องถิ่นมาใช้ ต่อมาอูและเน็จกลายเป็นรัฐทางตอนเหนือ ซึ่งนำไปสู่การก่อกำเนิดของเทศบาล 5 แห่งบนเกาะโปนเปย์ในปัจจุบัน[1]

โซเกนเป็นดินแดนที่มั่งคั่งภายใต้การปกครองของเซาเตเลวูร์[12][13] ขณะที่โอโนนเล็งมีอำนาจปกครองตนเองสูงมาก พื้นที่กิจีและเกปีเล็งทางตะวันตกมีชื่อเสียงในการต่อต้านการปกครองของเซาเตเลวูร์ที่อยู่ทางตะวันออก[1]

ที่เมืองหลวงนันมาโตล ผู้ปกครองเซาเตเลวูร์พัฒนาระบบตำแหน่งแบ่งชั้นเพื่อแสดงถึงอาชีพ ซึ่งรวมถึง ที่ปรึกษา ผู้เตรียมอาหาร องครักษ์ประจำประตูและองครักษ์ย่านที่อยู่อาศัย[1]

ตามตำนานกล่าวว่าผู้ปกครองราชวงศ์เซาเตเลวูร์ไม่มีความสนใจและเกี่ยวข้องกับกิจการทางทหาร เนื่องจากโดยรวมแล้วเป็นยุคสมัยแห่งสันติ แม้ว่าชาวโปนเปย์พื้นเมืองจะได้รับความทุกข์และมีความไม่พอใจเกี่ยวกับการปกครอง[1][8]

ศาสนา แก้

 
แผนที่นันมาโตล

ศาสนาในสมัยราชวงศ์เซาเตเลวูร์มีลักษณะของอารามหินขนาดใหญ่และพื้นที่สุสาน การถวายอาหารและการทำนายศักดิ์สิทธิ์ ลัทธิบูชาราชวงศ์เซาเตเลวูร์พบได้ที่นันมาโตล ที่จะมีการถวายบรรณาการแด่เทพสายฟ้านานซัปเว หรือเดากาเตา ซึ่งเป็นที่มาของความชอบธรรมของราชวงศ์เซาเตเลวูร์ ชาวโปนเปเดิมเคารพนานซัปเว ซึ่งจากนันมาโตล ลัทธิบูชานานซัปเวแผ่กระจายไปยังพื้นที่อื่นของโปนเปย์ ส่วนลัทธิบูชาอื่นที่พบเช่นลัทธิบูชาปลาไหลน้ำจืดและลัทธิบูชาเทพอิลาเกะ[1][11]

เซาเตเลวูร์ไม่ประสบความสำเร็จในความพยายามที่จะแนะนำให้ชาวโปนเปย์บูชาเทพของตนนานีโซน ซัปว์ ซึ่งชาวโปนเปย์เคารพพอเป็นพิธีเท่านั้น ผู้ปกครองเซาเตเลวูร์ใช้ปลาไหลมอเรย์นานซัมโวลในฐานะตัวกลางของนานนีโซน ซัปว์ ผู้ที่ระบุว่าเทพต่างถิ่นจะพอใจด้วยการกลืนกินบรรณาการในรูปของเต่า ชนชั้นนักบวชนำโดยหัวหน้านักบวชโซว์กีเซเล็งเป็นผู้มีอำนาจและอิทธิพลในสังคมโปนเปย์[1][11]

พิธีกรรม กัมปา ที่จัดเป็นประจำทุกปีเป็นเครื่องยืนยันการอุทิศของชาวโปนเปย์แด่เทพและวิญญาณแห่งแผ่นดิน ส่วนพิธี ซาเกา เป็นการยืนยันการมีอำนาจเหนือของเซาเตเลวูร์ โดยพิธีกรรมส่วนมากเกี่ยวข้องกับการเตรียมของขวัญแด่ผู้ปกครอง[1]

การถวายอาหาร โดยเฉพาะแด่เซาเตเลวูร์ มีเต่าและสุนัข ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางพิธีกรรมรวมอยู่ด้วย เต่า (เวย์) แทนการแบ่งเขตการปกครอง 3 ส่วน (เวย์) และเป็นศูนย์กลางตำนานที่สองพี่น้องต้องสังเวยแม่ของพวกเขา คือ เต่าที่ให้ชีวิต เพื่อให้เซาเตเลวูร์กิน หลังจากที่พวกเขาพูดอย่างติดตลกว่าจะขายเธอเพื่อแลกกับการลิ้มลองเนื้อสุนัขของเซาเตเลวูร์ ส่วนสุนัขมีสถานะที่สำคัญมากในสังคม โดยผู้ปกครองเซาเตเลวูร์ เนื่องจากเซาเตเลวูร์ถูกมอบอำนาจการปกครองโดยสุนับในตำนานอย่างโอนุนมาตาไก (ผู้เผ้าดูดินแดน)[1]

การล่มสลาย แก้

อิโซเกเลเก็ลพิชิตการปกครองของเซาเตเลวูร์ ด้วยการรุกรานเกาะโปนเปย์จากโกชาเอ หรือดินแดนในตำนานกาเตาตะวันออก มีหลักฐานที่แตกต่างกันมากที่อธิบายเหตุการณ์ก่อนและระหว่างการรุกรานเกาะโปนเปย์ โดยพบว่ามีหลักฐาน 13 ชิ้นที่มีการเผยแพร่ ในตำนานฉบับส่วนมากกล่าวถึงการปกครองของเซาเตเลวูร์ที่กดขี่ผ่านระบบสังคมรวมศูนย์ นอกจากนี้เจ้าเหนือหัวยังละเมิดเทพสายฟ้านานซัปเว ส่งผลให้เกิดจุดจบของราชวงศ์ในที่สุด[7][12][14][15][16][17]

เทพสายฟ้านานซัปเวมีความสัมพันธ์เป็นชู้กับภรรยาของเจ้าเหนือหัวเซาเตเลวูร์ เจ้าเหนือหัวเซาเตเลวูร์จึงออกเดินทางเพื่อตามจับนานซัปเวด้วยความโกรธ ผู้ปกครองยังใช้การมีความสัมพันธ์นี้ในการปราบปรามการบูชานานซัปเว ตำนานบางฉบับยังกล่าวถึงผู้ปกครองยังทำให้บรรดาเทพโปนเปย์องค์อื่นโกรธและปลดนักบวชชั้รสูงซาวุมที่ทำนายความหายนะของเซาเตเลวูร์ การกระทำทั้งหมดนี้ทำให้เทพ มนุษย์และสัตว์ไม่พอใจ[1][7][18][19] เทพนานซัปเวออกจากโปนเปย์เพื่อเดินทางไปยังโกชาเอ (กาเตา) ช่วงหลบหนี พระองค์ได้ทำให้มนุษย์เป็นหมัน ซึ่งเป็นคนในตระกูลติปเว็นปานเมย์ของเขาตั้งครรภ์ ด้วยการให้กินมะนาวเขียว การร่วมความสัมพันธ์ที่ผิดประเวณีดังกล่าวก่อให้เกิดบุคคลกึ่งเทพอย่างอิโซเกเลเก็ล ผู้ซึ่งอยู่ในครรภ์ แต่รู้ถึงชะตากรรมการแก้แค้นของเขา[6][7][12][14][16][17][18][20][21] เมื่อเติบใหญ่ เขาได้ล่องเรือไปกับชาย หญิงและเด็กจำนวน 333 คน โดยมีจุดมุ่งหมายลับเพื่อพิชิตโปนเปย์[4][5][6][14][16][17][20] เมื่อลงเรือมีการบูชายัญมนุษย์ อันเป็นพิธีกรรมที่แพร่หลายในวัฒนธรรมพอลินีเซีย แต่พบได้น้อยมากในประวัติศาสตร์โปนเปย์[7] ในระหว่างการเดินทางสู่นันมาโตล เขาได้รับมอบเมล็ดสาเกจากหัวหน้าของแอนต์อะทอลล์ ในวัฒนธรรมของพวกเขา มื้ออาหารที่มีเมล็ดสาเกเป็นมื้ออาหารของนักรบที่กำลังเข้าสู่สงคราม และการมอบครั้งนี้ก็เป็นการเชื้อเชิญเพื่อทำสงครามกับเซาเตเลวูร์ ระหว่างที่อยู่บนแอนต์อะทอลล์ เขามีความสัมพันธ์คู่รักกับหญิงท้องถิ่น แสดงให้เห็นถึงการที่เขาตั้งใจมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับชาวโปนเปย์และต่อต้านเซาเตเลวูร์เท่านั้น[1]

จากตำนานหลายฉบับกล่าวว่าสงครามเกิดขึ้นที่นันมาโตล หลังจากที่การเล่นระหว่างเด็กท้องถิ่นกับเด็กจากเรือแคนูของอิโซเกเลเก็ลขยายเป็นการต่อสู้กัน[14] ในตำนานฉบับอื่นกล่าวว่า ผู้ช่วยของเขายั่วนักรบท้องถิ่นที่จุดนัดพบที่ตระเตรียมไว้ก่อน[19] อีกฉบับหนึ่งกล่าวว่าอิโซเกเลเก็ลได้เริ่มการจลาจลหลังจากได้รับความไว้วางใจจากเจ้าบ้าน[22] และได้รับความช่วยเหลือจากคนท้องถิ่นที่ถูกกดขี่[12][17] บางฉบับกล่าวว่าหลังจากที่อิโซเกเลเก็ลเห็นป้อมปราการที่นันมาโตล แล้วต้องการถอนตัว แต่ได้รับการช่วยเหลือจากหญิงที่ถูกรังเกียจจากครอบครัวผู้ปกครอง[23] ในอีกฉบับหนึ่งกล่าวว่านักรบของอิโซเกเลเก็ลได้รับความช่วยเหลือจากอาวุธที่ถูกซ่อนที่ปรากฎออกมาให้เห็นในขณะนั้น[19]

กระแสของสงครามพลิกกลับไปมาอยู่หลายครั้ง แต่จบด้วยการที่เซาเตเลวูร์ถอนทหารออกจากเกาะโปนเปย์[7] ตำนานกล่าวว่าสงครามจบลงเมื่อเซาเตเลวูร์อย่างเซาเต็มโวลถอนทัพขึ้นไปบนแนวเขาสู่ลำธาร จากนั้นเขากลายร่างเป็นหลาและยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน อิโซเกเลเก็ลสถาปนาตนเป็นนาน-มวาร์กิส และครองอำนาจที่นันมาโตลเหมือนกับราชวงศ์เซาเตเลวูร์ที่ปกครองมาก่อนเขา[7][8][14]

สิ่งสืบทอด แก้

ระบบบรรณาการของเซาเตเลวูร์ลดรูปลง แต่ยังคงอยู่ในทางประเพณีในยุคหลัง ประเพณีการมอบของขวัญและจัดงานเลี้ยงในงานศพของยุคหลังได้รับแนวปฏิบัติมาจากการมอบบรรณาการในสมัยเซาเตเลวูร์[7]: 30  [24]

เชิงอรรถ แก้

  1. อ้าง Ballinger (1978), มโวน มเวย์เป็นเซาเตเลวูร์คนที่สองและเซาเต็มโวลเป็นคนสุดท้าย แต่ชิ้อและลำดับอื่นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
  2. สมัยเซาเตเลวูร์กินเวลาประมาณ 500 ปี[1] ตำนานโดยทั่วไประบุว่าล่มสลายประมาณคริสต์ทศวรรษ 1500[3] แต่นักโบราณคดีระบุอายุของซากปรักหักพังของเซาเตเลวูร์จนถึงประมาณ ค.ศ. 1628[4][5][6]
  3. Hanlon (1988) อธิบายถึงแหล่งข้อมูลที่แตกต่างเกี่ยวกับจำนวนผู้ปกครองเซาเตเลวูร์ มีตั้งแต่ประมาณ 8–17 คน ทำให้ไม่สามารถทราบตัวเลขที่แน่ชัดได้[1]: 234 

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 Hanlon, David L (1988). Upon a Stone Altar: A History of the Island of Pohnpei to 1890. Pacific Islands Monograph. Vol. 5. University of Hawaii Press. pp. 13–25. ISBN 0-8248-1124-0. สืบค้นเมื่อ 2012-01-01.
  2. 2.0 2.1 2.2 Flood, Bo; Strong, Beret E.; Flood, William (2002). Micronesian Legends. Bess Press. pp. 145–7, 160. ISBN 1-57306-129-8. สืบค้นเมื่อ 2012-01-01.
  3. Cordy, Ross H (1993). The Lelu Stone Ruins (Kosrae, Micronesia): 1978-81 Historical and Archaeological Research. Asian and Pacific Archaeology. Social Science Research Institute, University of Hawaii at Manoa. pp. 14, 254, 258. ISBN 0-8248-1134-8. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  4. 4.0 4.1 Morgan, William N (1988). Prehistoric Architecture in Micronesia. University of Texas Press. pp. 60, 63, 76, 85. ISBN 0-292-76506-1. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  5. 5.0 5.1 5.2 Panholzer, Tom; Rufino, Mauricio (2003). Place Names of Pohnpei Island: Including And (Ant) and Pakin Atolls. Bess Press. pp. xiii, 21, 22, 25, 38, 48, 56, 63, 71. 72, 74, 104. ISBN 1-57306-166-2. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  6. 6.0 6.1 6.2 Micronesica. University of Guam. 1990. pp. 92, 203, 277. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 Petersen, Glenn (1990). "Isokelekel". Lost in the Weeds: Theme and Variation in Pohnpei Political Mythology (PDF). Occasional Papers. Center for Pacific Islands Studies, School of Hawaiian, Asian & Pacific Studies, University of Hawaiʻi at Mānoa. pp. 34 et seq. hdl:10125/15545. OP35. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2011.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Ballinger, Bill Sanborn (1978). Lost City of Stone: The Story of Nan Madol, the "Atlantis" of the Pacific. Simon and Schuster. pp. 45–8. ISBN 0-671-24030-7. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  9. 9.0 9.1 9.2 Riesenberg, Saul H (1968). The Native Polity of Ponape. Contributions to Anthropology. Vol. 10. Smithsonian Institution Press. pp. 38, 51. สืบค้นเมื่อ 2012-01-01.
  10. McCoy, Mark D.; Alderson, Helen A.; Hemi, Richard; Cheng, Hai; Edwards, R. Lawrence (November 2016). "Earliest direct evidence of monument building at the archaeological site of Nan Madol (Pohnpei, Micronesia) identified using 230Th/U coral dating and geochemical sourcing of megalithic architectural stone". Quaternary Research. 86 (3): 295–303. doi:10.1016/j.yqres.2016.08.002.
  11. 11.0 11.1 11.2 Goodenough, Ward Hunt (2002). Under Heaven's Brow: Pre-Christian Religious Tradition in Chuuk. Memoirs of the American Philosophical Society. Vol. 246. American Philosophical Society. p. 293. ISBN 0-87169-246-5. สืบค้นเมื่อ 2012-01-01.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 Petersen, Glenn (2009). Traditional Micronesian Societies: Adaptation, Integration, and Political Organization. University of Hawaii Press. pp. 141, 145, 152, 208. ISBN 978-0-8248-3248-3. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  13. Nakano, Ann (1983). Tim Porter (บ.ก.). Broken Canoe: Conversations and Observations in Micronesia. University of Queensland Press. pp. 246–7. ISBN 0-7022-1684-4. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 Lessa, William Armand (1980). More Tales from Ulithi Atoll: a Content Analysis. Folklore and Mythology Studies. Vol. 32. University of California Press. pp. 73, 130. ISBN 0-520-09615-0. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  15. Rubinstein, Donald H (1992). Pacific History: Papers from the 8th Pacific History Association Conference. University of Guam Press & Micronesian Area Research Center. pp. 206–7. ISBN 1-878453-14-9. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  16. 16.0 16.1 16.2 Kirch, Patrick Vinton (2002). On the Road of the Winds: An Archaeological History of the Pacific Islands Before European Contact. University of California Press. pp. 200, 205. ISBN 0-520-23461-8. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Castle, Leila (1996). Earthwalking Sky Dancers: Women's Pilgrimages to Sacred Sites. Vol. 56. Frog Books. pp. 100–1. ISBN 1-883319-33-1. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  18. 18.0 18.1 Jones, Lindsay (2005). Encyclopedia of Religion. Vol. 9 (2 ed.). Macmillan Reference. ISBN 0-02-865742-X. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  19. 19.0 19.1 19.2 Fields, Jack; Fields, Dorothy (1973). South Pacific. A. H. & A. W. Reed. pp. 111–2. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  20. 20.0 20.1 Goetzfridt, Nicholas J; Peacock, Karen M (2002). Micronesian Histories: An Analytical Bibliography and Guide to Interpretations. Bibliographies and Indexes in World History. Greenwood Publishing Group. pp. 3, 34–5, 102, 156–9. ISBN 0-313-29103-9. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  21. American Anthropologist. Vol. 95. Washington, D.C.: American Anthropological Association. 1993. ISBN 9780028657424. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  22. Kahn, Ely Jacques (1966). A Reporter in Micronesia. W. W. Norton. p. 151. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  23. Price, Willard (1936). Pacific Adventure. Reynal & Hitchcock. pp. 240–1. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  24. Keating, Elizabeth Lillian (1998). Power Sharing: Language, Rank, Gender, and Social Space in Pohnpei, Micronesia. Oxford Studies in Anthropological Linguistics. Vol. 23. Oxford University Press. p. 89. ISBN 0-19-511197-4. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

  • Ayres, William S. Nan Madol, Pohnpei. SAA Bulletin. Vol. 10, Nov. 1992. Society for American Archaeology.
  • Ayres, William S. Pohnpei's Position in Eastern Micronesian Prehistory, Micronesica, Supplement 2: Proceedings, Indo Pacific Prehistory Association, Guam, 1990, pp. 187–212.
  • Ayres, William S. Mystery Islets of Micronesia. Archaeology Jan-Feb 1990, pp. 58–63

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

6°51′N 158°13′E / 6.850°N 158.217°E / 6.850; 158.217