มิราเคิล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Sapotaceae (วงศ์ละมุด พิกุล)
สกุล: Synsepalum
สปีชีส์: S.  dulcificum
ชื่อทวินาม
Synsepalum dulcificum
(Schumach. & Thonn.) Daniell
ชื่อพ้อง

Bakeriella dulcifica (Schumach. & Thonn.) Dubard
Bumelia dulcifica Schumach. & Thonn.
Pouteria dulcifica (Schumach. & Thonn.) Baehni
Richardella dulcifica (Schumach. & Thonn.) Baehni
Sideroxylon dulcificum (Schumach. & Thonn.) A.DC.[1]

มิราเคิล (อังกฤษ: Miracle fruit; Miracle berry) (ชื่อวิทยาศาสตร์: Synsepalum dulcificum) เป็นไม้ผลพื้นเมืองของประเทศกานา ลักษณะต้นมีขนาดทรงพุ่มเล็ก ชอบความชื้นสูงแต่ไม่ชอบแดดจัด ผลสุกแก่จะมีสีแดงสดใส เมื่อรับประทานผลสุกแก่เข้าไปแล้ว ประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะยม ระกำ ตามเข้าไปจะไม่รู้สึกเปรี้ยว ในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นรสชาติหวานคล้ายน้ำตาล

ประโยชน์ แก้

มิราเคิลมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ผลสุกแก่จะมีสีแดงสดใส เมื่อรับประทานผลสุกแก่เข้าไปแล้วสารไกโคโปรตีนในผลจะไปเคลือบผิวของลิ้นอยู่นานประมาณ 1-2 ชั่วโมง เมื่อรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวตามเข้าไปจะไม่รู้สึกเปรี้ยว ในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นรสชาติหวาน โดยทำให้มีโอกาสของการนำไปใช้ประโยชน์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะต้องงดน้ำตาล แต่ถ้ากินผลไม้ชนิดนี้ก่อน แล้วสามารถทำอาหารได้โดยไม่ใส่น้ำตาลก็อร่อยได้เหมือนอาหารปกติ มิราเคิลจึงเป็นพืชที่กำลังมีการศึกษาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และตรวจสอบถึงความเป็นพิษกันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ประเทศทั่วโลก

นักวิชาการญี่ปุ่นยังได้นำผลมิราเคิลไปวิเคราะห์ และสกัดเป็นน้ำตาลก้อนลดความอ้วน อีกทั้งทางวิทยาศาสตร์ยังได้นำไปใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาที่มีรสขม เพราะว่าผลมิราเคิลมีสารที่ชื่อว่า มิราคูลิน ซึ่งสารนี้ทำให้เปลี่ยนรสเปรี้ยวได้ดีและเปลี่ยนรสขมได้บ้างเล็กน้อย

อ้างอิง แก้

  1. "Synsepalum dulcificum (Schumach. & Thonn.) Daniell". African Flowering Plants Database. Conservatoire et Jardin Botaniques de la Ville Genève - South African Biodiversity Institute.

แหล่งข้อมูล แก้