ปรโตโฆสะ
ปรโตโฆสะ (จาก ปรโต นิบาต (จากอื่น) (จาก ปร คุณนาม (อื่น) + -โต อัพยยปัจจัย) + โฆส) แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หมายรวมถึงคำพูด, คำแนะนำ, คำชี้แจง, คำโฆษณา, กระแสข่าว ข้อเขียน, บทความจากบุคคลหรือแหล่งข่าวต่าง ๆ
ปรโตโฆสะ มี 2 ประเภท คือ ที่เป็นจริง มีเหตุผล เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยความหวังดี และที่เป็นเท็จ ไม่มีเหตุผล ไม่เป็นประโยชน์ มุ่งทำลาย
ปรโตโฆสะ เป็นวิถีทางเบื้องต้นแห่งปัญญาและสัมมาทิฐิ แต่ต้องมีโยนิโสมนสิการคอยกำกับ จึงจะสามารถรู้แยกแยะและคัดสรรเฉพาะปรโตโฆสะฝ่ายดีได้ ปรโตโฆสะที่ปราศจากโยนิโสมนสิการจะนำให้เกิดความงมงาย หูเบา เชื่อง่าย ไร้เหตุผลและมิจฉาทิฐิได้ง่าย
อ้างอิง
แก้- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548