รังไข่บิดขั้ว
รังไข่บิดขั้ว (อังกฤษ: ovarian torsion) คือภาวะที่รังไข่และอวัยวะข้างเคียงเกิดบิดขั้ว ทำให้เลือดไปเลี้ยงรังไข่ไม่ได้[3][4] ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องน้อยข้างที่เป็น[2][5] โดยทั่วไปแล้วอาการเจ็บปวดมักเป็นขึ้นอย่างเฉียบพลันทันที แต่ก็ไม่เสมอไป[2] อาการอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมคืออาการคลื่นไส้[2] ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ เลือดออก และเป็นหมัน[2][5]
รังไข่บิดขั้ว (Ovarian torsion) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Adnexal torsion[1] |
หลอดเลือดแดงในระบบสืบพันธุ์สตรี แสดงให้เห็นหลอดเลือดแดงมดลูก (uterine artery), หลอดเลือดแดงรังไข่ (ovarian artery), และหลอดเลือดแดงช่องคลอด (vaginal artery) | |
สาขาวิชา | นรีเวชวิทยา |
อาการ | ปวดท้องน้อย[2] |
ภาวะแทรกซ้อน | เป็นหมัน[2] |
การตั้งต้น | มักเป็นขึ้นอย่างเฉียบพลันทันที[2] |
ปัจจัยเสี่ยง | Ovarian cysts, ovarian enlargement, ovarian tumors, pregnancy, tubal ligation[3][2] |
วิธีวินิจฉัย | Based on symptoms, ultrasound, CT scan[1][2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Appendicitis, kidney infection, kidney stones, ectopic pregnancy[2] |
การรักษา | การผ่าตัด[1] |
ความชุก | 6 ต่อ 100,000 ประชากรสตรีต่อปี[2] |
ปัจจัยเสี่ยงคือการมีถุงน้ำที่รังไข่ รังไข่โต เนื้องอกรังไข่ การตั้งครรภ์ การรักษาภาวะเจริญพันธุ์ และการเคยผ่าตัดผูกท่อนำไข่[3][2][5] การวินิจฉัยทำได้โดยพิจารณาจากอาการ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด และการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยได้ แต่ถึงจะตรวจไม่พบก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นภาวะนี้[2] การวินิจฉัยที่แน่ชัดที่สุดคือการผ่าตัดเปิดช่องท้อง[2]
การรักษาทำได้โดยการผ่าตัด โดยอาจคลายการบิดขั้วและยึดรังไข่ให้อยู่กับที่ หรือตัดรังไข่ออก[2][1] ผู้ป่วยจำนวนมากสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องตัดรังไข่ออกแม้จะเป็นมาแล้วระยะเวลาหนึ่งก็ตาม[5] ผู้ป่วยที่เคยมีรังไข่บิดขั้วมีโอกาสประมาณร้อยละ 10 ที่รังไข่อีกข้างจะเป็นด้วยในอนาคต[4] ภาวะนี้ค่อนข้างพบได้น้อย โดยในแต่ละปีจะมีสตรีเป็นภาวะนี้ประมาณ 6 ใน 100,000[2] ภาวะนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ โดยพบบ่อยที่สุดในวัยเจริญพันธุ์[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Adnexal Torsion". Merck Manuals Professional Edition. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2018.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 Robertson JJ, Long B, Koyfman A (เมษายน 2017). "Myths in the Evaluation and Management of Ovarian Torsion". The Journal of Emergency Medicine. 52 (4): 449–456. doi:10.1016/j.jemermed.2016.11.012. PMID 27988260.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Asfour V, Varma R, Menon P (27 กรกฎาคม 2015). "Clinical risk factors for ovarian torsion". Journal of Obstetrics and Gynaecology. 35 (7): 721–5. eISSN 1364-6893. PMID 26212687.
- ↑ 4.0 4.1 Ros PR, Mortele KJ (2007). CT and MRI of the Abdomen and Pelvis: A Teaching File (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 395. ISBN 978-0-7817-7237-2.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Wall R (2017). Rosen's Emergency Medicine: Concepts and Clinical Practice (9 ed.). Elsevier. p. 1232. ISBN 978-0-323-35479-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รังไข่บิดขั้ว
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |