รัฐบาลชั่วคราวสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา
รัฐบาลชั่วคราวเพื่อสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา (Provisional Government of National Union and National Salvation of Cambodia: PGNUNSC) เป็นรัฐบาลชั่วคราวที่ตั้งขึ้นโดยเขมรแดงเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2537[1] ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อต่อต้านการจัดตั้งราชอาณาจักรกัมพูชา นายกรัฐมนตรีคือ เขียว สัมพัน ซึ่งเป็นหัวหน้ากองทัพด้วย ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศคือซอน เซน ทีมงานเป็นสมาชิกพรรคสามัคคีแห่งชาติกัมพูชา บริเวณที่ควบคุมได้คือจังหวัดไพลิน (เมืองหลวงของรัฐบาลชั่วคราว)และจังหวัดพระวิหาร (ที่ตั้งของกองทัพ)[2] สถานีวิทยุของเขมรแดงเป็นที่รู้จักว่าเป็นวิทยุของรัฐบาลชั่วคราวเพื่อสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา รัฐมนตรีอื่น ๆ ได้แก่จัน ยัวราน มัก เบน อิน โซเพียบ กอร์บุนเฮง พิช เชียง และเชา เชือน[3]
รัฐบาลชั่วคราวสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา เขมรแดง | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2537–2541 | |||||||||||
ธงชาติ | |||||||||||
ตำแหน่งของจังหวัดไพลินในปัจจุบัน, ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลชั่วคราวในช่วง พ.ศ. 2537–2541 | |||||||||||
สถานะ | รัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง (2537–2541) | ||||||||||
เมืองหลวง | จังหวัดไพลิน | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | เขมร | ||||||||||
การปกครอง | รัฐบาลชั่วคราว | ||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||
• 2537–2541 | เขียว สัมพัน | ||||||||||
รองนายกรัฐมนตรี | |||||||||||
• 2537–2540 | ซอน เซน | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
• ก่อตั้ง | 11 กรกฎาคม 2537 | ||||||||||
• ล่มสลาย | 22 มิถุนายน 2541 | ||||||||||
สกุลเงิน | เรียล | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | กัมพูชา |
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เอียง ซารี ประกาศแยกตัวออกจากเขมรแดงโดยแบ่งกำลังทหารของตนออกไป และก่อตั้งพรรคของตนเองคือขบวนการสหภาพแห่งชาติประชาธิปไตย ซึ่งทำให้เขมรแดงแตกแยกมากขึ้นจนพล พต สั่งฆ่าซอน เซน (สำเร็จ) และตา มก (ไม่สำเร็จ)[4] ในช่วงกลางเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2540 เขียว สัมพัน ได้ตั้งพรรคของตัวเองคือพรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร และแยกตัวออกจากเขมรแดง[5] เมื่อพล พต เสียชีวิตในเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 และพลพรรคเขมรแดงได้แยกย้ายกันไป เขียว สัมพัน และตามกได้ประกาศสลายรัฐบาลชั่วคราวเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2541[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ United States Foreign Broadcast Information Service. Daily report: East Asia. Index, Volume 16, Part 2. NewsBank. 1996. p. 456.
- ↑ Alan John Day. Political Parties of the World. 1996. p. 110.
- ↑ International Federation of Social Science Organizations. Transition Regimes: Political and Socio-Economic Transformations. 1998. p. 157.
- ↑ Donald F. Busky. Communism in History and Theory: Asia, Africa, and the Americas. Westport, CT: Praeger Publishers. 2002. p. 38.
- ↑ Far East and Australasia 2003. 2002. p. 236.
- ↑ Sucheng Chan. Survivors: Cambodian Refugees in the United States. Chicago, IL: University of Illinois Press. 2004. p. 255.