มาสคารา

เครื่องสำอาง

มาสคารา (อังกฤษ: mascara) เป็นเครื่องสำอางที่ใช้เสริมความเข้ม เพิ่มความหนาและความยาวแก่ขนตา มาสคารามาในสามรูปแบบได้แก่ แบบน้ำ เค้ก และ ครีม แล้วยังมาในอีกหลากหลายสูตร ทิ้นท์ และสี มาสคาราจะมีรูปแบบบรรจุในขวดหลอดและมีแปรงพร้อมในตัว ส่วนผสมในมาสคาราประกอบด้วยน้ำ ขี้ผึ้ง film-formers และ สารกันบูด แปรงปัดมาสคาราสามารถดัดตรงหรือโค้งงอเมื่อใช้ปัดขนตา และขนแปรงมีทั้งแบบบางและหนา มาสคาราบางตัวอาจมีส่วนผสมของเส้นใยสังเคราะห์หรือเส้นใยไนล่อนเพื่อเพิ่มความยาวของขนตา

ขวดมาสคาราและแปรงปัด

ประวัติ แก้

ในศตวรรษที่ 19 มาสคาราได้คิดค้นขึ้นโดย Eugene Rimmel คำว่า “rimmel” ยังมีความหมายว่า "มาสคารา" ในภาษาต่างๆรวมถึงโปรตุเกส (rímel) ตุรกี (rimel) โรมาเนีย (rimel) ดัตช์ (rimel) เปอร์เซีย (rimel) ฯลฯ

คำว่ามาสคาราได้มาจากภาษาอาหรับ Maskhara หรือจากอิตาลี maschera ซึ่งหมายถึงหน้ากาก จากละตินกลาง masca หรือจากออกซิตัน masco

มาสคาราสมัยใหม่คิดค้นขึ้นในปี 1913 โดยนักเคมีชื่อ T.L. Williams ผลิตเพื่อให้น้องสาว Mabel ได้ใช้ มาสคาราอันแรกนั้นทำขึ้นจากหินถ่านผงผสมกับวาสลิน หลังจากนั้นผลิตภัณฑ์ได้ประสบความสำเร็จ Williams เลยเริ่มผลิตขายผ่านทางเมล บริษัท Maybelline ซึ่งมาจาการรวมชื่อของน้องสาวและวาสลินในที่สุดก็กลายเป็นบริษัทเครื่องสำอางชั้นนำ

มาสคาราจะนำมาใช้เพื่อให้ขนตาดูเข้มและหนาขึ้น และมีส่วนประกอบด้วยเชื้อสีและ ขี้ผึ้ง carnauba ผู้ใช้จะต้องทำให้ขนแปรงเปียกและถูกับเนื้อเค้ก แล้วค่อยนำมาปัดขนตา โดยส่วนมากผู้หญิงใช้มาสคาราเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ดวงตารวมทั้งเพื่อดึงดูดความสนใจ

มาสคาราในสมัยใหม่ที่บรรจุในขวดหลอดและมาพร้อมกับแปรงปัดขนตาในตัวมักเป็นที่นิยมในท้องตลาดมากกว่ามาสคาราแบบเค้ก Max Factor เป็นบริษัทแรกที่ผลิตมาสคาราพร้อมแปรงในบรรจุภัณฑ์แบบขวดหลอดซึ่งได้ทำให้เกิดการผลิตมาสคาราสมัยใหม่จนถึงวันนี้

กลุ่มประเภท แก้

มาสคาราสมัยใหม่แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่มาสคาราแบบกันน้ำ (waterproof) และไม่กันน้ำ (non-water resistant)

มาสคาราแบบกันน้ำมีส่วนประกอบของ volatile solvent (isododecane - isomer นด dodecane) ไขมันจากสัตว์ (ขี้ผึ้ง) ไขมันจากพืช (carnauba wax, rice bran wax, candelila wax) ไขมันจากแร่ธาตุ (ozokerite, paraffin) รงควัตถุ (iron oxide, ultramarine) และ filmifying polymers

มาสคาราในกลุ่มประเภทนี้จะไม่มีส่วนผสมของ water-sensitive moieties ซึ่งทำให้ต้านทานกับน้ำตา เหงื่อ หรือฝนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นมาสคาราในกลุ่มประเภทนี้จึงได้แค่สามารถเช็ดออกด้วย make-up remover ซึ่งจะทำให้ฟิมล์ของมาสคาราจางลง

ไข่ขาวก็นำมาใช้บ่อยในสีของมาสคารา

มาสคาราแบบไม่กันน้ำมีส่วนประกอบของ น้ำ soft surfectants (เช่น triethanolamine stearate) ไขมันจากสัตว์ (ขี้ผึ้ง) ไขมันจากพืช (carnauba wax, rice bran wax, candelila wax) ไขมันจากแร่ธาตุ (ozokerite, paraffin) รงควัตถุ (iron oxide, ultramarine) thickening polymers (gum Arabic, hydrophobically modified cellulose) และสารกันบูด

มาสคาราในกลุ่มประเภทนี้อาจมีปฏิกิริยาต่อของน้ำตาซึ่งจะทำให้เลอะหรือเปื้อนบริเวณรอบตาได้แต่จะลบออกได้อย่างง่ายดายด้วยสบู่และน้ำสะอาด

โพลีเมอร์ที่อยู่ในแบบฟอร์ม water dispersed (latexes) สามารถต้านทานน้ำได้ในระดับนึงในมาสคาราที่อยู่ในกลุ่มประเภทแบบไม่กันน้ำ

มาสคาราแบบกันน้ำจะคล้ายคลึงกับ oil-based หรือ solvent-based paint

มาสคาราแบบไม่กันน้ำจะมีคุณสมบัติเหมือน water-based paint

สำหรับความไวของน้ำ มาสคาราและ latex-based paint (acrylates) มีส่วนประกอบของ polymer dispersion

การใช้ แก้

มาสคาราสามารถใช้ปัดได้ทั่วทั้งขนตา ไม่ว่าจะเป็นมุมชั้นนอกหรือมุมใน ตัวแปรงจุ่มลงในหลอดของมาสคารา เริ่มปัดจากมุมในสุดแล้วก็ปัดออกจนมาถึงสุดปลายของขนตา ตัวแปรงจะทำพลาสติกและไม่ควรให้ผู้อื่นร่วมใช้ มาสคาราสามารถปัดบนปลายขนตาเพื่อให้ลุคแบบ 'heavy-lidded' หรือปัดด้านล่างของขนตายาวขึ้นเพื่อทำให้ตาดูโตขึ้น ส่วนมากมักจะใช้ในการดัดขนตาและอาจจะนำมาใช้เป็น primer ถ้าต้องการให้ขนตายาวขึ้นสามารถปัดมาสคาราซ้ำได้ใน 2-3 นาที มอยส์เจอร์ในบางมาสคาราและ primer อาจทำให้ขนตาไม่งอนตอนที่ปัด ซึ่งสามารถแก้ไขได้ง่ายโดยใช้มาสคาราแบบกันน้ำที่มีส่วนผสมที่ทำแห้งไว มาสคาราแบบกันน้ำควรลบออกอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ขนตาขาดหรือหลุดล่วง

มาสคาราที่มีส่วนผสมของใยไนลอนสามารถทำให้ขนตาดูหนาและยาวขึ้นเพราะตัวใยไนลอนจะเกาะยึดติดกับขนตาซึ่งทำให้ต่อขนตายาวขึ้น

โปรวิตามิน บี 5 ทำหน้าที่เป็นครีมนวดสำหรับขนตาซึ่งทำให้ขนตานุ่มและดูเป็บธรรมชาติ เพื่อความปลอดภัยและอนามัย มาสคาราควรทิ้งทุก 3 เดือนหลังจากการเปิดใช้