ยาเอสุ

บริษัทวิทยุ

ยาเอสุ (อังกฤษ: Yaesu) เป็นตราสินค้าอุปกรณ์วิทยุสมัครเล่นของญี่ปุ่น ก่อตั้งโดย บริษัท ยาเอสุ มูเซ็น จำกัด (ญี่ปุ่น: 八重洲無線株式会社โรมาจิYaesu Musen Kabushiki-gaisha) ในปี พ.ศ. 2502 โดยซาโกะ ฮาเซงาวะ นักวิทยุสมัครเล่นชาวญี่ปุ่น (สัญญาณเรียกขาน: JA1MP[1]) ในยาเอสุ เขตหนึ่งในโตเกียว

ยาเอสุ
ประเภทเอกชน
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ก่อตั้งพ.ศ. 2502; 65 ปีที่แล้ว (2502) ใน ยาเอสุ, เขตชูโอ, โตเกียว, ญี่ปุ่น
ผู้ก่อตั้งซาโกะ ฮาเซงาวะ
สำนักงานใหญ่
โตเกียว
,
ญี่ปุ่น
เว็บไซต์www.yaesu.com

ประวัติ

แก้
 
วิทยุยาเอสุ เอฟที50 UHF/VHF ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ในตอนแรกยาเอสุก่อตั้งขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนาและผลิตเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุเชิงพาณิชย์และสมัครเล่นสำหรับตลาดญี่ปุ่น แต่เพียงห้าปีหลังจากการก่อตั้ง บริษัทก็ได้ลงนามในข้อตกลงการขายในต่างประเทศเพื่อส่งออกไปยังออสเตรเลียและเยอรมนี

ในยุโรป อุปกรณ์ดังกล่าวจำหน่ายภายใต้ตราสินค้า ยาเอสุ และและตราสินค้า ซอมเมอร์แคมป์ (Sommerkamp) ในปี พ.ศ. 2506 บริษัท ซอมเมอร์แคมป์ จากสวิสเซอร์แลนด์นำเข้าอุปกรณ์ ยาเอสุ และจำหน่ายโดยใช้ตราสินค้าของตนเอง

กลุ่มอุปกรณ์ของยาเอสุถูกนำเข้าในสหรัฐครั้งแรกโดย สเปคทรอนิกส์ อิงค์ (Spectronics, Inc.) ซึ่งตั้งอยู่ในซิกแนลฮิลล์ แคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ. 2508 ยาเอสุกลายเป็นส่วนสำคัญในตลาดวิทยุสมัครเล่นในสหรัฐ ด้วยการเปิดตัวและปรับปรุงกลุ่มผลิตภัณฑ์ เอฟที-101 ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในคริสต์ทศวรรษ 1970 นอกจากนี้ การผลิตเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุยังได้ว่าจ้างบริษัทจากภายนอก เฮนรี่เรดิโอ (Henry Radio) ในลอสแองเจลิส

ซาโกะ ฮาเซงาวะ เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2536 หลังจากการเสียชีวิตของเขา จุน ฮาเซงาวะ เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทน

 
ยาเอสุ เอฟที-180 อุปกรณ์สื่อสารทางเรือ/ฝั่ง เอชเอฟ เชิงพาณิชย์

ยาเอสุ มูเซ็น เข้าซื้อตราสินค้าอุปกรณ์วิทยุ สแตนดาร์ด (STANDARD) จาก มารันทซ์เจแปน ในปี พ.ศ. 2541 และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท เวอร์เท็กซ์ สแตนดาร์ด จำกัด (ญี่ปุ่น: 株式会社バーテックススタンダードโรมาจิKabushiki-gaisha Bātekkusu Sutandādo) ในปี พ.ศ. 2543 ในปี พ.ศ. 2550 โมโตโรล่าได้ประกาศความตั้งใจที่จะซื้อ เวอร์เท้กซ์ สแตนดาร์ด 80% และก่อตั้งบริษัทร่วม ร่วมทุนกับโทโคกิเคน Tokogiken (บริษัทเอกชนของญี่ปุ่นที่ควบคุมโดย จุน ฮาเซงาวะ) ซึ่งจะถือหุ้นอีก 20% ข้อตกลงนี้เสร็จสมบูรณ์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551[2] และยุติลงโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 แผนกวิทยุเคลื่อนที่ภาคพื้นดิน เวอร์เท็กซ์ สแตนดาร์ด ดำเนินงานโดยบริษัทย่อยซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[3] และได้โอนธุรกิจวิทยุสมัครเล่น วิทยุทางอากาศ และวิทยุทางทะเล ไปยังบริษัทใหม่ชื่อว่า "ยาเอสุ มูเซ็น"[4]

ดิจิโหมด "ฟิวชั่น"

แก้

ในปี พ.ศ. 2556 ยาเอสุได้เปิดตัวโหมดการทำงานดิจิทัลของตัวเองสำหรับวิทยุสมัครเล่น ชื่อว่า "ระบบฟิวชั่น System Fusion" เช่นเดียวกับโหมดดิจิตอลอื่น ๆ ฟิวชั่น ใช้แบนด์วิดท์วิทยุที่แคบกว่า ด้วยระบบฟิวชั่น ระบบได้ให้ความสำคัญกับความเข้ากันได้กับวิทยุเอฟเอ็มแบบอะนาล็อกเป็นพิเศษ สิ่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดความซับซ้อนในการย้ายการทวนสัญญาณวิทยุสมัครเล่นที่มีอยู่จากเทคโนโลยีแอนะล็อกไปเป็นดิจิทัล

ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เทคโนโลยี minimum-shift keying (GMSK) ถือกำเนิดขึ้นในตลาดวิทยุสมัครเล่นในฐานะโหมดดิจิทัลที่มีความโดดเด่นในการใช้งาน ในปี พ.ศ. 2556 ยาเอสุได้เปิดตัว "ระบบฟิวชั่น" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี FSK ระดับ 4 หรือ C4FM สำหรับการส่งข้อมูลเสียงดิจิทัล โปรโตคอลการสื่อสารระบบฟิวชั่นช่วยให้อุปกรณ์วิเคราะห์สัญญาณขาเข้าและระบุโดยอัตโนมัติว่ากำลังใช้ C4FM หรือโหมด FM ทั่วไป ระบบฟิวชั่นยังช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลในอัตราเต็มด้วยความเร็วสูงถึง 9,600 บิตต่อวินาที[5]

 
เครื่องวิทยุสองเครื่องทางซ้าย ซ้ายสุดคือวิทยุตราสินค้ายาเอสุ เอฟที-258 สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น ลำดับต่อมาคือเวอร์เท็กซ์ สแตนดาร์ด สำหรับความถี่ประชาชน (ซีบี)

ยาเอสุเป็นบริษัทเดียวที่มีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบฟิวชั่น ขณะที่ไอคอมร่วมกับสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งญี่ปุ่นได้พัฒนาอุปกรณ์โดยใช้โปรโตคอล ดี-สตาร์ ตราสินค้าอื่น ๆ ใช้ระบบดีเอ็มอาร์รวมถึงโหมดอื่นๆ

ผลิตภัณฑ์

แก้

ยาเอสุได้ผลิตอุปกรณ์จำนวนหนึ่งที่อยู่ในรายการเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุของยาเอสุมาตลอดตั้งแต่ระยะเวลาที่ก่อตั้ง โดยโฟกัสยังคงอยู่ที่เครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุสมัครเล่น

ในประเทศไทย นอกจากการจัดจำหน่ายเครื่องวิทยุสมัครเล่นและการสื่อสารในย่านความถี่วีเอชเอฟอื่น ๆ แล้ว ยาเอสุยังได้ผลิตวิทยุสื่อสารคลื่นความถี่ประชาชนความถี่ 245 - 247 MHz ซึ่งเป็นความถี่ประชาชนที่กำหนดใช้งานเฉพาะในประเทศไทย โดยใช้ตัวเครื่องสีแดง[6]

อ้างอิง

แก้
  1. "Very Early Yaesu Musen Co. Amateur Radio Equipment in Australia - Page 1". Home.alphalink.com.au.
  2. "Motorola Completes Tender Offer for Yaesu's Parent Company". ARRL. 2007-11-05. สืบค้นเมื่อ 2017-01-05.
  3. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-09-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. "Yaesu's Amateur Radio Division Breaks with Motorola, Changes Name to Yaesu Musen". ARRL. 2011-12-28. สืบค้นเมื่อ 2017-01-05.
  5. "WHAT IS SYSTEM FUSION? | SystemFusion". systemfusion.yaesu.com. สืบค้นเมื่อ 2022-08-01.
  6. "วิทยุสื่อสาร YAESU-FT-4T". 2wayram.com | ทูเวย์ราม แหล่งรวม วิทยุสื่อสาร (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้