ระบบจำแนกประเภทภาพยนตร์

ระบบจำแนกประเภทภาพยนตร์ (อังกฤษ: motion picture rating system) เป็นการจัดระดับตามเนื้อหาและฉากของภาพยนตร์ จุดประสงค์เพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเข้าชมภาพยนตร์สำหรับเด็กและเยาวชน แต่ละประเทศมีลักษณะมาตรฐานวิธีจัดแบ่งแตกต่างกันไป ในปัจจุบันมาตรฐานที่เป็นสากลและได้รับการยอมรับมากที่สุดคือมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา

การจัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ

แก้

ตามระบบการจัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) โดยสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน (Motion Picture Association of America หรือ MPAA) ดังจะสามารถพบเห็นการกำหนดระดับได้ตามเว็บไซต์ภาพยนตร์อย่างเห็นได้ชัด ระดับภาพยนตร์ของสมาคมมีดังนี้

ระดับจี

แก้
 

ระดับจี (G: General Audiences) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ อาจประกอบไปด้วยความรุนแรงทางจินตนาการหรือความรุนแรงทางอารมณ์ขัน แต่ต้องไม่มีภาพโป๊ ภาพเปลือย เรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบอาจพบได้ในปริมาณน้อย แต่ไม่สามารถพบได้ในวัยเด็กและเยาวชน ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Toy Story, Cars และ Monsters, Inc.

ระดับพีจี

แก้
 

ระดับพีจี (PG: Parental Guidance Suggested) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ แต่แนะนำให้เด็กและเยาวชนนั้นมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำแนะนำ เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วยความรุนแรงเพียงเล็กน้อย การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ยาเสพติด ภาพโป๊ ภาพเปลือย และ/หรือกิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Moana (ความรุนแรงและสนุกและภาพน่ากลัว), How to Train Your Dragon (ความรุนแรงและสนุกภาพน่ากลัว) และ Harry Potter and the Socerer's Stone (ความรุนแรง, ภาพน่ากลัวและการใช้ภาษาไม่เหมาะสม)

ระดับพีจี-13

แก้
 

ระดับพีจี-13 (PG-13: Parents Strongly Cautioned) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ แต่เนื่องจากเนื้อหาบางส่วนอาจจะไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปี โดยเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำเตือน เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วย ความรุนแรงระดับปานกลาง การใช้ภาษาที่รุนแรง การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติดเพียงเล็กน้อย ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น The Avengers (ความรุนแรง, การใช้ภาษาพูดไม่เหมาะสม, การทำลายล้าง, การใช้แอลกอฮอล์และภาพน่ากลัว), Star Wars Episode VII: The Force Awakens (ความรุนแรงและภาพน่ากลัว) และ 10 Things I Hate About You (การใช้ภาษาไม่เหมาะสม, การใช้สิ่งเสพติด/แอลกอฮอล์และเนื้อหาทางเพศ)

ระดับอาร์

แก้
 

ระดับอาร์ (R: Restricted) เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีจะเข้าชมได้ ต่อเมื่อมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ไปด้วยเท่านั้น ห้ามเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีเข้าชมเพียงลำพัง เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วยความรุนแรงระดับมาก ภาพสยดสยอง การใช้ภาษาที่มีความรุนแรงระดับมาก การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติด ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Fifty Shade of Grey (กิจกรรมทางเพศและเนื้อหาทางเพศ, การใช้แอลกอฮอล์และการใช้ภาษาไม่เหมาะสม), The Conjuring (ความรุนแรงมากและภาพน่ากลัว) และ The Matrix (การใช้ภาษาและความรุนแรงมาก)

ระดับเอ็นซี-17

แก้
 

ระดับเอ็นซี-17 (NC-17: Adults Only; No One 17 and Under Admitted) ไม่อนุญาตให้เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปี เข้าชมโดยเด็ดขาด เพราะเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาที่อันตรายอย่างชัดเจนและเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่เท่านั้น เนื้อหาประกอบไปด้วย ความโหดร้าย ความรุนแรงระดับมากที่สุด ภาพสยดสยอง การใช้ภาษาที่รุนแรงระดับมากที่สุด การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติด ตัวอย่างภาพยนตร์ เช่น Blue is the Warmest Color (กิจกรรมทางเพศ, การใช้ภาษาและการใช้สิ่งเสพติด/แอลกอฮอล์), The Dreamers (กิจกรรมทางเพศและการใช้ภาษา) และ Shame (กิจกรรมทางเพศและการใช้ภาษา)

ภาพยนตร์ที่ยังไม่ได้กำหนดระดับ

แก้

จัดให้เป็น เอ็นอาร์ (NR: Not Rated) หรือข้อความว่า "ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังไม่ได้กำหนดระดับ" (This film is not yet rated) อย่างไรก็ตาม ระดับนี้ไม่นับเป็นระดับอย่างเป็นทางการของสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน

หมายเหตุ

แก้

แม้ไม่มีกำหนดตายตัวด้านเนื้อหาเพื่อแบ่งระดับระดับภาพยนตร์ แต่มีข้อสังเกตโดยย่อดังนี้

การแบ่งประเภทภาพยนตร์ในประเทศออสเตรเลีย
  • ระดับ PG-13 ถือเป็นระดับกลาง บรรดาผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์จึงต้องการให้ภาพยนตร์รักษาไม่ให้เกินจากระดับนี้ด้วยเหตุผลทางการตลาดให้ภาพยนตร์เข้าถึงกลุ่มคนวงกว้างที่สุด หากผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์เสนอต่อสมาคมภาพยนตร์อเมริกันเพื่อจัดแบ่งระดับ (ก่อนนำภาพยนตร์ออกฉาย) แล้วได้ระดับสูงกว่านี้ ทางผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์อาจถึงกับต้องตัดต่อเพื่อขอจัดระดับใหม่ก็ได้
  • คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า ระดับอาร์หมายถึงโป๊ แต่แท้จริงแล้วยังรวมถึงฉากสยองขวัญ การต่อสู้หรือทำร้ายรุนแรง (ทำร้ายกันง่าย ๆ หน้าเบี้ยว เลือดสาด อวัยวะกระจาย) การใช้คำหยาบคาย การใช้ยาเสพติด การลักพาตัว เนื้อหาที่อาจก่อความเข้าใจผิดทางศาสนา ความเชื่อ เชื้อชาติ การเมือง เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม แต่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง
  • ถ้ามีคำหยาบคายไม่เกินห้าคำ และไม่มีฉากโป๊หรือเปลือย มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี-13 ถ้ามีคำหยาบคายเกินห้าคำ มักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์
  • ถ้ามีเนื้อหาอ้างอิงเกี่ยวกับยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี-13 ถ้ามีฉากในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์
  • ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้หญิงมักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์
  • ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชายเพียงเล็กน้อย มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี, ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชายระดับปานกลาง มักถูกจัดอยู่ในระดับพีจี-13, ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชายที่มุ่งเน้นทางเพศสัมพันธ์ มักถูกจัดอยู่ในระดับอาร์ ถ้ามีฉากข่มขืนทางเพศสัมพันธ์ มักถูกจัดอยู่ในระดับเอ็นซี-17
  • ระดับเอ็นซี-17 จัดเป็นระดับต้องห้าม ถ้าไม่โป๊หรือโหดร้ายที่สุดก็ไม่ถึงกับถูกจัดเข้าระดับนี้ ส่วนใหญ่เน้นหนักภาพยนตร์โป๊เสียมาก เนื้อหาคล้ายระดับอาร์ แต่รุนแรงกว่าหลายเท่า สังเกตว่าโครงเรื่องโดยตรงหรือมีเนื้อหาเกินครึ่งเรื่องที่เข้าข่าย เช่น เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม ซึ่งไม่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง

ประเทศไทย

แก้

มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) "ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551" และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ได้เปลี่ยนจากระบบตรวจพิจารณาภาพยนตร์ (รวมทั้งหนัง สารคดี ละคร ที่อาจอยู่ในรูปของหนังที่ฉายในโรงภาพยนตร์หรือฟิล์ม และหนังแผ่นประเภทดีวีดี วีซีดี ซีดีรอม) มาเป็นการจัดประเภท โดยกำหนดภาพยนตร์ไว้ 8 ประเภท คือ

  1.   # " ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู "
  2.   # " ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป "
  3.   " ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ ๑๓ ปีขึ้นไป "
  4.   " ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป "
  5.   " ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป "
  6.   # " ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีดู " (ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส)
  7. " ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร "

ทั้งนี้โดยมีคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นผู้ตรวจพิจารณาและกำหนดประเภทภาพยนตร์ว่าอยู่ในประเภทใด

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้