ยุทธเวหาที่เบอร์ลิน (การทัพของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร)

ยุทธเวหาที่เบอร์ลิน เป็นการทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรบนเหนือน่านฟ้ากรุงเบอร์ลิน ของนาซีเยอรมนี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 ไม่ได้จำกัดเพียงแค่นครเบอร์ลินอย่างเดียว การทัพครั้งนี้ได้มีการวางเป้าหมายไปยังเมืองอื่น ๆ ของเยอรมัน เพื่อเป็นการป้องกันในการปกป้องนครเบอร์ลินอย่างเข้มงวด การทัพได้ถูกเริ่มปฏิบัติการโดยพลอากาศเอกเซอร์ อาเธอร์ แฮร์ริส การรับรองการบิน (AOC) แห่งกองบัญชาการการทิ้งระเบิดแห่งกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (RAF Bomber Command) ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 แฮร์ริสเชื่อว่านี้อาจเป็นผลการทิ้งระเบิดในการหยุดยั้งการต่อต้านเยอรมัน: "เราสามารถก่อวินาศกรรมนครเบอร์ลินได้ตลอดทาง ถ้ากองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ (USAAF) ได้เข้าร่วมมากับเรา เราจะสูญเสียเครื่องบินไประหว่าง 400-500 ลำ.มันจะสร้างความเสียหายต่อเยอรมนีในสงคราม"[4][5]

ยุทธเวหาที่เบอร์ลิน
ส่วนหนึ่งของ การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ซากของโบสถ์อนุสรณ์ไคเซอร์วิลเฮลม์
วันที่18 พฤศจิกายน 1943 – 31 มีนาคม 1944
สถานที่
ผล เยอรมนีชนะ[1][2]
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร
 แคนาดา
 ออสเตรเลีย
 นิวซีแลนด์
 โปแลนด์
 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร Arthur Harris
สหราชอาณาจักร Ralph Cochrane
สหราชอาณาจักร Don Bennett
สหราชอาณาจักร Roderick Carr
นาซีเยอรมนี แฮร์มันน์ เกอริง
นาซีเยอรมนี ฮันส์-เยือร์เกิน ชตุมพฟ์
นาซีเยอรมนี Joseph Schmid
นาซีเยอรมนี Günther Lützow
นาซีเยอรมนี Max Ibel
นาซีเยอรมนี Walter Grabmann
นาซีเยอรมนี Gotthard Handrick
ความสูญเสีย
  • Bomber Command
  • 2,690 crewmen KIA "over Berlin"
  • nearly 1,000 POW
  • 500 aircraft[3] a 5.8% loss rate
  • ~4,000 killed
  • 10,000 injured
  • 450,000 homeless

แฮร์ริสคาดหวังว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดหนักที่สามารถใช้งานได้จำนวน 800 ลำ สำหรับการตีโฉบฉวยได้แต่ละครั้ง ติดตั้งด้วยอุปกรณ์นำทางเครื่องบินแบบใหม่และซับซ้อนอย่างเรดาร์ เอชทูเอส (H2S radar) กองทัพอากาศทหารบกสหรัฐที่เพิ่งสูญเสียเครื่องบินรบจำนวนมากในการโจมตีต่อเมืองชไวน์ฟวร์ท ไม่ได้เข้าร่วมด้วย กองกำลังหลักของกองบัญชาการทิ้งระเบิดได้ออกคำสั่งโจมตีกรุงเบอร์ลินตั้งสิบหกครั้งแต่กลับล้มเหลวในเป้าหมายที่อาจจะก่อให้เกิดความพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาดต่อเยอรมนี ลุฟท์วัฟเฟอได้ตอบโต้ด้วยปฏิบัติการสเตียนบล็อก (Operation Steinbock, Unternehmen Steinbock, ปฏิบัติการมังกร) โจมตีใส่กรุงลอนดอน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1944 ในทุก ๆ รอบเที่ยวของสเตียนบล็อก ลุฟท์วัฟเฟอได้รับความสูญเสียอย่างหนัก มากกว่ากองทัพสหราชอาณาจักรโจมตีบนเหนือน่านฟ้าเยอรมนี[6]

กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรได้สูญเสียนักบินมากกว่า 7,000 นาย และเครื่องบินทิ้งระเบิด 1,047 ลำ 5.1 เปอร์เซ็นของรอบเที่ยวบิน และเครื่องบินรบ 1,682 ลำได้รับความเสียหายหรือไม่ก็ตัดออก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1944 กองบัญชาการการทิ้งระเบิดได้เข้าโจมตีเนือร์นแบร์คด้วยเครื่องบินรบ 795 ลำ, 94 ลำซึ่งถูกยิงตกและ 71 ลำ ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้มีการโจมตีโฉบฉวยทางอากาศอื่น ๆ อีกมากต่อกรุงเบอร์ลินโดยกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร, กองทัพอากาศที่ 8 ของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ และเครื่องบินทิ้งระเบิดโซเวียต กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรได้มอบให้เป็นการรบแห่งเกียรติยศ (battle honour) สำหรับการทิ้งระเบิดที่เบอร์ลินโดยเครื่องบินรบของกองบัญชาการทิ้งระเบิด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ถึง ค.ศ. 1945

อ้างอิง แก้

  1. Guilmartin 2001, p. 8.
  2. Murray 1985, p. 211.
  3. Oakman 2004.
  4. Brown 1999, p. 309.
  5. Grayling 2006, p. 62.
  6. Hinsley 1994, pp. 414–415.