ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2014

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2014 เป็นการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2013–14, และเป็นครั้งที่ 59 ของการแข่งขันชิงแชมป์สโมสรในทวีปยุโรป โดย ยูฟ่า, และเป็นฤดูกาลที่ 22 นับตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อ จาก ยูโรเปียนแชมเปียนคลับ เป็น ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก.

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2014
รายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2013–14
หลังต่อเวลาพิเศษ
วันที่24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สนามอิชตาดีอูดาลุช, ลิสบอน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด ยูฟ่า
อังเคล ดี มารีอา (เรอัลมาดริด)[1]
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด ผู้ชม
เซร์คีโอ ราโมส (เรอัลมาดริด)[2]
ผู้ตัดสินบีเยิร์น เกยเปิร์ส (เนเธอร์แลนด์)
ผู้ชม60,976 คน[3]
สภาพอากาศมีเมฆเป็นบางส่วน
17 องศาเซลเซียส (63 องศาฟาเรนไฮต์)
51% ความชื้นสัมพัทธ์[4]
2013
2015

การแข่งขันจะมึข้นในวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2014, ที่สนาม อิชตาดีอูดาลุช ในกรุง ลิสบอน, ประเทศโปรตุเกส, ระหว่างสองฝั่งจากสเปน เรอัลมาดริด และ อัตเลติโกเดมาดริด. มันเป็นทัวร์นาเมนต์นัดชิงชนะเลิศครั้งที่ห้าที่สองทีมจากสมาคมเดียวกัน, และเป็นครั้งที่สองที่สองทีมจากสเปนชิงชนะเลิศกันเองและถือเป็นครั้งแรกที่มาจากเมืองเดียวกัน. เรอัลมาดริด ชนะไปได้ด้วยสกอร์ 4–1 หลังต่อเวลาพิเศษ, มาจากการทำประตูของ แกเร็ธ เบล, มาร์เซลู และ คริสเตียโน โรนัลโด ประกอบกับลูกโหม่งนาทีที่ 93 จาก เซร์คีโอ ราโมส, ซึ่งก็ถูกยกเลิกไปโดยประตูในช่วงครึ่งแรกของ เดียโก โกดิน. ในขณะเดียวกันนั้น, เรอัลมาดริดได้บันทึกสถิติแชมป์สมัยที่ 10 ได้ในรายการนี้, 12 ปี หลังจากที่ได้แชมป์รายการนี้มาครองถึง 9 สมัย.

ในฐานะทีมชนะเลิศ, เรอัลมาดริด จะต้องไปพบกับ เซบิยา ในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2014 และจะเป็นทีมของยูฟ่า เข้าแข่งขันในรอบรองชนะเลิศของ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2014 ในฐานะทีมตัวแทนจากยูฟ่า.

สนามแข่งขัน

แก้

สนามอิชตาดีอูดาลุช ในกรุง ลิสบอน, ประเทศโปรตุเกส, ได้รับการยืนยันให้เป็นสังเวียนนัดชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยผ่านวาระการประชุมคณะกรรมการ ยูฟ่าที่กรุง อิสตันบูล, ประเทศตุรกี.[5][6]

สนามเหย้าของฝั่งทีมจากโปรตุกีส พรีเมรา ลีกา เบนฟิก้า ตั้งแต่ปี 2003, ได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในฐานะเจ้าภาพ ยูฟ่า ยูโร 2004 5 นัด, รวมถึง ชิงชนะเลิศ. ก่อนที่จะมีการรื้อถอนในปี 2003, เพื่ปรับทางให้สนามรองรับความจุใหม่ถึง 65,000 คน, อิสตาจีอูดาลุซแบบดั้งเดิม เคยได้รับเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพ นัดชิงชนะเลิศ 1992, ที่ทีม แวร์เดอร์ เบรเมิน เอาชนะ อาแอส โมนาโก 2–0, และนัดที่สองของ ยูฟ่าคัพ นัดชิงชนะเลิศ 1983, ที่ทีม อันเดอร์เลชท์ รักษาสกอร์เสมอกับเบนฟิกา a 1–1 จนคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ.[7]

ครั้งสุดท้ายของถ้วยยุโรปที่ได้จัดขึ้นในเกมนัดชิงชนะเลิศที่กรุงลิสบอนเกิดขึ้นใน 1967, เมื่องทีมจากสกอตแลนด์ เซลติก เอาชนะ อินเตอร์ จากอิตาลี 2–1 ที่สนาม อิสตาดีอู นาซีอูนาล. เมืองหลวงของโปรตุเกสยังเคยเป็นเจ้าภาพ ยูฟ่าคัพ 2005 นัดชิงชนะเลิศ ที่สนาม อิสตาดีอู โชเซ อัลวาลาเด, บ้านของทีมคู่ปรับตัวฉกาจสำคัญและเป็นทีมที่เข้าชิงชนะเลิศอย่าง สปอร์ติง ลิสบอน, ที่พ่ายแพ้ไปด้วยสกอร์ 3–1 ต่อ ซีเอสเคเอ มอสโก.[7]

การแข่งขัน

แก้

รายละเอียด

แก้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เรอัลมาดริด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
อัตเลติโกเดมาดริด
GK 1   อีเกร์ กาซียัส (c)
RB 15   ดาเนียล การ์บาคัล
CB 4   เซร์คีโอ ราโมส   27'
CB 2   ราฟาแอล วาราน   120+3'
LB 5   ฟาบีอู กูเองเตรา   59'
RM 19   ลูคา โมดริช
CM 6   ซามี เคดีรา   45+1'   59'
LM 22   อังเคล ดี มารีอา
RF 11   แกเร็ธ เบล
CF 9   คาริม เบนเซมา   79'
LF 7   คริสเตียโน โรนัลโด   120+1'
ตัวสำรอง:
GK 25   เดียโก โลเปซ
DF 3   เปปี
DF 12   มาร์เซลู   118'   59'
DF 17   อัลบาโร อาร์เบโลอา
MF 23   อิสโก   59'
MF 24   อาเซียร์ อียาร์ราเมนดี
FW 21   อัลบาโร โมราตา   79'
ผู้จัดการทีม:
  การ์โล อันเชลอตตี
 
GK 13   ตีโบ กูร์ตัว
RB 20   ควนฟรัน   74'
CB 23   มีรังดา   53'
CB 2   เดียโก โกดิน   120'
LB 3   ฟีลีปี ลูอิส   83'
RM 8   ราอูล การ์ซีอา   27'   66'
CM 5   ตีอากู
CM 14   กาบี (c)   100'
LM 6   โกเก   86'
CF 19   เดียโก โกสตา   9'
CF 9   ดาบิด บียา   72'
ตัวสำรอง:
GK 1   ดาเนียล อารานซูเบีย
DF 12   โทบี อัลเดอร์เวเรลด์   83'
MF 4   มารีโอ ซัวเรซ
MF 11   คริสเตียน โรดรีเกซ
MF 24   โชเซ เออร์เนสโต โซซา   66'
MF 26   เดียโก
FW 7   อาเดรียน โลเปซ   9'
ผู้จัดการทีม:
  เดียโก ซีเมโอเน   120'

ยูฟ่า แมน ออฟ เดอะ แมตช์:
  อังเคล ดี มารีอา (เรอัลมาดริด)[1]
แฟนส์' แมน ออฟ เดอะ แมตช์:
  เซร์คีโอ ราโมส (เรอัลมาดริด)[2]
ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
  ซานเดอร์ ฟาน โรเออเคล
  เออร์วิน เซออินสตรา
ผู้ตัดสินที่สี่:
  คูเนย์ต ชาคีร์
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:
  โปล ฟาน โบเอเคิล
  ริชาร์ด ไลส์เวลด์

ข้อมูลในการแข่งขัน[8]

  • แข่งขันครบ 90 นาที (นับช่วงทดเวลาบาดเจ็บ)
  • ต่อเวลาพิเศษไปอีก 30 นาที เมื่อทั้งสองทีมเกิดผลการแข่งขันเสมอกัน
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกจุดโทษ เพื่อหาผู้ชนะ
  • รายชื่อนักฟุตบอล 7 คนที่จะต้องยิงจุดโทษ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Rodríguez, Alfredo (25 May 2014). "Madrid's Casillas pays tribute to 'kings of Europe'". UEFA.com (Union of European Football Associations). สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
  2. 2.0 2.1 "Madrid finally fulfil Décima dream". UEFA.com (Union of European Football Associations). 24 May 2014. สืบค้นเมื่อ 24 May 2014.
  3. 3.0 3.1 "Full-time report" (PDF). UEFA.com (Union of European Football Associations). 24 May 2014. สืบค้นเมื่อ 24 May 2014.
  4. "Tactical lineups" (PDF). UEFA.com (Union of European Football Associations). 24 May 2014. สืบค้นเมื่อ 24 May 2014.
  5. "UEFA Executive Committee agenda for Istanbul meeting". UEFA.org (Union of European Football Associations). 9 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-24. สืบค้นเมื่อ 2014-05-29.
  6. "Lisbon to stage 2014 UEFA Champions League final". UEFA.com (Union of European Football Associations). 20 March 2012.
  7. 7.0 7.1 "Finals in Lisbon". UEFA.com (Union of European Football Associations). 1 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-02. สืบค้นเมื่อ 2014-05-29.
  8. "Regulations of the UEFA Champions League 2013/14" (PDF). Nyon: UEFA. March 2013. สืบค้นเมื่อ 1 May 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้