มิจฉาทิฐิ
มิจฉาทิฐิ (บาลี: มิจฺฉาทิฏฺฐิ) เรียกโดยย่อว่า "ทิฐิ"[1] หมายถึง ความเห็นผิดจากความเป็นจริง[2] หรือผิดจากทำนองคลองธรรม[3]
ประเภท
แก้พระไตรปิฎกภาษาบาลี แบ่งหมวดมิจฉาทิฏฐิไว้หลายแบบ เช่น สักกายทิฏฐิ 20 ในนกุลปิตาสูตร ทิฏฐิ 62 ในพรหมชาลสูตร และนิยตมิจฉาทิฏฐิ 3 ในสามัญญผลสูตร เป็นต้น
นิยตมิจฉาทิฐิ 3 ได้แก่[4]
- นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าไม่มี ได้แก่
- นตฺถิ ทินฺนํ การให้ไม่มีผล
- นตฺถิ ยิฏฺฐํ การบูชาไม่มีผล
- นตฺถิ หุตํ การเซ่นสรวงไม่มีผล
- นตฺถิ สุกตทุกฺกฏานํ กม์มานํ ผลํ วิปาโก ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี
- นตฺถิ อยํ โลโก โลกนี้ไม่มี
- นตฺถิ ปโร โลโก โลกหน้าไม่มี
- นตฺถิ มาตา มารดาไม่มีคุณ
- นตฺถิ ปิตา บิดาไม่มีคุณ
- นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี
- นตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก
- อเหตุกทิฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
- อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีการกระทำ
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ
แก้ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มี 2 อย่าง[5] ได้แก่
- ปรโตโฆสะ คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น เสียงจากผู้อื่น ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น
- อโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา ความไม่รู้จักคิด การปล่อยให้อวิชชาครอบงำ ตรงกันข้ามกับคำว่า โยนิโสมนสิการ
อ้างอิง
แก้- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
- อักขณสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓
- ↑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม: ทิฏฐิ 2
- ↑ พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๒ กัมมจตุกกะ และ มรณุปปัตติจตุกกะ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ, 2555. 334 หน้า. หน้า 152.
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ สามัญญผลสูตร, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
- ↑ ตติยปัณณาสก์ อาสาวรรคที่ ๑ ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐