ยุทธนาวีที่เมดิเตอร์เรเนียน

ยุทธนาวีที่เมดิเตอร์เรเนียนเป็นชื่อที่ได้มอบให้แก่การทัพทางเรือที่สู้รบกันในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง,ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน ปี 1940 - วันที่ 2 พฤษภาคม 1945

ยุทธการที่เมดิเตอร์เรเนียน
ส่วนหนึ่งของ เขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางในสงครามโลกครั้งที่สอง

จากด้านซ้ายหมุนไปตามเข็มนาฬกา:
เรือบรรทุกเครื่องบินบริตชในช่วงปฏิบัติการเพเดสตอล,เรือลาดตระเวน เซร่า เปิดฉากยิงในช่วงยุทธนาวีที่ปุนตา สติโล, เรือเดินสมุทรอิตาลีถูกฝ่ายข้าศึกโจมตีทางอากาศ, เรือดำน้ำ 'กอนดาร์' ติดตั้งด้วยกระบอกสูบ SLC บนท่าเรือ
วันที่10 มิถุนายน 1940 – 2 พฤษภาคม 1945
(4 ปี 10 เดือน 3 สัปดาห์ 1 วัน)
สถานที่
ผล สัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร
 ออสเตรเลีย
 สหรัฐ
 แคนาดา
 ฝรั่งเศสเสรี
 นิวซีแลนด์
 ยูโกสลาเวีย
 กรีซ
บราซิล บราซิล
 อิตาลี(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943)

 อิตาลี(ถึงปี ค.ศ. 1943)
 ไรช์เยอรมัน
 สาธารณรัฐสังคมอิตาลี(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943)


 ฝรั่งเศสเขตวีชี

ส่วนใหญ่, การทัพครั้งนี้เป็นการสู้รบระหว่างกองทัพเรืออิตาลี(Regia Marina), ได้รับการสนับสนุนจากกองเรือและกองทัพอากาศของประเทศอื่นๆในฝ่ายอักษะ และราชนาวีของบริติช ได้รับการสนับสนุนจากกองเรือประเทศอื่นๆ ในฝ่ายสัมพันธมิตร เช่น ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ และกรีซ กองทัพอากาศและกองทัพเรือของอเมริกันได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1942

แต่ละฝ่ายต่างมีวัตถุประสงค์โดยรวมถึงสามประการในการสู้รบครั้งนี้ ประการแรกคือการโจมตีเส้นทางขนส่งเสบียงของอีกฝ่าย ประการที่สองคือการเปิดเส้นทางขนส่งเสบียงไปให้แก่กองทัพของฝ่ายตนในแอฟริกาเหนือ ประการที่สามคือทำลายความสามารถของกองทัพเรือฝ่ายข้าศึกที่ต้องการทำสงครามในทะเล ด้านนอกเขตสงครามแปซิฟิก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้แสดงให้เห็นการทำสงครามทางเรือที่ใหญ่ที่สุดในช่วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรพยายามต่อสู้เพื่อปกป้องเสบียงและรักษาฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศที่สำคัญบนเกาะมอลตา

ในช่วงเวลาของเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 การสงบศึกระหว่างอิตาลีและฝ่ายสัมพันธมิตร เรือและเครื่องบินอิตาลีได้จมเรือรบผิวน้ำของฝ่ายสัมพันธมิตรรวมทั้งหมด 145,800 ตัน ในขณะที่เยอรมันได้จมไปทั้งหมด 169,700 ตัน รวมเป็นทั้งหมด 315,500 ตัน ในฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมดสูญเสียเรือรบ 76 ลำ และเรือดำน้ำ 46 ลำ ฝ่ายสัมพันธมิตรจมเรือรบฝ่ายอิตาลี รวมทั้งหมด 195,100 ตัน(161,200 ตันโดยเครือจักรภพและ 33,900 ตันโดยอเมริกัน) และเรือดำน้ำ 83 ลำ[1] เยอรมันพ่ายแพ้ในเมดิเตอร์เรเนียนจากจุดเริ่มต้นการทัพถึงจุดสิ้นสุด ได้จมเรือรบ 17 ลำ และเรือดำน้ำ 68 ลำ[2]

อ้างอิง แก้

  1. OÕHara, Vincent (2014). On Seas Contested: The Seven Great Navies of the Second World War. Naval Institute Press. p. 128. ISBN 978-1-61251-400-0.
  2. BRITISH LOSSES & LOSSES INFLICTED ON AXIS NAVIES


บรรณานุกรม แก้

  • Blitzer, Wolf; Garibaldi, Luciano (2001). Century of War. Friedman/Fairfax Publishers. New York. ISBN 1-58663-342-2
  • Barnett, Corelli. Engage the Enemy More Closely: The Royal Navy in the Second World War (1991)
  • Bragadin,A, Italian Navy in World War II,1st Ed, US Naval Institute, Annapolis, 1957. ISBN 087021327X
  • Caravaggio, Angelo.N, 'The attack at Taranto: tactical success, operational failure', Naval War College Review, Summer 2006, Vol. 59, No. 3.
  • Mollo, Andrew (1981). The Armed Forces of World War II. New York: Crown. ISBN 0-517-54478-4.
  • Morison, Samuel E. Operations in North African Wars 1942 - June 1943 (Boston: Little Brown, 1984). on the U.S. Navy
  • O'Hara, Vincent P. Struggle for the Middle Sea: the Great Navies at War in the Mediterranean 1940 - 1945 (London: Conway, 2009)
  • O'Hara, Vincent P. The German Fleet at War, 1939-1945 (Naval Institute Press, 2004)
  • Paterson, Lawrence. U-boats in the Mediterranean, 1941-1944. (Naval Institute Press, 2007)
  • Roskill, S. W. War at Sea 1939–1945, Volume 1: The Defensive London: HMSO, 1954; War at Sea 1939–1945, Volume 2: The Period of Balance, 1956; War at Sea 1939–1945, Volume 3: The Offensive, Part 1, 1960; War at Sea 1939–1945, Volume 3: The Offensive, Part 2, 1961. online vol 1; online vol 2