รัฐพักรบ

(เปลี่ยนทางจาก รัฐทรูเชียล)

รัฐพักรบ (อังกฤษ: Trucial States; อาหรับ: الإمارات المتصالحة) หรือ ชายฝั่งพักรบ (อังกฤษ: Trucial Coast; อาหรับ: الساحل المتصالح) เป็นกลุ่มรัฐเชคทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเปอร์เซีย ภายหลังรัฐเหล่านี้ได้ร่วมลงนามสงบศึกกับรัฐบาลบริเตน จึงถูกเรียกว่ารัฐพักรบหรือรัฐสงบศึก และเข้าเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนตั้งแต่ ค.ศ. 1820 ใน ค.ศ. 1971 รัฐพักรบประกาศเอกราชและกลายเป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในปัจจุบัน

รัฐพักรบ

الإمارات المتصالحة (อาหรับ)
Trucial States (อังกฤษ)
ค.ศ. 1820–ค.ศ. 1971
ธงชาติรัฐพักรบ
ธงสภารัฐพักรบ
สถานะรัฐมหาราชาแห่งบริติชอินเดีย (จนถึง ค.ศ. 1947)
รัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร
เมืองหลวงอาบูดาบี
ภาษาทั่วไปอาหรับ, อังกฤษ
เดมะนิมชาวรัฐพักรบ
การปกครองสมาพันธ์ชนเผ่า
ประวัติศาสตร์ 
8 มกราคม ค.ศ. 1820
• สัญญาสงบศึกทางทะเลถาวร
ค.ศ. 1853
• สภารัฐพักรบ
ค.ศ. 1952
• สิ้นสุด
1 ธันวาคม ค.ศ. 1971
• สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2 ธันวาคม ค.ศ. 1971
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐอาบูดาบี
รัฐอัจญ์มาน
รัฐดูไบ
รัฐเราะซุลคัยมะฮ์
รัฐชัรญะฮ์
รัฐอุมม์อัลกุเวน
รัฐฟุญัยเราะฮ์
อัลญะซีเราะฮ์อัลฮัมรา
อะร์รัม
กัตต์
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

รัฐพักรบประกอบด้วยเจ็ดรัฐ ได้แก่ รัฐอาบูดาบี รัฐอัจญ์มาน รัฐดูไบ รัฐฟุญัยเราะฮ์ รัฐชัรญะฮ์, รัฐอุมม์อัลกุเวน และรัฐเราะซุลคัยมะฮ์ เดิมบริเตนเรียกดินแดนแถบนี้ว่า "ชายฝั่งโจรสลัด" (Pirate Coast) เพราะมักมีโจรสลัดมาปล้นเรือสินค้าของบริเตน จนในเดือนมกราคม ค.ศ. 1820 ผู้ปกครองรัฐอาบูดาบี รัฐชัรญะฮ์ รัฐอัจญ์มาน และรัฐอุมม์อัลกุเวนได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาทางทะเลทั่วไป ค.ศ. 1820 (General Maritime Treaty of 1820) กับบริเตน[1] โดยมีสาระสำคัญคือห้ามมีโจรสลัดและห้ามการค้าทาส อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งต่อกัน ใน ค.ศ. 1853 รัฐเหล่านี้จึงลงนามในสัญญาสงบศึกทางทะเลถาวร ค.ศ. 1853 (Perpetual Maritime Truce of 1853)[2] ต่อมาบริเตนซึ่งกังวลว่าชาติมหาอำนาจอื่นเช่นฝรั่งเศสและรัสเซียจะเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ได้ลงนามในสนธิสัญญา ค.ศ. 1892 กับรัฐพักรบ โดยในสนธิสัญญานี้บริเตนจะคุ้มครองรัฐพักรบทั้งทางภาคพื้นดินและทางทะเล แลกกับการที่รัฐพักรบต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับบริเตนเป็นหลัก สนธิสัญญานี้ทำให้รัฐพักรบกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตน[3]

ใน ค.ศ. 1968 บริเตนประกาศจะยกเลิกรัฐพักรบ ผู้ปกครองของแต่ละรัฐของรัฐพักรบจึงประชุมกันเพื่อจัดการกับการปกครองหลังบริเตนถอนทหารออกไป ในการประชุมครั้งแรกรัฐเอมิเรตต่าง ๆ รวมถึงรัฐกาตาร์และรัฐบาห์เรนจะรวมตัวกันเป็นสหภาพ แต่ต่อมารัฐกาตาร์ รัฐบาห์เรน และรัฐเราะซุลคัยมะฮ์ประกาศถอนตัว จึงเหลือ 6 รัฐเอมิเรตที่ร่วมลงนามในข้อตกลงสหภาพในวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1971[4]

ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1971 รัฐดูไบ รัฐอาบูดาบี รัฐชัรญะฮ์ รัฐอัจญ์มาน รัฐอุมม์อัลกุเวน และรัฐฟุญัยเราะฮ์ได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[5] รัฐเราะซุลคัยมะฮ์เข้าร่วมกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในภายหลังเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972[6]

อ้างอิง แก้

  1. Admirals of the World: A Biographical Dictionary, 1500 to the Present by William Stewart
  2. "Britain's Informal Empire in the Gulf, 1820–1971 by James Onley" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-11-30.
  3. Country Profile: United Arab Emirates - Library of Congress
  4. A Political Chronology of the Middle East by Europa Publications
  5. United Arab Emirates profile - Timeline - BBC News
  6. "The Historical Background and Constitutional Basis to the Federation" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-15. สืบค้นเมื่อ 2015-11-30.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รัฐพักรบ