ราบิแย กาดีร์

(เปลี่ยนทางจาก รอบิยะห์ กอดีร์)

ราบิแย กาดีร์ (อุยกูร์: رابىيه قادىر, Rabiyä Qadir, อ่านออกเสียง [ˈrabɪjæ ˈqadɪr]; จีนตัวย่อ: 热比娅·卡德尔; จีนตัวเต็ม: 熱比婭·卡德爾; พินอิน: Rèbǐyǎ Kǎdé'ěr) (เกิด 21 มกราคม ค.ศ. 1947) เป็นนักธุรกิจหญิงชาวมุสลิมอุยกูร์ และเป็นผู้นำการประท้วงทางการเมือง ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ของประเทศจีน เธอได้รับเลือกเป็นประธานองค์กรชาวอุยกูร์ลี้ภัย (World Uyghur Congress) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 [2]

ราบิแย กาดีร์
เกิด (1948-07-15) 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1948 (75 ปี)
เมืองอัลไต เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน
สัญชาติจีน
อาชีพนักธุรกิจ, นักกิจกรรมทางการเมือง
มีชื่อเสียงจากประธานองค์กรสภาอุยกูร์โลก

ราบิแย กาดีร์ เกิดในครอบครัวยากจนในเมืองอัลไต เธอเริ่มทำธุรกิจร้านซักรีดในปี พ.ศ. 2519 และขยายกิจการเป็นธุรกิจค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และขยายไปสู่กิจการค้าตามแนวชายแดนจีน รัสเซีย และคาซักสถาน ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต [3] นอกจากนั้นเธอยังได้ก่อตั้งมูลนิธิชื่อ 1,000 Families Mothers Project เป็นองค์กรที่สนับสนุนให้หญิงชาวอุยกูร์ริเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง [3]

กอดีร์ถูกทางการจีนจับกุมตัวในปี พ.ศ. 2542 ด้วยข้อหาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลกลาง และให้การสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ เธอได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2548 ก่อนหน้าการเดินทางไปเยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกของนางคอนโดลีซซา ไรซ์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา [4] และเดินทางไปสมทบกับครอบครัวในสหรัฐอเมริกา

ราบิแย กาดีร์ ถูกทางการจีนกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ปะทะระหว่างชาวอุยกูร์และชาวฮั่นในเมืองอุรุมชี เมืองหลวงของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 [5] แต่เธอได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ [6]

อ้างอิง แก้

  1. Ford, Peter (9 July 2009). "Spiritual mother of Uighurs or terrorist?". Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 18 August 2010.
  2. "Leadership of the World Uyghur Congress". Uyghurcongress.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-17. สืบค้นเมื่อ 10 July 2005.
  3. 3.0 3.1 "Profile: Rebiya Kadeer". BBC News. 17 March 2005.
  4. News Release Issued by the International Secretariat of Amnesty International เก็บถาวร 2005-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Amnesty International.
  5. "Civilians and armed police officer killed in NW China violence". Xinhua News. 5 July 2009. สืบค้นเมื่อ 5 July 2009.
  6. Wong, Edward (5 July 2009). "Riots in Western China Amid Ethnic Tension". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 July 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้