ราชวงศ์ห่งบ่าง
21°16′54″N 105°26′31″E / 21.28167°N 105.44194°E
ราชวงศ์ห่งบ่าง Hồng Bàng 鴻厖 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2879 ปีก่อนคริสต์ศักราช–258 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |||||||||
แผนที่ของวันลางเมื่อ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |||||||||
สถานะ | สมาพันธรัฐ, อาณาจักร | ||||||||
เมืองหลวง | ฟ็องเจิว (ปัจจุบันคือ ฟู้เถาะ) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาเวียดนามดั้งเดิม[1] | ||||||||
การปกครอง | สังคมชนเผ่าที่มีหัวหน้า, ระบบศักดินา | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยโบราณ, ยุคสำริด, ยุคเหล็ก | ||||||||
• ก่อตั้ง ซิกกวี๋ โดย กิญ เซือง เวือง | 2879 ปีก่อนคริสต์ศักราช | ||||||||
• ถูกพิชิตโดยถุก ฟ้าน | 258 ปีก่อนคริสต์ศักราช | ||||||||
|
ราชวงศ์ห่งบ่าง (เวียดนาม: thời kỳ Hồng Bàng, 鴻厖)[2] เป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์เวียดนาม ที่ปกครองในช่วง 2,879–258 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์เวียดนามซึ่งประกอบไปด้วยสหภาพทางการเมืองในช่วง 2,879 ก่อนคริสต์ศักราชของชนเผ่าหลายแห่งในภาคเหนือของบริเวณหุบเขาแม่น้ำแดง และได้ถูกปกครองโดยอาน เซือง เวือง ในปี 258 ก่อนคริสต์ศักราช[3]
พงศาวดารเวียดนามตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 กล่าวคือ ดั่ยเหวียตสือกี๊ตว่านทือ (大越史記全書, Đại Việt sử ký toàn thư) อ้างว่าช่วงเวลาของยุคราชวงศ์ห่งบ่างเริ่มต้นด้วยกิญ เซือง เวือง ในฐานะ กษัตริย์หุ่ง (𤤰雄, Hùng Vương) องค์แรก ชื่อตำแหน่งได้ถูกใช้ในการอภิปรายสมัยใหม่หลายครั้งเกี่ยวกับผู้ปกครองชาวเวียดนามโบราณในยุคนี้[4] กษัตริย์หุ่งเป็นตำแหน่งผู้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของประเทศ (ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อซิกกวี๋และวันลางในเวลาต่อมา) และอย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี ในยุคสมัยนี้ได้มีการควบคุมการใช้ที่ดินและทรัพยากรอย่างเป็นระบบขึ้นอย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามบันทึกประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ดังกล่าวใน 3 พันปีก่อนคริสต์ศักราชก็ยังถือว่าขาดแคลนอยู่มาก
ประวัติของยุคห่งบ่างเกิดขึ้นในช่วงของราชวงศ์ที่แบ่งเป็น 18 ราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่ง ในยุคกษัตริย์หุ่งได้รับความเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับอารยธรรมการปลูกนาข้าวในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในช่วงยุคสำริด ในช่วงปลายของยุคห่งบ่างได้เกิดสงครามจำนวนมาก[5]
ช่วงเวลา
แก้ประวัติความเป็นมาของช่วงยุคห่งบ่างแบ่งตามการพิจารณาตามราชวงศ์ที่ปกครองของกษัตริย์หุ่งแต่ละองค์ การแบ่งช่วงเวลาของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ยังคงอยู่ในการวิจัยค้นคว้าที่ยังไม่เป็นสรุป[6] วันที่ทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมในยุคนี้ตามตำนานคำบอกเล่าไม่ได้รับการสนับสนุนจากวันที่แน่นอนใด ๆ ที่น่าเชื่อถือสำหรับช่วงประมาณสองพันปี[6]
ที่มาของชื่อ
แก้ชื่อเรียกแบบภาษาเวียดนามได้ใช้อ่านตัวอักษรจีน นักประวัติศาสตร์ชาวเวียดนามบางคนอ้างว่าในช่วงห่งบ่าง การบันทึกเอกสารทางประวัติศาสตร์ของเวียดนามโดยราชสำนักได้มีการบันทึกโดยใช้อักษรจีนแล้ว ซึ่งเป็นการใช้อักษรจีนครั้งแรก แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานมากพอที่จะยืนยันทฤษฎีนี้เพราะประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ได้มีการบันทึกไว้ว่าเวียดนามได้ใช้ตัวอักษรจีนหลังจากที่ถูกจีนเข้าครอบครองในภายหลัง ชื่อของราชวงศ์ห่งบ่างของเวียดนามได้เขียนเป็นอักษรจีนคำว่า "鴻龐" (ห่งบ่าง) ความหมายคือนกยักษ์ที่เป็นตำนาน[7]
ประวัติ
แก้ช่วงก่อนราชวงศ์
แก้เวียดนามเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งตะวันออกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประวัติอันยาวนานและมีความวุ่นวาย[8] ชาวเวียดนามเป็นตัวแทนของการผสมผสานระหว่างเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ยังคงถูกคัดแยกโดยนักชาติพันธุ์ นักภาษาศาสตร์ และนักโบราณคดี[9] มีการสันนิษฐานว่า ภาษาเวียดนามได้ให้เบาะแสบางอย่างที่ทำให้เห็นส่วนผสมทางวัฒนธรรมที่เป็นตัวอย่างหนึ่งของชาวเวียดนาม[9]
บริเวณที่เป็นประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ได้มีการเข้ามาอยู่อาศัยตั้งรกรากของผู้คนตั้งแต่ยุคหินเก่า โดยมีหลักฐานจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบางแห่งในจังหวัดทัญฮว้า บริเวณชายฝั่งตอนกลางเหนือ ทำให้นักประวัติศาสตร์คาดการณ์ช่วงเวลาย้อนหลังไปประมาณครึ่งล้านปีมาแล้ว[9] ผู้คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์เวียดนามได้อาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องในถ้ำท้องถิ่นตั้งแต่ประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งวัฒนธรรมและวัสดุที่ก้าวหน้าขึ้นได้รับการพัฒนา[10] ถ้ำบางแห่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าในฐานะเป็นบ้านของผู้คนหลายชั่วอายุคน[11] เมื่อเวียดนามเหนือเป็นที่ที่มีภูเขาป่าไม้และแม่น้ำ มีจำนวนเผ่าได้เติบโตขึ้นระหว่าง 5,000 ถึง 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[12]
ก่อนที่จะเริ่มต้นของช่วงยุคห่งบ่าง ที่ดินได้ถูกตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยโดยหมู่บ้านอิสระ สังคมบุคก่อนราชวงศ์เวียดนามมีลักษณะเป็นอนาธิปไตยและไม่ได้มีกลไกการจัดการใด ๆ ทีการอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ชนเผ่า นักโบราณคดีได้ค้นพบภาพมากมายบนผนังถ้ำซึ่งแสดงให้เห็นถึงชีวิตประจำวันของคนโบราณ
กษัตริย์หุ่งองค์แรก (2,879 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
แก้ในช่วงไม่กี่พันปีปลายยุคหิน ประชากรที่อาศัยอยู่ได้ขยายตัวและแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของเวียดนาม คนโบราณส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใกล้กับแม่น้ำแดง แม่น้ำก๋า และแม่น้ำหมา ชนเผ่าเวียดนามร่วมรวมตัวกันอย่างมั่นคงในช่วงเวลานี้[12] ดินแดนของพวกเขารวมเขตแดนของประเทศจีนในปัจจุบันถึงฝั่งแม่น้ำโห่งในดินแดนภาคเหนือของเวียดนาม ศตวรรษของการพัฒนาอารยธรรมและเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการเพาะปลูกข้าวในเขตชลประทาน เป็นปัจจัยที่ได้สนับสนุนให้นำไปสู่การพัฒนาชนเผ่าและการตั้งถิ่นฐานของชุมชน
เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญขึ้นเมื่อ หลก ตุก ขึ้นสู่อำนาจ เขารวบรวมชนเผ่าอื่น ๆ และประสบความสำเร็จในการจัดกลุ่มรัฐทั้งหมดที่เข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้อำนาจของเขา ภายในอาณาเขตของเขาเป็นประเทศเอกภาพในประมาณ 2,879 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลก ตุก ได้สถาปนาตั้งตนเป็นกษัตริย์นามว่า กิญ เซือง เวือง (เวียดนาม: Kinh Dương Vương) และตั้งชื่ออาณาจักรใหม่ว่า ซิกกวี๋ หลก ตุ๊กได้ใช้ระบบการปกครองแบบราชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์เวียดนาม เขาถือว่าเป็นบรรพบุรุษของ กษัตริย์หุ่ง ในฐานะบิดาผู้ก่อตั้งชาติเวียดนาม และได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในวีรบุรุษของชาติ ด้วยการสอนผู้คนในอาณาจักรของเขาให้รู้จักเพาะปลูกข้าว
ราชวงศ์ห่งบ่างตอนต้น (ตั้งแต่ 2,879–1,913 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
แก้หลก ตุก ได้ส่งผ่านอำนาจการปกครองไปให้กับบุตรชายขึ้นเป็นกษัตริย์หุ่ง หลังกิญ เซือง เวือง สิ้นพระชนม์ ได้มีผู้สืบทอดคือ หลัก ล็อง เกวิน (Lạc Long Quân) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่งที่สองขึ้นใน 2,793 ปีก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่งสมัยที่สามได้เริ่มต้นขึ้นใน 2,524 ปีก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรเปลี่ยนชื่อเป็น วันลาง และเมืองหลวงได้รับการจัดตั้งขึ้นที่เมืองฟ็องเจิว (ปัจจุบันคือฟู้เถาะ) ที่บริเวณจุดเชื่อมต่อของแม่น้ำสามสายที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง โดยเริ่มจากเชิงภูเขา
หลักฐานที่ชาวเวียดนามรู้วิธีการคำนวณปฏิทินจันทรคติ โดยการแกะสลักลงบนหิน ย้อนกลับไปประมาณ 2,200-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยได้มีการค้นพบเส้นคู่ขนานถูกแกะสลักบนเครื่องมือหินเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการนับที่เกี่ยวข้องกับปฏิทินจันทรคติ[10]
กระบวนการทอไหมได้เป็นที่รู้จักโดยชาวเวียดนามตั้งแต่ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[13]
ราชวงศ์ห่งบ่างตอนกลาง (ตั้งแต่ 1,912–1,055 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
แก้ในช่วง 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ประชากรที่ตั้งถื่นฐานอาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลได้พัฒนาสังคมเข้าสู่ระบบเกษตรกรรมที่มีความซับซ้อน[14]
ราชวงศ์ห่งบ่างตอนปลาย (ตั้งแต่ 1,054–258 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
แก้การชลประทานของนาข้าวผ่านระบบที่ซับซ้อนของคลองและเขื่อนโดยเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์หุ่งผู้ปกครองดินแดนในขณะนั้นได้แตกออกเป็นราชวงศ์ทั้ง 18 ราชวงศ์ ได้เกิดสงครามกลางเมืองแย่งชิงอำนาจกันระยะหนึ่ง จนกระทั่งกษัตริย์หุ่งทั้งหมดได้ร่วมมือกัน นำกองทัพเข้ายึดครองบริเวณเหงะอานและห่าติ๋ญในปัจจุบัน[15] ชาวจามดั้งเดิมซึ่งเป็นชนชาติที่เป็นคู่แข่งของชาวเวียดนามได้ตั้งถิ่นฐานและครอบครองบริเวณจังหวัดกว๋างบิ่ญในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นอาณาจักรจามปาที่นับถือศาสนาฮินดู กษัตริย์หุ่งของชาวเวียดนามเห็นว่าเป็นภัยต่ออาณาจักรของตน นำไปสู่การต่อต้านและปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้[15] การรบส่วนใหญ่กองทัพของกษัตริย์หุ่งได้เป็นฝ่ายมีชัยต่อฝ่ายชาวจามดั้งเดิม ทำให้ชาวเวียดนามได้ดินแดนเพิ่มมากขึ้น
ยุคห่งบ่างได้สิ้นสุดลงในช่วงกลางของศตวรรษที่สามก่อนคริสต์ศักราช โดยหลังการถือกำเนิดของผู้นำทางทหารคนใหม่คือ ถุก ฟ้าน (Thục Phán) ซึ่งได้นำกองทัพยึดครองวันลาง กษัตริย์หุ่งองค์สุดท้ายถูกขับออกจากราชบัลลังก์
ช่วงสุดท้าย (258 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
แก้ถุก ฟ้าน (อาน เซือง เวือง) ผู้ปกครองของอาณาจักรที่อยู่ใกล้กัน เผ่าเอิวเหวียตได้โค่นล้มกษัตริย์หุ่งองค์สุดท้ายลงใน 258 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากยึดครองวันลาง ถุก ฟ้านได้รวมเผ่าหลักเหวียตเข้ากับเผ่าเอิวเหวียต และก่อตั้งอาณาจักรใหม่ที่ชื่อว่าเอิวหลัก ถุก ฟ้านสร้างเมืองหลวงและป้อมปราการของเขาขึ้น หรือเป็นที่รู้จักกันในป้อมปราการโก๋ลวา ที่บริเวณเขตดงอาน เมืองฮานอย[16]
รัฐบาล
แก้การปกครอง
แก้กษัตริย์หุ่งองค์แรกได้สถาปนารัฐเวียดนามเป็นครั้งแรกขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของความร่วมมือในการสร้างระบบจัดการน้ำ เนื่องจากแม่น้ำแดงจะเกิดปัญหาน้ำท่วมเสมอ จึงต้องมีผู้นำที่มีอำนาจเด็ดขาดในลักษณะที่มีอำนาจเป็นรวมศูนย์เพื่อวางแผนจัดการระบบน้ำ และเพื่อจุดประสงค์ในการต่อสู้กับศัตรูต่างชนเผ่า การสร้างรัฐเวียดนามครั้งแรกนี้เป็นรูปแบบแรกเริ่มของรัฐเอกราช มีการแบ่งลำดับชนชั้นทางสังคมโดยกษัตริย์หุ่งอยู่บนสุดและอันดับรองลงมาเป็นราชสำนักประกอบด้วยที่ปรึกษาหรือขุนนาง หลักเหิ่ว (lạc hầu)[17] อาณาจักรประกอบไปด้วยเขตปกครอง 15 เขต หรือที่เรียกว่า โบะ (bộ) (ที่แปลว่าเขตหรือแคว้น) แต่ละ โบะ จะถูกปกครองโดยตำแหน่งที่เรียกว่า หลักเตื๊อง (lạc tướng)[17] ตำแหน่งหลักเตื๊องส่วนมากเป็นของสมาชิกราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่ง ประกอบด้วยชุมชนเกษตรและหมู่บ้านอยู่บนพื้นฐานของระบบการปกครองฉันแม่กับลูกหรือ "มาตาธิปไตย" (Matriarchy system) ด้วยความสัมพันธ์ของตระกูลและปกครองโดย โบะจิ๊ญ (bộ chính) ที่มักจะเป็นหัวหน้าเผ่าผู้ชายที่อาวุโส
เทคโนโลยี
แก้เครื่องมือสำริด
แก้ประมาณ 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช การพัฒนาการปลูกข้าวและหล่อโลหะผสมทองแดง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำหมาและแม่น้ำแดง นำไปสู่การพัฒนาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมดงเซินขึ้น หลักฐานที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมที่รู้จักกันคือ อาวุธ เครื่องมือ และกลองที่ทำจากสำริดของดงเซิน แสดงถึงอิทธิพลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของเทคโนโลยีการหล่อด้วยทองแดง มีการค้นพบเหมืองแร่ทองแดงโบราณจำนวนมากในภาคเหนือของเวียดนาม
อ้างอิง
แก้- ↑ "Colonial Diasporas & Traditional Vietnamese Society". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-03. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.
- ↑ Dror, p. 33 & 254 "Hồng Bàng period"
- ↑ Pelley, p. 151
- ↑ Tucker, Oxford Encyclopedia of the Vietnam War
- ↑ Tăng Dực Đào, p. 7
- ↑ 6.0 6.1 Vuong Quan Hoang and Tran Tri Dung, p. 64
- ↑ Nhất Hạnh Master Tang Hôi: First Zen Teacher in Vietnam and China - 2001 Page 1 "At that time the civilization of northern Vietnam was known as Van Lang (van means beautiful, and lang means kind and healing, like a good doctor). The ruling house of Van Lang was called Hong Bang, which means a kind of huge bird."
- ↑ Vietnam - History and Culture
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "Mission Atlas Project - VIETNAM - Basic Facts" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-15. สืบค้นเมื่อ 2017-06-13.
- ↑ 10.0 10.1 Ancient calendar unearthed.
- ↑ 6,000-year-old tombs unearthed in northeast Vietnam.
- ↑ 12.0 12.1 Lamb, p. 52
- ↑ According to the Book of Han: "In a year, they have two rice crops and eight silk crops".
- ↑ "Vietnam - History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-03. สืบค้นเมื่อ 2017-06-13.
- ↑ 15.0 15.1 Tracing the origin of ethnic and ancestor land during the Hùng King Age.
- ↑ Ray, Nick; และคณะ (2010), "Co Loa Citadel", Vietnam, Lonely Planet, p. 123, ISBN 9781742203898.
- ↑ 17.0 17.1 Khâm định Việt sử thông giám cương mục, Vol. 1
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Đồ đồng cổ Đông Sơn" [Đông Sơn ancient bronze tools] (ภาษาเวียดนาม). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-30. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
- "Ánh sáng mới trên một quá khứ lãng quên" [New Light on a Forgotten Past] (ภาษาเวียดนาม).