ยุทธการที่เซกิงาฮาระ
ยุทธการที่เซกิงาฮาระ (ชินจิไต: 関ヶ原の戦い; คีวจิไต: 關ヶ原の戰い, ถอดอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น: Sekigahara no Tatakai) เป็นศึกชี้ขาดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1600 (ปีเคโชที่ 5, วันที่ 15 เดือน 9) ในบริเวณที่ปัจจุบันคือจังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น ใน่ชวงสิ้นสุดของยุคเซ็งโงกุ ยุทธการนี้เป็นการสู้รบระหว่างกองกำลังของโทกูงาวะ อิเอยาซุต่อฝ่ายแนวร่วมที่จงรักภักดีต่อตระกูลโทโยโตมิ ภายใต้การนำของอิชิดะ มิตสึนาริ โดยมีบางคนแปรพักตร์ทั้งก่อนและระหว่างสงคราม ทำให้ฝ่ายโทกูงาวะเป็นฝ่ายชนะ ยุทธการที่เซกิงาฮาระเป็นยุทธการที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคศักดินา และมักถือเป็นยุทธการที่สำคัญที่สุด ความพ่ายแพ้ของโทโยโตมินำไปสู่การสถาปนารัฐโชกุนโทกูงาวะ
โทกูงาวะ อิเอยาซุใช้เวลาอีกสามปีในการรวบรวมอำนาจเหนือตระกูลโทโยโตมิและไดเมียวหลายคน แต่ยุทธการที่เซกิงาฮาระถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างไม่เป็นทางการของรัฐโชกุนโทกูงาวะที่ปกครองญี่ปุ่น 2 ศตวรรษครั้งจนถึง ค.ศ. 1868[5]
การรบ
แก้เมื่อฮิเดโยชิเสียชีวิตในปี ค.ศ.1598 ตัวอิเอยาสุก็วางแผนที่จะริบอำนาจของตระกูลโทโยโทมิ แต่อิชิดะ มิตสึนาริและบรรดาไดเมียวทางภาคตะวันตกไม่ยินยอม รวมทั้งตัวอุเอสึงิ คาเงะคัตสึกับนาโอเอะ คาเนะสึกุ ก็ไม่เห็นด้วยกับอิเอยาสุ ทางด้านอิชิดะจึงเปิดฉากโจมตีโดยร่วมมือกับชิมาสุเข้าโจมตีปราสาทฟุชิมิ เมื่อปราสาทฟุชิมิถูกตีแตก อิเอยาสุจึงต้องรับศึกสองด้าน คือทัพอิชิดะและทัพอุเอสึงิ ดังนั้นอิเอยาสุตัดสินใจรับศึกกับทัพอิชิดะที่ทุ่งเซกิงาฮาระ และแบ่งอีกทัพหนึ่งไปรับกับทัพอุเอสึงิ
21 ตุลาคม ค.ศ. 1600 ทัพอิชิดะและทัพโทกุงาวะก็เปิดฉากสู้รบกัน โดยในช่วงแรกฝ่ายอิชิดะและพันธมิตรได้เปรียบ แต่มีขุนพลคนหนึ่งชื่อโคบายาคาวะ ฮิเดะอากิ กลับลังเลไม่ยอมเคลื่อนทัพ ทางฝ่ายอิเอยาสุที่กำลังเสียเปรียบจึงเข้าเจรจาลับกับตัวฮิเดะอากิแต่ฮิเดะอากิก็ลังเล สุดท้ายอิเอยาสุจึงให้ทหารระดมยิงปืนไฟใส่ค่ายโคบายาคาวะ ทำให้โคบายาคาวะ ฮิเดะอากิ, คุสึกิ โมโตสึนะ, วากิซากะ ยาสุฮารุ, อะกาสะ นาโอะยาสุ และโองาวะ สุเกะทาดะ ทรยศอิชิดะ และเข้าโจมตีกองทัพโอตานิทันที จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้โอตานิ โยชิสึกุตัดสินใจทำเซ็ปปุกุ ส่วนชิมะ ซากอน ก็ได้สละชีวิตตนเอง เพื่อให้มิตสึนาริได้หลบหนี และบรรดากองทัพฝ่ายตะวันตกก็ต่างถอยทัพกลับดินแดนของตน
ผลที่ตามมา
แก้จุดเริ่มต้นของรัฐโชกุนโทกูงาวะ
แก้หลังการประหารชีวิตอิชิดะ มิตสึนาริ โคนิชิ ยูกินางะ และอันโกกูจิ เอเกในที่สาธารณะเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน อิทธิพลและชื่อเสียงของตระกูลโทโยโตมิและฝ่ายที่จงรักภักดีตระกูลนี้ลดลงอย่างมาก[6] โทกูงาวะ อิเอยาซุจัดสรรที่ดินและศักดินาแก่ผู้มีส่วนร่วมใหม่ โดยให้รางวัลผู้ที่ช่วยเหลือเขา และแทนที่ ลงโทษ หรือเนรเทศผู้ที่ต่อสู้กับเขา ด้วยเหตุนี้ ทำให้เขาควบคุมดินแดนโทโยโตมิในอดีตหลายแห่ง[7]
ในเวลานั้น ยุทธการนี้ถือเป็นความขัดแย้งภายในระหว่างรัฐบริวารของโทโยโตมิ อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1603 จักรพรรดิโกะ-โยเซแต่งตั้งอิเอยาซุเป็นโชกุน[8][6] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ว่างตั้งแต่รัฐโชกุนอาชิกางะล่มสลายเมื่อ 27 ปีก่อน[9] ยุทธการนี้จึงกลายเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญ
สนามรบ
แก้บริเวณที่ตั้งของสนามรบได้รับการบรรจุเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์แห่งชาติญีปุ่นใน ค.ศ. 1931 บริเวณนี้ประกอบด้วยที่ตั้งเดิมของโทกูงาวะ อิเอยาซุ (徳川家康最初陣地) ตำแหน่งสุดท้ายของโทกูงาวะ อิเอยาซุ (徳川家康最後陣地) ตำแหน่งของอิชิดะ มิตสึนาริ (石田三成陣地) กระโจมไฟโอกายามะ (岡山烽火場) สุสานโอตานิ โยชิตสึงุ (大谷吉隆墓) คูบิซูกะตะวันออก (東首塚) และคูบิซูกะตะวันตก (西首塚)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Davis 1999, p. 204.
- ↑ 2.0 2.1 Bryant 1995.
- ↑ 『関原軍記大成』
- ↑ 『関原合戦記』
- ↑ "Battle of Sekigahara | Summary, Facts, & Outcome | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-22.
- ↑ 6.0 6.1 Bryant 1995, p. 80.
- ↑ Bryant 1995, p. 82.
- ↑ Davis 1999, p. 208.
- ↑ Davis 1999, p. 205.
- ↑ "関ヶ原古戦場" [Sekigahara ko-senjō] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
บรรณานุกรม
แก้- Bryant, Anthony (1995). Sekigahara 1600: The Final Struggle For Power. Osprey Campaign Series. Vol. 40. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 978-1-85532-395-7.
- Davis, Paul (1999). "Sekigahara, 21 October 1600". 100 Decisive Battles: From Ancient Times to the Present. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-514366-9.
- Wilson, William Scott (2004). The Lone Samurai: The Life of Miyamoto Musashi. Tokyo: Kodansha International.
อ่านเพิ่ม
แก้Paul Davis used the following sources to compile the chapter "Sekigahara, 21 October 1600" in 100 Decisive Battles: From Ancient Times to the Present "Sekigahara, 21 October 1600."
- De Lange, William. Samurai Battles: The Long Road to Unification Groningen: Toyo Press, 2020
- Sadler, A.L. The Maker of Modern Japan: The Life of Tokugawa Ieyasu London: George Allen & Unwin, 1937
- Sansom, George. A History of Japan from 1334–1615 Stanford University Press, 1961
- Turnbull, Stephen. The Samurai: A Military History New York: Macmillan, 1977
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- SengokuDaimyo.com The website of samurai author and historian Anthony J. Bryant. Bryant is the author of the above-mentioned Sekigahara 1600: The Final Struggle for Power.
- Several strategy war games based on the battle: Sekigahara: Unification of Japan